ธนาคารกลางยุโรปอาจปรับลดอัตราดอกเบี้ยในไม่กี่เดือนข้างหน้า
เงินยูโรแข็งค่าขึ้นต่อเนื่อง โดยนักลงทุนจับตาดูข้อมูลเงินเฟ้อของสหรัฐฯ, GDP ในไตรมาสแรกและตัวเลขการจ้างงานของยูโรโซน ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อนโยบายการเงินในอนาคต ซึ่งนักลงทุนคาดว่าธนาคารกลางยุโรปอาจจะเริ่มลดอัตราดอกเบี้ยครั้งแรกภายในไตรมาสที่ 2 ในขณะที่ธนาคารกลางสหรัฐมีแนวโน้มว่าจะชะลอการปรับลดอัตราดอกเบี้ยให้ช้ากว่านั้น โดยหวังว่า ECB จะลดอัตราดอกเบี้ยลงประมาณ 70 bps และ Fed จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 45 bps ภายในปีนี้
อัตราเงินเฟ้อในยูโรโซนยังคงทรงตัวอยู่ที่ 2.4% เมื่อเทียบเป็นรายปีในเดือนเมษายน ซึ่งสอดคล้องกับการคาดการณ์ของตลาด โดยอัตราเงินเฟ้อของกลุ่มสินค้าส่วนใหญ่ยังคงมีแนวโน้มลดลง โดยเฉพาะราคาพลังงานที่ชะลอตัวลงต่อเนื่อง ทั้งนี้ อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานที่ไม่รวมราคาพลังงานและอาหารที่ผันผวน พบว่าลดลงเหลือ 2.7% จาก 2.9% แสดงให้เห็นถึงแรงกดดันที่เพิ่มมากขึ้นจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างรุนแรงในปีที่ผ่านมา
เศรษฐกิจของยูโรโซนยังคงขยายตัว 0.3% ในไตรมาสแรกของปี 2024 สูงกว่าการคาดการณ์ของตลาดที่คาดว่าจะขยายตัวเล็กน้อยเพียง 0.1% หลังจากติดลบในไตรมาสที่ 4 ของปีที่ผ่านมา โดยแสดงให้เห็นถึงความสามารถของเศรษฐกิจที่ยังสามารถเติบโตได้แม้จะต้องเผชิญกับวิกฤตต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นแรงกดดันด้านอัตราดอกเบี้ยและต้นทุนที่สูงขึ้นจากอะตราเงินเฟ้อ นอกจากนี้ GDP ที่ขยายตัวขึ้นยังช่วยเพิ่มทางเลือกให้กับธนาคารกลางยุโรปในการตัดสินใจว่าอาจปรับลดอัตราดอกเบี้ยให้น้อยกว่าที่คาดไว้ในปีนี้ โดย GDP ของสเปนขยายตัวมากที่สุดที่ 0.7% รองลงมาคืออิตาลีที่ขยายตัว 0.3%
ผู้กำหนดนโยบายของ ECB กำลังพิจารณาถึงความเป็นไปได้ในการปรับลดอัตราดอกเบี้ยมากขึ้น ตามการรายงานการประชุม ECB ครั้งล่าสุด ในขณะที่รอข้อมูลเพิ่มเติม โดยอัตราเงินเฟ้อที่ลดลงต่อเนื่อง ส่วนใหญ่ได้รับแรงหนุนจากราคาพลังงานที่ลดลง อย่างไรก็ตาม อัตราเงินเฟ้ออาจกลับมาเพิ่มขึ้นอีกครั้งจากแรงกดดันด้านราคาที่ยังคงมีอยู่ รวมไปถึงการเติบโตของค่าจ้างที่แข็งแกร่ง อาจเป็นแรงผลักดันที่ทำให้อัตราเงินเฟ้อไม่ได้ลดลงอย่างที่คาดไว้ ทั้งนี้ ความสามารถในการเติบโตของยูโรโซนโดยรวมยังคงอยู่ในเกณฑ์ที่ดี อาจใทำให้การปรับลดอัตราดอกเบี้ยล่าช้าลงไปอีก
Services PMI เพิ่มขึ้นเป็น 53.3 ในเดือนเมษายน นับเป็นการเติบโตที่แข็งแกร่งที่สุดในรอบ 1 ปี แสดงให้เห็นถึงความสามารถในการเติบโตของกิจกรรมในภาคการบริการ โดยปริมาณธุรกิจเกิดใหม่ยังคงเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ทั้งนี้ยังมีข้อจำกัดด้านกำลังการผลิตทำให้ผลผลิตที่สามารถทำได้ยังไม่สูงมากนัก ด้านการจ้างงานยังคงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามความร้อนแรงของภาคการบริการที่ปรับตัวสูงขึ้นด้วย
ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค (5H)
แนวต้านสำคัญ: 0.924, 0.9246, 0.925
แนวรับสำคัญ: 0.9231, 0.9226, 0.9221
ที่มา: Investing.com
Buy/Long 1: หากมีการแตะแนวรับที่ช่วงราคา 0.9226 - 0.9231 แต่ไม่สามารถเบรกแนวรับที่ 0.9231 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.9246 และ SL ที่ประมาณ 0.9221 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Buy/Long 2: หากสามารถเบรกแนวต้านที่ช่วงราคา 0.924 - 0.9246 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.925 และ SL ที่ประมาณ 0.9226 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 1: หากมีการแตะแนวต้านที่ช่วงราคา 0.924 - 0.9246 แต่ไม่สามารถเบรกแนวต้านที่ 0.924 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.9226 และ SL ที่ประมาณ 0.925 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 2: หากสามารถเบรกแนวรับที่ช่วงราคา 0.9226 - 0.9231 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.9221 และ SL ที่ประมาณ 0.9246 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
จุดกลับตัว 15 พฤษภาคม 2567 17:59 น. GMT+7
ชื่อ
|
S3
|
S2
|
S1
|
จุดกลับตัว
|
R1
|
R2
|
R3
|
Classic | 0.9221 | 0.9226 | 0.9231 | 0.9236 | 0.924 | 0.9246 | 0.925 |
Fibonacci | 0.9226 | 0.923 | 0.9232 | 0.9236 | 0.924 | 0.9242 | 0.9246 |
Camarilla | 0.9233 | 0.9234 | 0.9235 | 0.9236 | 0.9236 | 0.9237 | 0.9238 |
Woodie's | 0.9221 | 0.9226 | 0.9231 | 0.9236 | 0.924 | 0.9246 | 0.925 |
DeMark's | - | - | 0.9229 | 0.9235 | 0.9238 | - | - |