บทวิเคราะห์ USD/JPY 17 พฤษภาคม 2567

Create at 3 months ago (May 17, 2024 20:13)

GDP ของญี่ปุ่นเติบโตได้น้อยกว่าที่คาดไว้

เงินเยนของญี่ปุ่นแข็งค่าขึ้นเล็กน้อย ท่ามกลางการอ่อนค่าของเงินดอลลาร์สหรัฐฯ โดยได้แรงหนุนจากข้อมูลที่สนับสนุนว่าธนาคารกลางสหรัฐจะเริ่มลดอัตราดอกเบี้ยในเดือนกันยายน ซึ่งอัตราเงินเฟ้อทั่วไปและอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานในสหรัฐอเมริกาเริ่มชะลอตัวลงในเดือนเมษายน โดยปัจจัยเหล่านี้ทำให้ค่าเงินเยนยังสามาถแข็งค่าเพิ่มขึ้นแม้ว่าข้อมูล GDP ในญี่ปุ่นจะอ่อนแอเกินคาดก็ตาม


GDP ของญี่ปุ่นหดตัว 0.5% เมื่อเทียบเป็นรายไตรมาสในไตรมาสที่ 1 ของปี 2024 แสดงให้เห็น การบริโภคภาคเอกชนซึ่งคิดเป็นสัดส่วนมากกว่าครึ่งหนึ่งของเศรษฐกิจ ลดลง 4 ไตรมาสติดต่อกัน นอกจากนี้ยังส่งผลไปถึงการลดการใช้จ่ายของภาคครัวเรือนที่ต้องเผชิญกับค่าครองชีพที่เพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่องและค่าแรงที่ไม่ได้เพิ่มขึ้นมากนัก นอกจากนี้ การลดกำลังการผลิตรถยนต์ยังคงส่งผลกระทบโดยตรงต่อ GDP โดยการส่งออกรถยนต์ซึ่งเป็นสิค้าส่งออกหลักยังคงลดลงต่อเนื่องตามอุปสงค์ของต่างประเทศที่ลดลงด้วย


การใช้จ่ายภาคครัวเรือนในญี่ปุ่นลดลง 1.2% เมื่อเทียบเป็นรายปีในเดือนมีนาคม เทียบกับตลาดที่คาดการณ์ว่าจะลดลง 2.4% หลังจากที่ลดลง 0.5% ในเดือนก่อนหน้า แสดงให้เห็นถึงปัญหาค่าครองชีพรวมไปถึงต้นทุนต่างๆ ที่เพิ่มมากขึ้น โดยการใช้จ่ายด้านอยู่อาศัยยังคงลดลงต่อเนื่อง ซึ่งรวมไปถึงการลดค่าใช้จ่ายเฟอร์นิเจอร์และเครื่องใช้ในครัวเรือนด้วย ทั้งนี้ ค่าใช้จ่ายด้านอาหารเพิ่มขึ้น เนื่องจากต้นทุนการผลิตและการนำเข้าสินค้ายังคงเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยการอ่อนค่าของเงินเยนเป็นตัวสนับสนุนหลักที่ทำให้ต้นทุนสินค้านำเข้าแพงมากยิ่งขึ้น


ธนาคารกลางญี่ปุ่นยังคงให้ความสำคัญกับความเสี่ยงด้านอัตราเงินเฟ้อและระบุเพิ่มเติมว่าธนาคารกลางพร้อมที่จะปรับนโยบายการเงินเพื่อกดดันอัตราเงินเฟ้อให้มากขึ้นหากจำเป็น แต่นักลงทุนได้คาดการณ์ว่านโยบายทางการเงินที่ผ่อนคลายนี้จะยังคงอยู่ไปอีกสักระยะ ในขณะที่ค่าเงินเยนอ่อนค่าและราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่เพิ่มมากขึ้น ทำให้ BOJ ต้องทำงานอย่างใกล้ชิดกับรัฐบาลเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของอัตราเงินเฟ้อ 2% ได้อย่างยั่งยืน


อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลญี่ปุ่นอายุ 10 ปีลดลงต่ำกว่า 0.93% เนื่องจากข้อมูล GDP ของญี่ปุ่นที่อ่อนแอเกินคาด ในขณะเดียวกัน BOJ เปิดเผยว่าจะมีการลดจำนวนพันธบัตรรัฐบาลที่ญี่ปุ่นจะต้องซื้อประจำสัปดาห์นี้ นับเป็นการเคลื่อนไหวครั้งแรกหลังจากการยกเลิกนโยบายอัตราดอกเบี้ยติดลบในเดือนมีนาคม โดยBOJ เสนอซื้อพันธบัตรรัฐบาลจำนวน 425 พันล้านเยนที่มีระยะเวลาครบกำหนดมากกว่า 5 ปีถึง 10 ปีในวันอังคาร ซึ่งน้อยกว่าการดำเนินงานครั้งก่อน 50 พันล้านเยน นอกจากนี้ Kazuo Ueda ผู้ว่าการ BOJ กล่าวว่า "เป็นเรื่องที่เหมาะสมแล้วสำหรับธนาคารที่จะลดจำนวนการซื้อพันธบัตรรัฐบาล เนื่องจากการออกจากนโยบายผ่อนคลายทางการเงิน"

ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค (5H)

แนวต้านสำคัญ: 155.96, 156.05, 156.13

แนวรับสำคัญ: 155.78, 155.71, 155.61

บทวิเคราะห์ USD/JPY วันนี้ที่มา: Investing.com

Buy/Long 1: หากมีการแตะแนวรับที่ช่วงราคา 155.71 - 155.78 แต่ไม่สามารถเบรกแนวรับที่ 155.78 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 156.05 และ SL ที่ประมาณ 155.61 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้

Buy/Long 2: หากสามารถเบรกแนวต้านที่ช่วงราคา 155.96 - 156.05 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 156.13 และ SL ที่ประมาณ 155.71 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้

Sell/Short 1: หากมีการแตะแนวต้านที่ช่วงราคา 155.96 - 156.05 แต่ไม่สามารถเบรกแนวต้านที่ 155.96 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 155.71 และ SL ที่ประมาณ 156.13 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้

Sell/Short 2: หากสามารถเบรกแนวรับที่ช่วงราคา 155.71 - 155.78 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 155.61 และ SL ที่ประมาณ 156.05 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้

จุดกลับตัว 17 พฤษภาคม 2567 19:54 น. GMT+7

ชื่อ
S3
S2
S1
จุดกลับตัว
R1
R2
R3
Classic 155.61 155.71 155.8 155.88 155.96 156.05 156.13
Fibonacci 155.71 155.77 155.82 155.88 155.94 155.99 156.05
Camarilla 155.8 155.81 155.83 155.88 155.86 155.88 155.89
Woodie's 155.59 155.7 155.76 155.87 155.84 156.04 156.11
DeMark's - - 155.82 155.9 156 - -
______________________________
อัพเกรดความรู้เพิ่มเติม: คลิกที่นี่
รู้เท่าทันสถานการณ์โลกและบทวิเคราะห์เทคนิคขั้นสูงคลิกที่นี่
Tags:

TECHNICAL ANALYSIS

ARTICLES