ประกาศการเลือกตั้งสหราชอาณาจักรไม่กระทบความผันผวนทางเศรษฐกิจ
เงินปอนด์อังกฤษอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์หลังจากนายกรัฐมนตรี ริชี ซูแน็กประกาศการเลือกตั้งระดับชาติในวันที่ 4 กรกฎาคม ซึ่งต่างจากกำหนดการที่คาดการณ์ไว้ในฤดูใบไม้ร่วง โดยแม้จะประกาศในช่วงจังหวะที่ไม่คาดคิด แต่ปฏิกิริยาของตลาดกลับมีไม่มากนัก โดยพบความผันผวนของออปชั่นเงินสเตอร์ลิงเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ขณะที่ผลสำรวจความคิดเห็นในปัจจุบันคาดการณ์ว่าพรรคอนุรักษ์นิยมอาจจะพ่ายแพ้หลังจากครองอำนาจมา 14 ปี โดยคาดว่าพรรคแรงงานอาจมีแนวโน้มที่จะชนะ และอาจมีการจัดตั้งรัฐบาลโดยไม่ได้รับเสียงข้างมาก
ทั้งนี้ นักวิเคราะห์ตลาดเชื่อว่าความผันผวนเล็กน้อยของค่าเงินปอนด์อันเนื่องมาจากคำมั่นสัญญาในช่วงการรณรงค์หาเสียงไม่น่าจะเปลี่ยนแปลงทิศทางตลาดได้อย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งมักได้รับอิทธิพลจากข้อมูลเศรษฐกิจในประเทศและนโยบายของธนาคารกลางเป็นส่วนใหญ่
โดยข้อมูลเงินเฟ้อภาคบริการของสหราชอาณาจักรล่าสุด ซึ่งเพิ่มขึ้นเกินคาดที่ 5.9% ในเดือนเมษายน ได้ส่งผลกระทบมากกว่าข่าวการเลือกตั้ง นำไปสู่การปรับลดความคาดหวังสำหรับการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารแห่งประเทศอังกฤษ
ตัวเลขเงินเฟ้อ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอัตราเงินเฟ้อด้านบริการที่สูงขึ้น บ่งชี้ว่า BoE อาจเผชิญพื้นที่จำกัดในการปรับลดอัตราเร็วๆ นี้ ส่งผลให้ตลาดปรับลดการคาดการณ์สำหรับนโยบายแบบผ่อนคลาย โดยคาดว่าจะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงเพียงเล็กน้อยภายในสิ้นปีนี้ ท่ามกลางความเชื่อมั่นของตลาดโดยรวมที่ยังคงความระมัดระวัง และจับตาไปที่แนวโน้มเงินเฟ้อและทิศทางของธนาคารกลางมากกว่าการเมือง
อีกด้าน ผลสำรวจเผยว่านายจ้างในอังกฤษเสนอให้ขึ้นเงินเดือนโดยเฉลี่ยเกือบ 5% ในช่วงสามเดือนก่อนถึงเดือนเมษายน โดยการเติบโตของค่าจ้างที่ยั่งยืนซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญของอัตราเงินเฟ้อ ชี้ให้เห็นว่าอัตราเงินเฟ้ออาจไม่สามารถลดลงได้อย่างรวดเร็ว ขณะที่ธนาคารแห่งอังกฤษติดตามข้อมูลค่าจ้างอย่างใกล้ชิด โดยผู้กำหนดนโยบายส่วนใหญ่รอที่จะเห็นการเติบโตของค่าจ้างรายปีกลับมาที่ช่วง 3-4% ลดลงจาก 6% ล่าสุด ก่อนที่จะพิจารณาการปรับลดอัตราดอกเบี้ย
ทางด้านการเติบโตทางเศรษฐกิจในสหราชอาณาจักรชะลอตัวลงอย่างมากในเดือนนี้ และมากกว่าที่คาดการณ์ไว้ โดยภาคบริการซึ่งเป็นส่วนสำคัญของเศรษฐกิจ มีการเติบโตที่อ่อนแอที่สุดในรอบ 6 เดือน บดบังการฟื้นตัวในภาคการผลิตที่โดดเด่นและดีที่สุดในรอบเกือบ 2 ปี
อย่างไรก็ดี จากการสำรวจเมื่อวันอังคาร คำสั่งซื้อภาคการผลิตของอังกฤษยังหดตัวรุนแรงที่สุดนับตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ท่ามกลางความคาดหวังว่าการเพิ่มขึ้นของราคาในอนาคตจะค่อยๆ ชะลอตัวลง ในขณะเดียวกัน ตามรายงานของเว็บไซต์อสังหาริมทรัพย์ Rightmove ราคาบ้านในสหราชอาณาจักรพุ่งแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ แม้ว่าต้นทุนการจำนองจะสูง และอัตราการขึ้นของราคาที่กำลังชะลอตัว
ในทางกลับกัน ธนาคารแห่งอังกฤษ (BoE) ได้จัดสรรเงินจำนวน 16.245 พันล้านปอนด์ (20.64 พันล้านดอลลาร์) ในการทำธุรกรรมซื้อคืน (Repo) ระยะสั้นรายสัปดาห์ ซึ่งถือเป็นจำนวนสูงสุดนับตั้งแต่เริ่มเข้าซื้อคืนในเดือนตุลาคม 2022 ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อรักษาอัตราตลาดเงินให้ใกล้เคียงกับอัตรานโยบายของ BoE ในขณะที่ธนาคารกลางลดปริมาณเงินสำรองผ่านมาตรการเข้มงวดเชิงปริมาณ (QT) โดยผู้ว่าการ แอนดรูว์ เบลีย์เน้นย้ำถึงการใช้ Repo ที่เพิ่มขึ้นซึ่งเป็นสัญญาณเชิงบวกของการจัดการสภาพคล่องที่แข็งแกร่งของ BoE
อย่างไรก็ดี เนื่องจากการคาดการณ์เกี่ยวกับการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของสหราชอาณาจักรที่เพิ่มมากขึ้น กำหนดเวลาในการลดงบดุลของ BoE ยังคงไม่แน่นอน ส่งผลให้การใช้เครื่องมือทางการเงินหรือการซื้อคืนที่เพิ่มขึ้น ได้ทำให้เกิดความกังวลเกี่ยวกับสภาพคล่องในระบบธนาคารท่ามกลางการขายพันธบัตรอย่างต่อเนื่อง โดย BoE ซึ่งคล้ายกับธนาคารกลางอื่นๆ ได้กำลังพยายามสร้างสมดุลให้กับการจัดการอัตราดอกเบี้ยและลดขนาดงบดุลให้อยู่ในระดับที่ยั่งยืน ซึ่งจนถึงตอนนี้ มาตรการ QT ได้ดำเนินไปอย่างราบรื่น โดย BoE สามารถลดงบดุลลงกว่า 200 พันล้านถึง 760 พันล้านปอนด์ ซึ่งสูงกว่าระดับก่อนเกิดโรคระบาดอย่างมีนัยสำคัญ
ทั้งนี้ ธนาคารรายใหญ่ รวมถึง Goldman Sachs และ Barclays มองว่าการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในเดือนมิถุนายนไม่น่าเป็นไปได้ เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อของสหราชอาณาจักรที่ลดลงน้อยกว่าที่คาดไว้ ส่งผลให้โกลด์แมนคาดการณ์การปรับลดอัตราดอกเบี้ยที่อาจเริ่มตั้งในเดือนสิงหาคม โดยมีการแก้ไขการคาดการณ์ของการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในปีนี้ ที่จำนวนสองครั้งแทนที่สามครั้งก่อนหน้านี้ ขณะที่ Barclays ยังคงแนวโน้มอย่างระมัดระวัง โดยเฝ้าดูข้อมูลเศรษฐกิจเพิ่มเติมในการคาดการณ์
ทางด้านเงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้นในวันพฤหัสบดีตามข้อมูลที่แสดงให้เห็นว่ากิจกรรมทางธุรกิจของสหรัฐฯ ขึ้นถึงระดับสูงสุดในรอบสองปีในเดือนพฤษภาคม บ่งชี้ถึงการเติบโตทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งขึ้นในช่วงกลางของไตรมาสที่สอง นอกจากนี้การขอรับสวัสดิการว่างงานลดลงเกินคาด ส่งสัญญาณถึงความเข้มแข็งของตลาดแรงงานอย่างต่อเนื่อง และผลักดันให้เงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้นสูงสุดในรอบ 6 สัปดาห์ โดยได้แรงหนุนจากข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐที่แข็งแกร่ง และทิศทางนโยบายแบบเข้มงวดจากรายงานการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐฯ
ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ ยังคงมุมมองเชิงบวกของเศรษฐกิจท่ามกลางความระมัดระวังเกี่ยวกับการผ่อนคลายแรงกดดันด้านราคา และตั้งข้อสังเกตถึงแนวโน้มในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อไปหากอัตราเงินเฟ้อยังคงมีอยู่ โดยแม้ว่า GDP จะเพิ่มขึ้น 1.6% ต่อปีในไตรมาสที่ 1 แต่ความต้องการนำเข้าที่แข็งแกร่งยังคงส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ และแม้ว่าข้อมูลในช่วงต้นของไตรมาสที่ 2 จะชี้ให้เห็นถึงการชะลอตัวของเศรษฐกิจ แต่ความเชื่อมั่นของธุรกิจยังคงอยู่ในระดับสูง ขณะที่บริษัทต่างๆ ระมัดระวังเรื่องอัตราเงินเฟ้อ อัตราดอกเบี้ย ความไม่แน่นอนทางภูมิรัฐศาสตร์ และการเลือกตั้งประธานาธิบดีที่กำลังจะมีขึ้น
ทางด้านผู้ผลิตเผชิญกับต้นทุนวัตถุดิบที่สูงขึ้น โดยดัชนีราคาวัตถุดิบแตะระดับสูงสุดในรอบ 1.5 ปี โดยได้รับแรงหนุนจากราคาที่สูงขึ้นในโลหะ เคมีภัณฑ์ พลาสติก ไม้ พลังงาน และแรงงาน ขณะที่ภาคธุรกิจบริการยังพบว่าต้นทุนพนักงานเพิ่มขึ้น ส่งผลให้มีการขึ้นราคาขายเพื่อชดเชยค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น
ทางด้านในตลาดที่อยู่อาศัย ยอดขายบ้านเดี่ยวใหม่ลดลงเกินคาดในเดือนเมษายน เนื่องจากอัตราการจำนองและราคาบ้านที่สูงขึ้น บ่งชี้ถึงการสูญเสียโมเมนตัมในไตรมาสที่ 2 ท่ามกลางยอดขายบ้านมือสองที่ลดลงอย่างไม่คาดคิดในเดือนเมษายน ตอกย้ำถึงการต่อสู้ของภาคส่วนอสังหาฯ แม้จะพบการลงทุนด้านที่อยู่อาศัยที่แข็งแกร่งในไตรมาสที่ 1 จึงอาจส่งผลให้คู่สกุล GBP/USD ทรงตัวและมีการซื้อขายขึ้นลงในกรอบปัจจุบันได้อย่างต่อเนื่อง จากอัตราผลตอบแทนและความแข็งแกร่งของข้อมูลของทั้งสองประเทศเศรษฐกิจที่ยังคงไม่ต่างกัน
ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค (30Min) CFD GBP/USD
แนวต้านสำคัญ : 1.2691, 1.2692, 1.2694
แนวรับสำคัญ : 1.2687, 1.2686, 1.2684
30Min Outlook
ที่มา: TradingView
Buy/Long 1 หากมีการแตะแนวรับที่ช่วงราคา 1.2682 - 1.2687 แต่ไม่สามารถเบรกแนวรับที่ 1.2687 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 1.2691 และ SL ที่ประมาณ 1.2679 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Buy/Long 2 หากสามารถเบรกแนวต้านที่ช่วงราคา 1.2691 - 1.2696 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 1.2701 และ SL ที่ประมาณ 1.2685 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 1 หากมีการแตะแนวต้านที่ช่วงราคา 1.2691 - 1.2696 แต่ไม่สามารถเบรกแนวต้าน 1.2691 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 1.2686 และ SL ที่ประมาณ 1.2699 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 2 หากสามารถเบรกแนวรับที่ช่วงราคา 1.2682 - 1.2687 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 1.2677 และ SL ที่ประมาณ 1.2693 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Pivot Points May 24, 2024 11:02AM GMT+7
Name
|
S3
|
S2
|
S1
|
Pivot Points
|
R1
|
R2
|
R3
|
---|---|---|---|---|---|---|---|
Classic | 1.2681 | 1.2684 | 1.2686 | 1.2689 | 1.2691 | 1.2694 | 1.2696 |
Fibonacci | 1.2684 | 1.2686 | 1.2687 | 1.2689 | 1.2691 | 1.2692 | 1.2694 |
Camarilla | 1.2687 | 1.2688 | 1.2688 | 1.2689 | 1.2689 | 1.2689 | 1.269 |
Woodie's | 1.2681 | 1.2684 | 1.2686 | 1.2689 | 1.2691 | 1.2694 | 1.2696 |
DeMark's | - | - | 1.2685 | 1.2689 | 1.269 | - | - |
ที่มา: Investing 1, Investing 2
อัพเกรดความรู้เพิ่มเติม: คลิ