บทวิเคราะห์ EUR/USD วันที่ 29 พฤษภาคม 2567

Create at 6 months ago (May 29, 2024 10:17)

ECB คาดลดอัตราดอกเบี้ยสัปดาห์หน้า จากการคาดการณ์เงินเฟ้อยูโรโซนที่ลดลง

ธนาคารกลางยุโรป (ECB) คาดว่าจะดำเนินการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในสัปดาห์หน้า ตามที่ได้รับการยืนยันโดยสมาชิก ECB ฟรองซัวส์ วิลเลรอย เดอ กัลเฮา ซึ่งสอดคล้องกับความคาดหวังของตลาด ขณะที่นักลงทุนได้ปรับการคาดการณ์เมื่อเร็วๆ นี้ โดยคาดว่าจะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยน้อยลงในปี 2024 และต้นปี 2025

ทั้งนี้ จากผลสำรวจของ ECB เปิดเผยว่าการคาดการณ์เงินเฟ้อของผู้บริโภคยูโรโซนลดลงเล็กน้อย โดยแตะระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนกันยายน 2021 ขณะที่การคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อในช่วง 12 เดือนข้างหน้าลดลงเหลือ 2.9% และในอีก 3 ปีข้างหน้าเหลือ 2.4% ซึ่งยังคงสูงกว่าเป้าหมาย 2% ของ ECB ท่ามกลางการคาดการณ์ด้านรายได้ที่ยังคงทรงตัว และผู้บริโภคที่มีมุมมองเชิงบวกมากขึ้นเกี่ยวกับการเติบโตทางเศรษฐกิจและการว่างงาน บ่งบอกถึงตลาดแรงงานที่มีความเสถียรภาพ ซึ่งแม้ว่า ECB คาดว่าจะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในเดือนหน้า แต่การเติบโตของค่าจ้างจากการเจรจาที่เพิ่มขึ้นทั่วยูโรโซนได้ส่งผลให้แนวโน้มเศรษฐกิจมีความซับซ้อนมากขึ้น

ในขณะเดียวกัน IMF แนะนำให้เยอรมนีพิจารณาผ่อนคลายการจำกัดหนี้เพื่อให้การใช้จ่ายภาครัฐเพิ่มขึ้น โดย IMF แนะนำว่าการผ่อนคลายการเติบโตของ GDP 1% สามารถสร้างการลงทุนได้โดยไม่ต้องเพิ่มอัตราส่วนหนี้สินต่อ GDP

ทั้งนี้ แนวโน้มเดือนเมษายนของ IMF ปรับลดคาดการณ์การเติบโต GDP ของเยอรมนีลงเหลือ 0.2% ในปี 2024 และ 1.3% ในปี 2025 โดยคาดว่าจะพบการฟื้นตัวที่ช้าจากการบริโภคอันเนื่องมาจากอัตราเงินเฟ้อที่ผ่อนคลายลง และคาดว่าการเติบโตจะแข็งแกร่งขึ้นในปี 2025 โดยได้รับแรงหนุนจากการลงทุนภาคเอกชนและนโยบายการเงินที่เข้มงวดในระดับปานกลาง อย่างไรก็ตาม กลุ่มประชากรสูงวัยมีแนวโน้มชะลอการเติบโตลงเหลือประมาณ 0.7% ต่อปีในระยะกลาง

ในเดือนพฤษภาคม ความเชื่อมั่นทางธุรกิจของเยอรมนีซบเซา บ่งชี้ถึงเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวได้ช้า โดยกิจกรรมภาคเอกชนเพิ่มขึ้นเป็นเดือนที่สองติดต่อกัน โดยได้แรงหนุนจากภาคบริการ แม้ว่าภาคการผลิตจะยังคงอ่อนแอ ขณะที่ราคาผู้ผลิตของเยอรมนีลดลงเกินคาดในเดือนเมษายน โดยมีสาเหตุหลักมาจากต้นทุนพลังงานที่ลดลง และแม้จะมีการคาดการณ์ถึงเศรษฐกิจชะลอตัวในปี 2024 แต่การบริโภคภาคเอกชนคาดว่าจะเติบโต 1% เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อลดลงเหลือ 2.3% ท่ามกลางราคาที่อยู่อาศัยที่คาดว่าจะลดลง 2% ในปีนี้ เนื่องจากต้นทุนการกู้ยืมลดลงและอุปทานที่อยู่อาศัยราคาถูกที่ยังคงมีจำกัด

ในฝรั่งเศส ภาคเอกชนหดตัวในเดือนพฤษภาคมหลังจากการเติบโตในเดือนเมษายน โดยทั้งภาคบริการและการผลิตประสบภาวะถดถอย ขณะที่เศรษฐกิจฝรั่งเศสคาดว่าจะเติบโตเล็กน้อยในไตรมาสที่สอง หลังจากเพิ่มขึ้น 0.2% ในไตรมาสแรก

อย่างไรก็ดี ปัจจุบันตลาดคาดว่าจะมีการปรับอัตราพื้นฐานประมาณ 60 จุด ซึ่งจะทำให้อัตรามาตรฐานของ ECB อยู่ที่ประมาณ 3.4% ภายในเดือนธันวาคม ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 2 ปีของเยอรมนี ซึ่งอ่อนไหวต่อการคาดการณ์อัตราดอกเบี้ย อยู่ที่ระดับสูงสุดในรอบ 6 เดือน และสูงกว่าระดับ 3% ซึ่งสะท้อนถึงการเพิ่มขึ้นเกือบ 70% ในปีนี้

ทางด้านค่าเงินดอลลาร์ดีดตัวขึ้นเมื่อวันอังคาร เนื่องจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ แตะระดับสูงสุดในรอบสี่สัปดาห์ จากความต้องการที่อ่อนแอสำหรับการประมูลพันธบัตรอายุสองปีและห้าปี หลังจากการเปิดเผยข้อมูลความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐฯ ที่ลดลงสามเดือนก่อนหน้านี้ ปรับตัวดีขึ้นอย่างไม่คาดคิดในเดือนพฤษภาคม ขณะที่ข้อมูลเศรษฐกิจไตรมาสแรกที่แข็งแกร่งและตลาดแรงงานที่ฟื้นตัวได้ทำให้แนวโน้มการอ่อนค่าของเงินดอลลาร์ลดน้อยลง

โดยแม้ว่าอัตราเงินเฟ้อของราคาผู้บริโภคในเดือนเมษายนจะต่ำกว่าที่คาดไว้ ซึ่งทำให้เกิดความหวังที่อาจมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ย แต่เจ้าหน้าที่เฟดยังคงเน้นย้ำถึงความจำเป็นในการเฝ้ารอดูตัวเลขอีกหลายเดือนข้างหน้านี้ก่อนที่จะเริ่มผ่อนคลายนโยบาย ท่ามกลางผู้บริโภคจำนวนมากที่เชื่อว่าภาวะเศรษฐกิจถดถอยอาจเกิดขึ้นได้ภายในปีหน้า แม้ว่าจะยังคงมุมมองในแง่ดีเกี่ยวกับตลาดหุ้นและวางแผนที่จะซื้อเครื่องใช้ในครัวเรือนขนาดใหญ่ในอนาคต

ทั้งนี้ ประเด็นเศรษฐกิจหลักประจำสัปดาห์นี้จะอยู่ที่รายงานการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล ซึ่งเป็นมาตรการเงินเฟ้อที่ เฟดให้ความสำคัญ ซึ่งมีกำหนดเผยแพร่ในวันศุกร์ที่จะถึงนี้ จึงคาดว่าจะส่งผลให้เงินยูโรอาจยังคงแนวโน้มถูกกดดันอยู่ในช่วงนี้ จากการคาดการณ์การปรับลดอัตราดอกเบี้ยของ ECB ที่มาถึงเร็วกว่าสหรัฐฯ  

ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค (1H) CFD EUR/USD

แนวต้านสำคัญ : 1.0852, 1.0854, 1.0857

แนวรับสำคัญ : 1.0846, 1.0844, 1.0841                   

1H Outlook

วิเคราะห์ EUR/USDที่มา: TradingView                                        

Buy/Long 1 หากมีการแตะแนวรับที่ช่วงราคา 1.0841 - 1.0846 แต่ไม่สามารถทะลุแนวรับที่ 1.0846 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 1.0852 และ SL ที่ประมาณ 1.0839 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้

Buy/Long 2 หากสามารถทะลุแนวต้านที่ช่วงราคา 1.0852 - 1.0857 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 1.0865 และ SL ที่ประมาณ 1.0843 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้                 

Sell/Short 1 หากมีการแตะแนวต้านที่ช่วงราคา 1.0852 - 1.0857 แต่ไม่สามารถทะลุแนวต้านที่ 1.0852 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 1.0844 และ SL ที่ประมาณ 1.0859 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้

Sell/Short 2 หากสามารถทะลุแนวรับที่ช่วงราคา 1.0841 - 1.0846 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 1.0830 และ SL ที่ประมาณ 1.0855 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้

Pivot Points May 29, 2024 10:01AM GMT+7

Name
S3
S2
S1
Pivot Points
R1
R2
R3
Classic 1.0836 1.0841 1.0844 1.0849 1.0852 1.0857 1.086
Fibonacci 1.0841 1.0844 1.0846 1.0849 1.0852 1.0854 1.0857
Camarilla 1.0844 1.0845 1.0846 1.0849 1.0847 1.0848 1.0849
Woodie's 1.0834 1.084 1.0842 1.0848 1.085 1.0856 1.0858
DeMark's - - 1.0842 1.0848 1.085 - -

ที่มา: Investing 1Investing 2

______________________________
อัพเกรดความรู้เพิ่มเติม: คลิกที่นี่
รู้เท่าทันสถานการณ์โลกและบทวิเคราะห์เทคนิคขั้นสูงคลิกที่นี่
Tags:

TECHNICAL ANALYSIS

ARTICLES