บทวิเคราะห์ USD/EUR 31 พฤษภาคม 2567

Create at 7 months ago (May 31, 2024 21:21)

ECB อาจชะลอการลดอัตราดอกเบี้ย

เงินยูโรกลับมาแข็งค่าขึ้นอีกครั้ง หลังจากการประกาศข้อมูลออัตราเฟ้อที่สูงกว่าคาดในยูโรโซน ทำให้เกิดความกังวลต่อเศรษฐกิจโดยรวมและเพิ่มความไม่แน่นอนเกี่ยวกับการตัดสินใจเรื่องการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในอนาคตอันใกล้ โดยมีการคาดการณ์ว่าการปรับลดอัตราดอกเบี้ยครั้งแรกจะเกิดขึ้นภายในปีนี้ ทั้งนี้ การประชุมครั้งล่าสุดยังแสดงให้เห็นว่า ECB อาจมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเร็วขึ้น แต่อัตราเงินเฟ้อที่ยืดเยื้ออาจทำให้การพิจารณาดังกล่าวเลือกออกไปก่อนเพื่อให้อัตราเงินเฟ้อกลับมามีแนวโน้มชะลอตัวลงอีกครั้ง


อัตราเงินเฟ้อในยูโรโซนเพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 5 เดือนเป็น 2.6% เมื่อเทียบเป็นรายปีในเดือนพฤษภาคม เพิ่มขึ้นจาก 2.4% ในเดือนก่อนหน้า โดยมีข้อมูลระบุว่าการเพิ่มขึ้นของเงินเฟ้อในครั้งนี้ส่วนใหญ่ได้รับแรงหนุนจากราคาพลังงานที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น 0.3% ซึ่งอาจส่งผลต่อราคาสินค้าส่วนใหญ่ให้ปรับเพิ่มขึ้นด้วย ในขณะที่ราคาการบริการยังคงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่องที่ 4.1% แต่สำหรับราคาอาหารและเครื่องดื่มลดลงมาเล็กน้อย โดยประเทศเศรษฐกิจหลักๆ อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นมากกว่าคาดในเยอรมนี, ฝรั่งเศสและสเปน


ความเชื่อมั่นผู้บริโภคในเขตยูโรเพิ่มขึ้นเล็กน้อย 0.4 จุดจากเดือนหน้าก่อนเป็น -14.3 ในเดือนพฤษภาคม ความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ยังติดลบแสดงให้เห็นถึงมุมมองต่อเศรษฐกิจในแง่ร้ายมากขึ้น ซึ่งส่วนหนึ่งได้รับแรงหนุนจากอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในปีที่ผ่านมาและระดับการจ้างงานที่ลดลง ในขณะที่การปรับลดอัตราดอกเบี้ยของ ECB ยังคงเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยสนับสนุนค่าใช้จ่ายต่างๆ ของภาคครัวเรือน


การให้กู้ยืมของธนาคารแก่ครัวเรือนในยูโรโซนเพิ่มขึ้น 0.2% เมื่อเทียบเป็นรายปีในเดือนเมษายนยังคงเป็นอัตราการเติบโตของสินเชื่อที่ช้าที่สุดนับตั้งแต่ปี 2015 เนื่องจากการขึ้นอัตราดอกเบี้ยในช่วงก่อนหน้าและมาตรการที่เข้มงวดของธนาคารกลางยุโรปที่นำมาใช้ยังคงส่งผลกระทบความสามารถในการชำระหนี้ของภาคครัวเรือนโดยตรง นอกจากนี้ ความต้องการของผู้บริโภคที่ลดลงยังทำให้บริษัทต่างๆ สามารถทำกำไรได้น้อยลงและส่งผลให้ต้นทุนการผลิตสินค้าต่างๆ เพิ่มสูงขึ้นด้วย


การเติบโตของค่าจ้างในยูโรโซนเพิ่มขึ้น 4.69% เมื่อเทียบเป็นรายปีในไตรมาส 1 ปี ค่าจ้างที่ปรับเพิ่มขึ้นทำให้เกิดความกังวลเกี่ยวกับแรงกดดันเงินเฟ้อที่อาจเพิ่มขึ้นตามมาด้วย เนื่องจากต้นทุนการผลิจที่สูงมากขึ้น ทำให้บริษัทต่างๆ สามารถผลักภาระด้านต้นทุนไปยังผู้บริโภคได้ง่ายขึ้น ซึ่งอาจส่งผลให้ระดับเงินเฟ้อสูงกว่าที่คาดการณ์ไว้ โดยผู้กำหนดนโยบายของ ECB ยังคงจับตามองตลาดแรงงานอย่างใกล้ชิด เพื่อพิจารณาการปรับอัตราดอกเบี้ย โดยการเติบโตของค่าจ้างที่แข็งแกร่งอาจทำให้การตัดสินใจในการลดอัตราดอกเบี้ยของ ECB ชะลอตัวออกไปอีก

ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค (5H)

แนวต้านสำคัญ: 0.9208, 0.9226, 0.9235

แนวรับสำคัญ: 0.9182, 0.9172, 0.9155

บทวิเคราะห์ USD/EUR วันนี้ที่มา: Investing.com

Buy/Long 1: หากมีการแตะแนวรับที่ช่วงราคา 0.9172 - 0.9182 แต่ไม่สามารถเบรกแนวรับที่ 0.9182 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.9226 และ SL ที่ประมาณ 0.9155 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้

Buy/Long 2: หากสามารถเบรกแนวต้านที่ช่วงราคา 0.9208 - 0.9226 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.9235 และ SL ที่ประมาณ 0.9172 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้

Sell/Short 1: หากมีการแตะแนวต้านที่ช่วงราคา 0.9208 - 0.9226 แต่ไม่สามารถเบรกแนวต้านที่ 0.9208 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.9172 และ SL ที่ประมาณ 0.9235 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้

Sell/Short 2: หากสามารถเบรกแนวรับที่ช่วงราคา 0.9172 - 0.9182 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.9155 และ SL ที่ประมาณ 0.9226 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้

จุดกลับตัว 31 พฤษภาคม 2567 21:15 น. GMT+7

ชื่อ
S3
S2
S1
จุดกลับตัว
R1
R2
R3
Classic 0.9155 0.9172 0.9182 0.9199 0.9208 0.9226 0.9235
Fibonacci 0.9172 0.9183 0.9189 0.9199 0.9209 0.9215 0.9226
Camarilla 0.9183 0.9186 0.9188 0.9199 0.9193 0.9195 0.9198
Woodie's 0.9151 0.917 0.9178 0.9197 0.9204 0.9224 0.9231
DeMark's - - 0.9177 0.9196 0.9203 - -
______________________________
อัพเกรดความรู้เพิ่มเติม: คลิกที่นี่
รู้เท่าทันสถานการณ์โลกและบทวิเคราะห์เทคนิคขั้นสูงคลิกที่นี่
Tags:

TECHNICAL ANALYSIS

ARTICLES