ดอลลาร์ออสเตรเลียลดลง หลังเพิ่มขึ้น 3% ต่อเดือนท่ามกลางอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้น
ในระหว่างการประชุมเมื่อเดือนพฤษภาคม ธนาคารกลางออสเตรเลีย (RBA) พิจารณาที่จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยท่ามกลางความกังวลเรื่องอัตราเงินเฟ้อ แม้ว่าท้ายที่สุดแล้ว RBA จะตัดสินใจคงอัตราเดิมไว้ แต่รายงานการประชุมเผยให้เห็นถึงการอภิปรายเกี่ยวกับการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยที่อาจเกิดขึ้น โดย RBA รับทราบถึงความท้าทายของแรงกดดันด้านเงินเฟ้อที่ไม่ได้ผ่อนคลายลงอย่างรวดเร็วอย่างที่คาดการณ์ไว้ในตอนแรก จากปัจจัยต่างๆ เช่น การใช้จ่ายของผู้บริโภคอย่างต่อเนื่อง และสภาวะตลาดแรงงานที่ตึงตัว
แม้ว่าข้อมูลแรงงานในเดือนเมษายนจะแสดงให้เห็นการเติบโตของตลาดงานที่สูงกว่าที่คาด และบ่งชี้ถึงแนวโน้มเชิงบวก แต่อัตราการว่างงานได้เพิ่มขึ้นอย่างมาก ตอกย้ำถึงความท้าทายที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์ได้ให้ความเห็นว่าการใช้จ่ายภาครัฐที่เพิ่มขึ้นอาจช่วยรักษาเสถียรภาพของตลาดงาน ซึ่งช่วยชดเชยการว่างงานที่เพิ่มขึ้นได้บางส่วน โดยแม้จะยังคงมีความผันผวน แต่ตลาดแรงงานก็พบสัญญาณของการชะลอตัวลงอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยพบการเติบโตของงานที่เพิ่มขึ้น แต่ชั่วโมงการทำงานกลับลดลง บ่งชี้ถึงประสิทธิภาพการทำงานสำรองที่เพิ่มขึ้นหลังจากสภาวะการทำงานที่ตึงตัวเป็นเวลากว่าสองเดือน ขณะที่ธนาคารกลางออสเตรเลีย (RBA) คาดว่าจะให้ความสำคัญกับแนวโน้มตลาดแรงงานโดยรวมมากกว่าการเปลี่ยนแปลงในระยะสั้น
นอกจากนี้ การเติบโตของค่าจ้างของออสเตรเลียชะลอตัวอย่างไม่คาดคิดในไตรมาสแรก ซึ่งมีแนวโน้มว่าได้ถึงจุดสูงสุดแล้ว โดบการชะลอตัวดังกล่าวคาดว่าจะบรรเทาความกังวลเกี่ยวกับแรงกดดันด้านเงินเฟ้อ และลดความจำเป็นในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพิ่มเติมจาก RBA ได้ ขณะเดียวกัน มาตรการลดภาษีและการคืนเงินของรัฐบาลที่กำลังจะเกิดขึ้นและประกาศในงบประมาณประจำปีคาดว่าจะช่วยผลักดันรายได้และอุปสงค์ โดยแม้ว่ามาตรการเหล่านี้อาจช่วยลดอัตราเงินเฟ้อทั่วไปลงได้ชั่วคราว แต่ก็คาดว่าจะช่วยเพิ่มความสามารถในการใช้จ่ายและส่งผลต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจโดยรวม
ทางด้านงบประมาณประจำปีของออสเตรเลียที่กำลังจะมีขึ้น คาดว่าจะเผยให้เห็นถึงการเกินดุลอีกครั้ง ซึ่งได้แรงหนุนจากการจ้างงานที่แข็งแกร่งและราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่สูง โดยรัฐมนตรีคลัง จิม ชาลเมอร์ส คาดว่าอัตราเงินเฟ้อจะผ่อนคลายลงสู่กรอบเป้าหมายของธนาคารกลางออสเตรเลียได้ภายในสิ้นปีนี้ ขณะที่งบประมาณดังกล่าวจะประกอบด้วยการลดภาษีเงินได้ การคืนเงินด้านพลังงาน และสิ่งจูงใจทางภาษีสำหรับอุตสาหกรรมในประเทศ โดยชาลเมอร์สยังคงเผชิญกับแรงกดดันในการควบคุมการใช้จ่ายเพื่อหลีกเลี่ยงภาวะเงินเฟ้อ ท่ามกลางการบังคับใช้มาตรการตามที่จำเป็น
อย่างไรก็ตาม ความเชื่อมั่นผู้บริโภคในออสเตรเลียยังคงลดลงอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับอัตราเงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ย โดยความรู้สึกของผู้บริโภคที่ผ่อนคลายลงนั้นสอดคล้องกับการคาดการณ์ของ RBA เกี่ยวกับอัตราเงินเฟ้อที่ชะลอตัว ขณะที่ผู้บริโภคได้ให้ความสำคัญกับการเพิ่มมูลค่าทางการเงินมากกว่าการจับจ่ายใช้สอย ท่ามกลางงบประมาณปี 2024 และมาตรการลดภาษีที่แม้จะได้รับการตอบรับค่อนข้างดี แต่ยังคงมีความกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจถดถอยที่บดบังมุมมองเชิงบวก โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากการเติบโตของค่าจ้างที่ซบเซา
ทั้งนี้ เมื่อวันอังคาร เงินดอลลาร์ยังคงแข็งค่า ขณะที่กิจกรรมการซื้อขายส่วนใหญ่ยังคงอยู่ในกรอบจำกัด เนื่องจากนักลงทุนยังคงระมัดระวังเกี่ยวกับช่วงเวลาและขนาดของการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ ในปีนี้
อย่างไรก็ดี เนื่องจากข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่มีอิทธิพลต่อการเคลื่อนไหวของค่าเงินมีความเบาบางในสัปดาห์นี้ ความสนใจจึงเปลี่ยนไปที่การกล่าวแถลงโดยผู้กำหนดนโยบายของเฟด เพื่อประเมินแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐฯ โดยแม้ว่าข้อมูลเมื่อสัปดาห์ที่แล้วจะแสดงให้เห็นว่าแรงกดดันด้านราคาผู้บริโภคลดลงอย่างมาก แต่เจ้าหน้าที่ของเฟดยังคงระมัดระวังในการประกาศเกี่ยวกับแนวโน้มของอัตราเงินเฟ้อที่จะลดลงไปสู่เป้าหมาย 2% ของธนาคารกลาง
ทั้งนี้ ราฟาเอล บอสติค ประธานเฟดประจำแอตแลนตากล่าวว่า เฟดอาจต้องใช้เวลาสักระยะเพื่อให้มั่นใจว่าอัตราเงินเฟ้อจะกลับสู่เป้าหมายได้ ในขณะที่ฟิลิป เจฟเฟอร์สัน รองประธานเฟด เน้นย้ำว่ายังเร็วเกินไปที่จะตัดสินว่าแนวโน้มการชะลอตัวของเงินเฟ้อล่าสุดจะยั่งยืนหรือไม่ โดยข้อมูลจากสัปดาห์ที่แล้วซึ่งเผยให้เห็นการเพิ่มขึ้นของราคาผู้บริโภคสหรัฐฯ ที่ต่ำกว่าที่คาดในเดือนเมษายน ได้กระตุ้นให้ตลาดปรับราคาการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของเฟดในปีนี้ที่ 50 จุด จึงอาจส่งผลให้คู่สกุล AUD/USD มีแนวโน้มซื้อขายขึ้นลงในกรอบปัจจุบัน โดยการแข็งค่าของ AUD คาดว่าจะยังคงถูกจำกัดในระยะยาว
ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค (1H) CFD AUD/USD
แนวต้านสำคัญ : 0.6660, 0.6661, 0.6663
แนวรับสำคัญ : 0.6656, 0.6655 , 0.6653
1H Outlook
ที่มา: TradingView
Buy/Long 1 หากมีการแตะแนวรับที่ช่วงราคา 0.6651 - 0.6656 แต่ไม่สามารถเบรกแนวรับที่ 0.6656 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.6660 และ SL ที่ประมาณ 0.6649 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Buy/Long 2 หากสามารถเบรกแนวต้านที่ช่วงราคา 0.6660 - 0.6665 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.6672 และ SL ที่ประมาณ 0.6654 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 1 หากมีการแตะแนวต้านที่ช่วงราคา 0.6660 - 0.6665 แต่ไม่สามารถเบรกแนวต้านที่ 0.6660 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.6655 และ SL ที่ประมาณ 0.6667 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 2 หากสามารถเบรกแนวรับที่ช่วงราคา 0.6651 - 0.6656 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.6647 และ SL ที่ประมาณ 0.6662 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Pivot Points May 21, 2024 01:16PM GMT+7
Name
|
S3
|
S2
|
S1
|
Pivot Points
|
R1
|
R2
|
R3
|
---|---|---|---|---|---|---|---|
Classic | 0.665 | 0.6653 | 0.6655 | 0.6658 | 0.666 | 0.6663 | 0.6665 |
Fibonacci | 0.6653 | 0.6655 | 0.6656 | 0.6658 | 0.666 | 0.6661 | 0.6663 |
Camarilla | 0.6657 | 0.6657 | 0.6658 | 0.6658 | 0.6658 | 0.6659 | 0.6659 |
Woodie's | 0.665 | 0.6653 | 0.6655 | 0.6658 | 0.666 | 0.6663 | 0.6665 |
DeMark's | - | - | 0.6657 | 0.6659 | 0.6662 | - | - |
ที่มา: Investing 1, Investing 2
อัพเกรดความรู้เพิ่มเติม: คลิ