บทวิเคราะห์ USD/JPY วันที่ 27 พฤษภาคม 2567

Create at 6 months ago (May 27, 2024 11:06)

อัตราเงินเฟ้อญี่ปุ่นชะลอตัว BOJ มีแนวโน้มชะลอการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยท่ามกลางการใช้จ่ายผู้บริโภคที่อ่อนแอ

อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานของญี่ปุ่นชะลอตัวเป็นเดือนที่สองในเดือนเมษายน บ่งชี้ว่าธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่น (BOJ) มีแนวโน้มที่จะชะลอการขึ้นอัตราดอกเบี้ยเนื่องจากการใช้จ่ายของผู้บริโภคที่อ่อนแอ แม้ว่าอัตราเงินเฟ้อจะสูงกว่าเป้าหมาย 2% ของ BOJ แต่ผู้กำหนดนโยบายยังคงต้องการเห็นอุปสงค์ในประเทศที่ยั่งยืน

ทั้งนี้ ตลาดกำลังประเมินว่าการปรับขึ้นค่าจ้างล่าสุดจะส่งผลต่ออัตราเงินเฟ้อและดัชนีราคาอย่างไร ขณะที่การอ่อนค่าของเงินเยนอย่างต่อเนื่องนำไปสู่การคาดเดาว่า BOJ อาจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อบรรเทาค่าครองชีพที่สูงขึ้น ส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลญี่ปุ่นอายุ 10 ปีอยู่ที่ 1% สูงสุดนับตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2013

ทางด้านเงินเยนที่อ่อนค่าลงแม้จะส่งผลดีต่อผู้ส่งออก แต่กลับเพิ่มราคานำเข้า และส่งผลเสียต่อกำลังซื้อและการบริโภคของครัวเรือน โดยเศรษฐกิจญี่ปุ่นหดตัวในอัตรา 2% ต่อปีในไตรมาสแรก เนื่องจากการบริโภคที่อ่อนแอ โดยค่าจ้างที่แท้จริงลดลงเป็นเวลาสองปีติดต่อกัน และแม้ว่าค่าจ้างที่สูงขึ้นคาดว่าจะช่วยเพิ่มกำลังการใช้จ่าย แต่ก็ยังไม่ได้สะท้อนให้เห็นในข้อมูลรายเดือน

คาซูโอะ อูเอดะ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่นกล่าวว่าเศรษฐกิจของญี่ปุ่นอยู่ในแนวโน้มการฟื้นตัวในระดับปานกลาง และส่งสัญญาณว่าการลดลงของ GDP ในไตรมาสแรกจะไม่ส่งผลต่อการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยที่อาจเกิดขึ้นในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า ขณะที่ตั้งข้อสังเกตว่าแนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐฯ ถือเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่ต้องหารือกันต่อไป

ในการประชุม G7 ผู้นำทางการเงินทั้งหลายยืนยันจุดยืนของตนต่อความผันผวนของค่าเงินที่มากเกินไป ขณะที่มาซาโตะ คันดะ นักการทูตด้านเงินตราของญี่ปุ่น ย้ำว่าโตเกียวพร้อมที่จะดำเนินการต่อต้านการเคลื่อนไหวเก็งกำไรที่ส่งผลเสียต่อเศรษฐกิจ หลังจากที่เงินเยนอ่อนค่าลง 11% เมื่อเทียบกับดอลลาร์ในปีนี้ และแม้จะมีการแทรกแซงครั้งก่อน แต่ค่าเงินยังคงอ่อนแอ สร้างความท้าทายสำหรับผู้กำหนดนโยบาย เนื่องจากต้นทุนการนำเข้าที่เพิ่มขึ้นและการบริโภคที่ถูกกดดัน ท่ามกลางตลาดที่กำลังจับตาดูการแทรกแซงเพิ่มเติมที่อาจเกิดขึ้นจากญี่ปุ่นเพื่อสนับสนุนค่าเงินเยน

ทั้งนี้ จากการสำรวจของรอยเตอร์ นักเศรษฐศาสตร์เกือบสองในสามคาดว่าธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่น (BOJ) จะเริ่มลดการซื้อพันธบัตรภายในสิ้นเดือนกรกฎาคม และเกือบ 90% คาดว่าจะขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างน้อย 0.20% ภายในสิ้นปี โดยแม้จะยุติอัตราดอกเบี้ยติดลบในเดือนมีนาคม แต่ BOJ ยังคงซื้อพันธบัตรรัฐบาลประมาณ 6 ล้านล้านเยน (38.3 พันล้านดอลลาร์) ต่อเดือน เพื่อป้องกันการพุ่งขึ้นของอัตราผลตอบแทน

ในขณะเดียวกัน นายกรัฐมนตรีฟูมิโอะ คิชิดะ ตั้งเป้าที่จะดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศโดยให้คำมั่นว่าจะปฏิรูปตลาดทุนและส่งเสริมการจัดการสินทรัพย์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามที่จะทำให้ญี่ปุ่นเป็นตลาดที่น่าลงทุนมากขึ้น โดยการจัดตั้งเขตธุรกิจพิเศษในโตเกียว โอซาก้า ฟุกุโอกะ และซัปโปโร เป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์เพื่อเปลี่ยนสินทรัพย์ทางการเงินในครัวเรือนมูลค่า 13 ล้านล้านดอลลาร์ของประเทศจากเงินสดไปสู่การลงทุนที่มีประสิทธิผลมากขึ้น

อีกด้าน บริษัทชั้นนำของญี่ปุ่นตกลงที่จะขึ้นค่าจ้างเฉลี่ย 5.58% ในเดือนมีนาคม มากที่สุดในรอบ 33 ปี โดยได้แรงหนุนจากการขาดแคลนแรงงานและราคาผู้บริโภคที่สูงขึ้น โดยการเติบโตของค่าจ้างนี้เกิดขึ้นท่ามกลางความพยายามของญี่ปุ่นในการเพิ่มผลกำไรและการกำกับดูแลกิจการ

ทางด้านกิจกรรมโรงงานของญี่ปุ่นขยายตัวในเดือนพฤษภาคมเป็นครั้งแรกในรอบปี ท่ามกลางผลกำไรจากภาคการผลิตที่ชดเชยภาคบริการที่ลดลงเล็กน้อย อย่างไรก็ตาม มุมมองของผู้ผลิตยังคงลดลงเนื่องจากแรงกดดันด้านเงินเฟ้อในด้านต้นทุนวัตถุดิบและราคาผลผลิต ขณะที่อัตราเงินเฟ้อการค้าส่งระหว่างธุรกิจกับธุรกิจยังคงทรงตัวในเดือนเมษายน โดยคาดว่าจะมีการเร่งตัวขึ้น

นอกจากนี้ การส่งออกของญี่ปุ่นได้เพิ่มขึ้นเป็นเดือนที่ ติดต่อกันในเดือนเมษายน โดยได้รับแรงหนุนจากการอ่อนค่าของเงินเยน แม้ว่าปริมาณการส่งออกจะประสบปัญหาเนื่องจากความต้องการที่ลดลงจากตลาดหลักๆ เช่น สหรัฐฯ และจีน โดยแม้ว่าจีนจะออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเมื่อเร็วๆ นี้ แต่อุปสงค์ในจีนยังคงฟื้นตัวได้ช้า และส่งผลให้เกิดการขาดดุลการค้าของญี่ปุ่น ขณะที่การนำเข้าขยายตัว 8.3% เมื่อเทียบเป็นรายปี ในอัตราที่ช้ากว่าที่คาด และสะท้อนถึงอุปสงค์ในประเทศที่ซบเซา

ทางด้านเงินดอลลาร์อ่อนค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักส่วนใหญ่ในวันศุกร์ เนื่องจากนักลงทุนขายทำกำไรหลังจากที่เพิ่มขึ้นเมื่อเร็ว ๆ นี้ อย่างไรก็ตาม ข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่แข็งแกร่งยังคงสนับสนุนแนวโน้มการแข็งค่าของเงินดอลลาร์อย่างต่อเนื่อง และลดความคาดหวังในการปรับลดอัตราดอกเบี้ย

ทั้งนี้ เดือนเมษายนพบยอดคำสั่งซื้อใหม่และการจัดส่งสำหรับสินค้าทุนที่ผลิตในสหรัฐฯ ฟื้นตัวสูงกว่าคาด บ่งชี้ถึงการใช้จ่ายทางธุรกิจด้านเครื่องมือและอุปกรณ์ที่เพิ่มขึ้นในช่วงต้นไตรมาสที่สอง หลังจากข้อมูลเมื่อวันพฤหัสบดีแสดงถึงกิจกรรมทางธุรกิจของสหรัฐฯ ที่เร่งตัวเร็วที่สุดในรอบกว่าสองปี และราคาวัตถุดิบที่เพิ่มขึ้นสำหรับผู้ผลิต

อย่างไรก็ดี ดัชนีราคาค่าใช้จ่ายการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) ซึ่งเป็นมาตรวัดอัตราเงินเฟ้อที่สำคัญ จะถูกจับตาดูอย่างใกล้ชิด ถึงข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับการตัดสินใจเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยในอนาคต ท่ามกลางตลาดที่เริ่มยอมรับวาทกรรมของการคงอัตราดอกเบี้ยให้ "สูงและยาวนาน" มากขึ้น หนุนด้วยท่าทีที่ระมัดระวังจากเจ้าหน้าที่เฟดที่ยังคงไม่มั่นใจว่าแนวโน้มเงินเฟ้อจะลดลง

ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่เฟดหลายราย รวมถึงผู้ว่าการ มิเชล โบว์แมนและประธานเฟดของนิวยอร์ก จอห์น วิลเลียมส์มีกำหนดแถลงการณ์ในสัปดาห์นี้ โดยคาดว่าจะให้เบาะแสเพิ่มเติมเกี่ยวกับนโยบายการเงินได้ ขณะที่ปฏิทินเศรษฐกิจจะประกอบไปด้วยข้อมูลการเติบโตของไตรมาสแรกที่ได้รับการแก้ไขและ Beige Book ของเฟด

ทางด้านข้อมูลเงินเฟ้อของโตเกียวที่มีกำหนดรายงายในวันศุกร์จะถูกติดตามอย่างใกล้ชิด ท่ามกลางตลาดที่คาดการณ์ว่าธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่นจะขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งต่อไปในการประชุมที่กำลังจะมีขึ้น ขณะที่กระทรวงการคลังของญี่ปุ่นจะเปิดเผยข้อมูลการแทรกแซงและกำหนดการซื้อพันธบัตรของ BOJ ซึ่งนักลงทุนได้คาดการณ์ถึงการลดการซื้อพันธบัตรที่อาจเกิดขึ้น

ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค (30Min) CFD USD/JPY

แนวต้านสำคัญ : 156.77, 156.8 0, 156.84

แนวรับสำคัญ : 156.69, 156.66, 156.62                      

30Min Outlook

วิเคราะห์ USD/JPY ที่มา: TradingView                                    

Buy/Long 1 หากมีการแตะแนวรับที่ช่วงราคา 156.64 – 156.69 แต่ไม่สามารถเบรกแนวรับที่ 156.69 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 156.80 และ SL ที่ประมาณ 156.61 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้

Buy/Long 2 หากสามารถเบรกแนวต้านที่ช่วงราคา 156.77 – 156.82 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 156.93 และ SL ที่ประมาณ 156.67 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้                 

Sell/Short 1 หากมีการแตะแนวต้านที่ช่วงราคา 156.77 – 156.82 แต่ไม่สามารถเบรกแนวต้านที่ 156.77 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 156.69 และ SL ที่ประมาณ 156.85 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้

Sell/Short 2 หากสามารถเบรกแนวรับที่ช่วงราคา 156.64 – 156.69 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 156.55 และ SL ที่ประมาณ 156.79 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้

Pivot Points May 27, 2024 10:52AM GMT+7

Name
S3
S2
S1
Pivot Points
R1
R2
R3
Classic 156.58 156.62 156.69 156.73 156.8 156.84 156.91
Fibonacci 156.62 156.66 156.69 156.73 156.77 156.8 156.84
Camarilla 156.72 156.73 156.74 156.73 156.76 156.77 156.78
Woodie's 156.58 156.62 156.69 156.73 156.8 156.84 156.91
DeMark's - - 156.7 156.74 156.81 - -

ที่มา: Investing 1Investing 2

______________________________
อัพเกรดความรู้เพิ่มเติม: คลิกที่นี่
รู้เท่าทันสถานการณ์โลกและบทวิเคราะห์เทคนิคขั้นสูงคลิกที่นี่
Tags:

TECHNICAL ANALYSIS

ARTICLES