ญี่ปุ่นอาจชะลอการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย
เงินเยนของญี่ปุ่นอ่อนค่าลงเกิน 156 เยนต่อดอลลาร์ เนื่องจากรายงานการประชุมนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐล่าสุดยังคงแสดงให้เห็นว่าผู้กำหนดนโยบายบางส่วนยังมีความกังวลเกี่ยวกับสภาวะเงินเฟ้อที่ยืดเยื้อในตอนนี้และพร้อมที่จะคงอัตราดอกเบี้ยให้นานขึ้นเพื่อกดดันเงินเฟ้อ ในทางกลับกัน นักลงทุนคาดการณ์ว่าธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่นจะชะลอการปรับนโยบายการเงินที่เข้มงวดออกไปก่อน เนื่องจากการเติบโตที่ชะลอตัวลงในไตรมาสแรกของปี 2024
การส่งออกจากญี่ปุ่นเพิ่มขึ้น 8.3% เมื่อเทียบเป็นรายปี เป็น 8,980.75 เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจากการเติบโต 7.3% ในเดือนมีนาคม เนื่องจากอุปสงค์จากต่างประเทศยังคงสูงอยู่ ซึ่งการส่งออกส่วนใหญ่ยังคงเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์และรถยนต์ที่มีการส่งออกเพิ่มมากขึ้นกว่า 19% นอกจากนี้ การส่งออกเครื่องจักรเพิ่มขึ้น 5.8% ซึ่งการส่งออกส่วนใหญ่เป็นการส่งออกไปยังประเทศคู่ค้าหลัก โดยเฉพาะสหรัฐฯ และจีน
การนำเข้าไปญี่ปุ่นเพิ่มขึ้น 8.3% เมื่อเทียบเป็นรายปี ที่ 9,443.26 พันล้านเยนในเดือนเมษายน
ถือว่าเป็นการนำเข้าที่พลิกกลับมาเพิ่มขึ้นอีกครั้งและแสดงให้เห็นถึงอุปสงค์ภายในประเทศที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยการนำเข้าเชื้อเพลิงเพิ่มมากขึ้นเกิน 10% ไม่ว่าจะเป็นปิโตรเลียม และ LNG นอกจากนี้ การนำเข้าสินค้าอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น 5.2% ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการผลิตโลหะประเภทต่างๆ
ดัชนีราคาผู้ผลิตในญี่ปุ่นเพิ่มขึ้น 0.9% เมื่อเทียบเป็นรายปีในเดือนเมษายน เป็นการทรงตัวของดัชนีราคาผู้ผลิต 2 เดือนติดต่อกัน โดยการเพิ่มขึ้นนี้ส่วนใหญ่ได้รับผลกระทบมาจากต้นทุนที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากราคาพลังงานที่ยังทรงตัวอยู่และอัตราเงินเฟ้อที่ไม่ได้ลดลงตามที่คาดไว้ ส่งผลให้ให้การผลิตสินค้าอื่นๆ มีต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้นด้วย นอกจากนี้ การนำเข้าสินค้าในขณะที่ค่าเงินเยนยังอ่อนค่าอยู่ ยังคงเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้ต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและอาจส่งผ่านราคาไปยังผู้บริโภคมากขึ้น
การผลิตภาคอุตสาหกรรมในญี่ปุ่นเพิ่มขึ้น 4.4% เมื่อเทียบเป็นรายเดือนในเดือนมีนาคม หลังจากลดลง 0.6% ในเดือนก่อนหน้า โดยส่วนใหญ่ได้รับแรงสนับสนุนมาจากอุตสาหกรรมยานยนต์ที่กลับมาเติบโตเพิ่มขึ้นถึง 9.9% และเครื่องจักรในการผลิตที่มีการเติบโต 11.6% ทั้งนี้ค่าใช้จ่ายด้านทุนที่เพิ่มขึ้นได้รับแรงหนุนจากการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในภาคการผลิต ทำให้ความสามารถในการทำกำไรไม่ได้เพิ่มขึ้นมากนัก
ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค (5H)
แนวต้านสำคัญ: 157.14, 157.22, 157.29
แนวรับสำคัญ: 156.99, 156.92, 156.83
ที่มา: Investing.com
Buy/Long 1: หากมีการแตะแนวรับที่ช่วงราคา 156.92 - 156.99 แต่ไม่สามารถเบรกแนวรับที่ 156.99 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 157.22 และ SL ที่ประมาณ 156.83 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Buy/Long 2: หากสามารถเบรกแนวต้านที่ช่วงราคา 157.14 - 157.22 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 157.29 และ SL ที่ประมาณ 156.92 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 1: หากมีการแตะแนวต้านที่ช่วงราคา 157.14 - 157.22 แต่ไม่สามารถเบรกแนวต้านที่ 157.14 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 156.92 และ SL ที่ประมาณ 157.29 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 2: หากสามารถเบรกแนวรับที่ช่วงราคา 156.92 - 156.99 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 156.83 และ SL ที่ประมาณ 157.22 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
จุดกลับตัว 24 พฤษภาคม 2567 18:43 น. GMT+7
ชื่อ
|
S3
|
S2
|
S1
|
จุดกลับตัว
|
R1
|
R2
|
R3
|
Classic | 156.83 | 156.92 | 156.99 | 157.07 | 157.14 | 157.22 | 157.29 |
Fibonacci | 156.92 | 156.97 | 157.01 | 157.07 | 157.13 | 157.17 | 157.22 |
Camarilla | 157 | 157.02 | 157.03 | 157.07 | 157.06 | 157.07 | 157.09 |
Woodie's | 156.81 | 156.91 | 156.97 | 157.06 | 157.12 | 157.21 | 157.27 |
DeMark's | - | - | 156.95 | 157.05 | 157.1 | - | - |