อัตราเงินเฟ้อของออสเตรเลียยังคงอยู่ในระดับสูง
ดอลลาร์ออสเตรเลียอ่อนค่าลงเกิน 1.51 ดอลลาร์ออสเตรเลียต่อดอลลาร์สหรัฐฯ เนื่องจากธนาคารกลางออสเตรเลียตัดสินใจคงอัตราดอกเบี้ยและไม่ได้มีการตัดสินใจอย่างแน่นอนเกี่ยวกับการปรับลดอัตราดอกเบี้ย นอกจากนี้ ตลาดแรงงานที่ร้อนแรงยังเป็นตัวช่วยผลักดันเงินเฟ้อให้เพิ่มขึ้นด้วย ทั้งนี้ แรงกดดันของค่าเงินดอลลาร์ยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากยังคงมีความกังวลด้านอัตราดิอกเบี้ย
ธนาคารกลางออสเตรเลียคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 4.35% ในการประชุมเดือนพฤษภาคม ซึ่งตรงกับที่ตลาดได้คาดการณ์ไว้ โดยทางธนาคารกลางได้ยอมรับแล้วว่าการการกดดันให้อัตราเงินเฟ้อกลับเข้าสู่เป้าหมายอาจไม่ราบรื่นอย่างที่คิด แม้ว่าแรงกดดันด้านต้นทุนจะเริ่มผ่อนคลายลง แต่อัตราเงินเฟ้อในภาคการบริการที่ยังคงทรงตัวอาจทำให้อัตราเงินเฟ้อไม่ได้ลดลงตามที่คาดไว้ อย่างไรก็ตาม ผู้นโยบายจำเป็นต้องให้แน่ใจว่าอัตราเงินเฟ้อจะกลับเข้าไปสู่ช่วง 2-3% อีกครั้ง ก่อนที่จะต้องมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงเป็นครั้งแรกซึ่งคาดว่าจะเกิดขึ้นในปลายปีนี้ โดยทางด้าน RBA จำเป็นต้องติดตามเศรษฐกิจโลก, แนวโน้มอุปสงค์ภายในประเทศ, แนวโน้มอัตราเงินเฟ้อและตลาดแรงงานอย่างใกล้ชิด
ยอดค้าปลีกในออสเตรเลียลดลง 0.4% เมื่อเทียบเป็นรายเดือนในเดือนมีนาคม เป็นการกลับมาลดลงหลังจากการเติบโต 0.2% ในเดือนก่อนหน้า เนื่องจากจำนวนการซื้อขายสินค้าส่วนใหญ่ลดลง เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยที่สูงจะกดดันความสามารถในการใช้จ่ายของผู้บริโภค โดยยอดขายเสื้อผ้าและรองเท้าลดลงอย่างรวดเร็วและรองลงมาคือสินค้าข้าวของเครื่องใช้ในครัวเรือน
การประกาศการรับสมัครงานในออสเตรเลียเพิ่มขึ้น 2.8% เมื่อเทียบเป็นรายเดือนในเดือนเมษายน โดยการประกาศการรับสมัครงานเพิ่มขึ้นในหลายอุตสาหกรรม แสดงให้เห็นถึงความมั่นคงของของธุรกิจภายในประเทศ Madeline Dunk นักเศรษฐศาสตร์ของ ANZ กล่าวว่าค่าเฉลี่ยของการประกาศรับสมัครงานยังคงทรงตัวในไตรมาสแรกแต่สูงกว่าระดับก่อนเกิดโรคระบาดถึง 36.5%
อัตราเงินเฟ้อของออสเตรเลียอยู่ที่ 3.6% เมื่อเทียบเป็นรายปีในไตรมาสแรกของปี 2024 สูงกว่าการคาดการณ์ของตลาดที่ 3.4% แต่นี่ก็เป็นตัวเลขที่ต่ำที่สุดนับตั้งแต่ไตรมาสที่ 4 ของปี 2021 เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อในสินค้าลดลงเป็นไตรมาสที่ 6 ติดต่อกัน ด้านอัตราเงินเฟ้อภาคบริการก็ชะลอตัวลงมาเล็กน้อยเมื่อเทียบเป็นรายไตรมาสและยังมีแนวโน้มลอลงต่อเนื่องเเม้จะเล็กน้อยก็ตาม
ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค (5H)
แนวต้านสำคัญ: 1.5147, 1.5166, 1.5184
แนวรับสำคัญ: 1.5111, 1.5094, 1.5074
ที่มา: Investing.com
Buy/Long 1: หากมีการแตะแนวรับที่ช่วงราคา 1.5094 - 1.5111 แต่ไม่สามารถเบรกแนวรับที่ 1.5111 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 1.5166 และ SL ที่ประมาณ 1.5074 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Buy/Long 2: หากสามารถเบรกแนวต้านที่ช่วงราคา 1.5147 - 1.5166 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 1.5184 และ SL ที่ประมาณ 1.5094 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 1: หากมีการแตะแนวต้านที่ช่วงราคา 1.5147 - 1.5166 แต่ไม่สามารถเบรกแนวต้านที่ 1.5147 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 1.5094 และ SL ที่ประมาณ 1.5184 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 2: หากสามารถเบรกแนวรับที่ช่วงราคา 1.5094 - 1.5111 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 1.5074 และ SL ที่ประมาณ 1.5166 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
จุดกลับตัว 10 พฤษภาคม 2567 18:51 น. GMT+7
ชื่อ
|
S3
|
S2
|
S1
|
จุดกลับตัว
|
R1
|
R2
|
R3
|
Classic | 1.5074 | 1.5094 | 1.5111 | 1.513 | 1.5147 | 1.5166 | 1.5184 |
Fibonacci | 1.5094 | 1.5107 | 1.5116 | 1.513 | 1.5144 | 1.5153 | 1.5166 |
Camarilla | 1.5118 | 1.5121 | 1.5124 | 1.513 | 1.5131 | 1.5134 | 1.5138 |
Woodie's | 1.5072 | 1.5093 | 1.5109 | 1.5129 | 1.5145 | 1.5165 | 1.5182 |
DeMark's | - | - | 1.5102 | 1.5126 | 1.5138 | - | - |