ญี่ปุ่นอาจมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกครั้ง
เงินเยนของญี่ปุ่นแข็งค่าขึ้นเล็กน้อย เนื่องจากความผันผวนในเศรษฐกิจโลกทำให้นักลงทุนเริ่มกลับมาซื้อขายสกุลเงินที่มีความปลอดภัยมากขึ้น นอกจากนี้ ยังได้รับแรงสนับสนุนจากการคาดการณ์ของนักลงทุนว่า BoJ อาจมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกครั้ง ทั้งนี้ เงินเยนอาจถูกกดดันมากขึ้นจากข้อมูลเศรษฐกิจของสหรัฐฯ โดยเฉพาะการประกาศข้อมูล PCE ซึ่งจะสามารถบอกได้ถึงความสามารถในการใช้จ่ายสำหรับการบริโภคของประชาชนในสหรัฐฯ
ธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่นอาจพิจารณาปรับนโยบายการเงินเพิ่มเติมหากค่าเงินเยนยังคงอ่อนค่าลงอย่างมีนัยสำคัญ โดยการอ่อนค่าของเยน ทำให้การนำเข้าสินค้าต่างๆ จากต่างประเทศมีราคาเพิ่มสูงขึ้นเมื่อเทียบเป็นเงินเยนและอาจก่อให้เกิดสภาวะเงินเฟ้อได้อีกครั้งหากต้นทุนสินค้าและบริการที่นำเข้านั้นเพิ่มมากขึ้น เซจิ อาดาชิ หนึ่งในผู้กำหนดนโยบายกล่าวเสริมว่ายังมีความเป็นไปได้ที่ญี่ปุ่นที่อัตราเงินเฟ้อจะลดลงสู่เป้าหมายที่ 2% แต่ยังมีความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจทั้งในประเทศและต่างประเทศ ดังนั้นนโยบายการเงินในตอนนี้จำเป็นต้องหลีกเลี่ยงการขึ้นอัตราดอกเบี้ยก่อนกำหนดเพื่อป้องกันความเสียหายทางเศรษฐกิจที่จะทวีความรุนแรงมากขึ้น
อัตราเงินเฟ้อในญี่ปุ่นลดลงเหลือ 2.5% เมื่อเทียบเป็นรายปีในเดือนเมษายน จาก 2.7% ในเดือนก่อนหน้า โดยราคาอาหารปรับเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยและราคาพลังงานที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล ส่งผลอัตราเงินเฟ้อลดลงเป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกัน ทั้งนี้การสนับสนุนราคาพลังงานจากรัฐบาลจะสิ้นสุดในเดือนพฤษภาคมนี้ จะทำให้ต้นทุนราคาสินค้าเพิ่มมากขึ้นและอาจทำให้อัตราเงินเฟ้อกลับมาเพิ่มขึ้นอีกครั้ง
ดัชนีชี้วัดเศรษฐกิจชี้นำในญี่ปุ่นซึ่งใช้ในการวัดแนวโน้มเศรษฐกิจในช่วง 2-3 เดือนข้างหน้า โดยอ้างอิงข้อมูลจากการประกาศรับสมัครงานและความเชื่อมั่นของผู้บริโภค เพิ่มสูงขึ้นเป็น 112.2 ในเดือนมีนาคม แม้ว่ากิจกรรมภาคการผลิตจะหดตัว แต่กิจกรรมภาคบริการขยายตัวขึ้นต่อเนื่อง ส่งผลให้ความเชื่อเชื่อมั่นผู้บริโภคเพิ่มขึ้นตามไปด้วย
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลญี่ปุ่นอายุ 10 ปี เพิ่มขึ้นเหนือ 1% เนื่องจากนักลงทุนคาดการณ์ว่า BoJ มีโอกาสปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น หากค่าเงินเยนยังคงอ่อนค่า นอกจากนี้ ยังได้รับแรงหนุนจากการยกเลิกนโยบายการเงินผ่อนคลายพิเศษและยกเลิกการควบคุมอัตราผลตอบแทนเมื่อต้นปีที่ผ่านมา ซึ่งจะส่งผลต่อ ปริมาณพันธบัตรรัฐบาลที่เสนอให้ซื้ออีกด้วย ทางด้านสหรัฐ Fed ยังคงให้ความกังวลเรื่องเรื่องอัตราเงินเฟ้อเป็นหลัก ทำให้ผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐเพิ่มมากขึ้นด้วย
ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค (5H)
แนวต้านสำคัญ: 157.42, 157.87, 158.31
แนวรับสำคัญ: 156.53, 156.09, 155.64
ที่มา: Investing.com
Buy/Long 1: หากมีการแตะแนวรับที่ช่วงราคา 156.09 - 156.53 แต่ไม่สามารถเบรกแนวรับที่ 156.53 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 157.87 และ SL ที่ประมาณ 155.64 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Buy/Long 2: หากสามารถเบรกแนวต้านที่ช่วงราคา 157.42 - 157.87 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 158.31 และ SL ที่ประมาณ 156.09 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 1: หากมีการแตะแนวต้านที่ช่วงราคา 157.42 - 157.87 แต่ไม่สามารถเบรกแนวต้านที่ 157.42 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 156.09 และ SL ที่ประมาณ 158.31 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 2: หากสามารถเบรกแนวรับที่ช่วงราคา 156.09 - 156.53 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 155.64 และ SL ที่ประมาณ 157.87 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
จุดกลับตัว 30 พฤษภาคม 2567 19:04 น. GMT+7
ชื่อ
|
S3
|
S2
|
S1
|
จุดกลับตัว
|
R1
|
R2
|
R3
|
Classic | 155.64 | 156.09 | 156.53 | 156.98 | 157.42 | 157.87 | 158.31 |
Fibonacci | 156.09 | 156.43 | 156.64 | 156.98 | 157.32 | 157.53 | 157.87 |
Camarilla | 156.73 | 156.81 | 156.89 | 156.98 | 157.06 | 157.14 | 157.22 |
Woodie's | 155.64 | 156.09 | 156.53 | 156.98 | 157.42 | 157.87 | 158.31 |
DeMark's | - | - | 156.31 | 156.87 | 157.2 | - | - |