บทวิเคราะห์ GBP/USD วันที่ 6 มิถุนายน 2567

Create at 3 months ago (Jun 06, 2024 16:04)

อัตราเงินเฟ้อในอังกฤษเริ่มทรงตัว ราคาร้านค้าเพิ่มขึ้นในอัตราที่ช้าที่สุดในรอบ 2.5 ปี

ตามรายงานจาก British Retail Consortium (BRC) ราคาในร้านค้าในอังกฤษเพิ่มขึ้นในอัตราที่ช้าที่สุดในรอบ 2.5 ปีในเดือนนี้ ซึ่งบ่งชี้ถึงการกลับสู่ระดับเงินเฟ้อปกติ โดยอัตราเงินเฟ้อราคาร้านค้าประจำปีชะลอตัวลงเหลือ 0.6% ในเดือนพฤษภาคมจาก 0.8% ในเดือนเมษายน ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นน้อยที่สุดนับตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2021 ขณะที่ราคาสินค้าที่ไม่ใช่อาหารลดลง 0.8% ต่อปี และอัตราเงินเฟ้อด้านอาหารลดลงเหลือ 3.2% ซึ่งต่ำที่สุดนับตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2022

ทั้งนี้ เศรษฐกิจของอังกฤษ ซึ่งใหญ่เป็นอันดับ 6 ของโลก ต้องเผชิญกับการเติบโตที่ต่ำและอัตราเงินเฟ้อที่สูง ความท้าทายของ Brexit และการฟื้นตัวจากโควิด-19 รวมถึงราคาพลังงานที่พุ่งสูงขึ้นจากผลกระทบจากยูเครน ขณะที่อัตราเงินเฟ้อค่อยๆ ทรงตัว โดยราคาผู้บริโภครายปีเดือนเมษายนเติบโต 2.3% ใกล้กับเป้าหมาย 2% ของธนาคารกลางอังกฤษ ท่ามกลาง CPI พื้นฐานที่ยังคงสูงที่ 3.9%

ทางด้านการคาดการณ์ของสาธารณะเกี่ยวกับอัตราเงินเฟ้อในปีหน้าจากการสำรวจของ Citi/YouGov ลดลงเหลือ 3.1% ในเดือนพฤษภาคม ซึ่งต่ำที่สุดนับตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2021 ขณะที่การคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อในระยะยาวลดลงเหลือ 3.2% ซึ่งอาจส่งผลต่อการตัดสินใจของคณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารกลางอังกฤษที่กำลังพิจารณาปรับลดอัตราดอกเบี้ย

อย่างไรก็ตาม นักลงทุนยังคงไม่มั่นใจว่าธนาคารแห่งอังกฤษจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยในเดือนมิถุนายน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีการคาดการณ์ว่า CPI จะเพิ่มขึ้นอีกครั้ง โดยความสนใจล่าสุดอยู่ที่การประชุมในเดือนสิงหาคม ซึ่งนักวิเคราะห์ของ Danske Bank คาดว่าจะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในเดือนสิงหาคม ท่ามกลางการเลือกตั้งที่ใกล้เข้ามา

อีกด้าน การผลิตรถยนต์ของอังกฤษลดลง 7% เมื่อเทียบเป็นรายปีในเดือนเมษายน ซึ่งเป็นการลดลงเป็นเดือนที่สองติดต่อกัน เนื่องจากผู้ผลิตที่เปลี่ยนมาผลิตรถยนต์ไฟฟ้า โดยในเดือนเมษายน พบการผลิตรถยนต์ 61,820 คัน ลดลงจาก 66,527 คันในปีที่แล้ว

ทางด้านการเติบโตของภาคบริการของสหราชอาณาจักรชะลอตัวลงในเดือนพฤษภาคม อย่างไรก็ตาม ธุรกิจต่างๆ ยังคงมุมมองเชิงบวก โดยได้แรงหนุนจากการคาดการณ์อัตราดอกเบี้ยและการเติบโตที่ลดลง โดยตามการรายงานจาก Lloyds Bank Business Barometer ธุรกิจในอังกฤษมีความเชื่อมั่นมากขึ้น และมีแผนการจ้างงานที่แข็งแกร่งที่สุดนับตั้งแต่ปี 2017 ซึ่งมุมมองเชิงบวกดังกล่าวขององค์กรธุรกิจได้เพิ่มขึ้นสู่ระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2015 โดยได้แรงหนุนจากอัตราเงินเฟ้อที่ลดลงและอัตราดอกเบี้ยที่คาดว่าจะลดลง

ทางด้านราคาบ้านในอังกฤษคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเล็กน้อยในปีนี้ และแซงหน้าอัตราเงินเฟ้อในอีก 2 ปีข้างหน้า โดยได้แรงหนุนจากการลดต้นทุนการกู้ยืมและอุปทานที่จำกัด โดยการเติบโตของค่าจ้างคาดว่าจะแซงหน้าราคาที่อยู่อาศัยที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 1.8% ในปี 2024 ซึ่งจะช่วยปรับปรุงความสามารถในการจับจ่ายสำหรับผู้ซื้อที่อยู่อาศัยหลังแรก แม้จะยังคงมีปัญหาด้านอุปทานอย่างต่อเนื่องก็ตาม

ขณะเดียวกัน เงินดอลลาร์สหรัฐฯ แข็งค่าขึ้นในวันพุธ โดยดีดตัวขึ้นจากระดับต่ำสุดในรอบสองเดือน ก่อนการรายงานนโยบายการเงิน โดยการแข็งค่าของเงินดอลลาร์เป็นไปตามข้อมูลที่บ่งชี้ถึงภาคบริการของสหรัฐฯ ที่ดีดตัวขึ้นในเดือนพฤษภาคม ส่งผลให้เกิดความไม่แน่นอนต่อการผ่อนคลายของธนาคารกลางสหรัฐฯ ในปลายปีนี้ ซึ่งจนถึงปี 2023 เงินดอลลาร์ได้แข็งค่าขึ้นมากกว่า 3% เนื่องจากความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจและอัตราเงินเฟ้อที่ และส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับสูงกว่าที่คาดไว้

ทั้งนี้ เมื่อต้นปีที่ผ่านมา นักลงทุนได้คาดการณ์ว่าเฟดอาจปรับลดอัตราดอกเบี้ย ขณะที่ตลาดฟิวเจอร์สในปัจจุบันส่งสัญญาณของการผ่อนคลายที่อาจเริ่มในเดือนกันยายน โดยรายงานการจ้างงานของสหรัฐฯ ยังคงถูกจับตามองเป็นพิเศษ แม้ว่าอัตราเงินเฟ้อยังคงเป็นปัจจัยสำคัญในการตัดสินใจนโยบายของเฟด ซึ่งมาตรวัดอัตราเงินเฟ้อของเฟดในสัปดาห์ที่แล้วแสดงอัตราอยู่ที่ 2.7% สูงกว่าเป้าหมาย 2.0% และบ่งบอกถึงการแข็งค่าของเงินดอลลาร์อย่างต่อเนื่อง

ทางด้านการจ้างงานภาคเอกชนแตะระดับต่ำสุดในรอบ 4 เดือนในเดือนพฤษภาคม โดยบริษัทขนาดเล็กตัดลดพนักงานและปรับค่าจ้างเพิ่มขึ้น ส่งสัญญาณถึงตลาดงานที่อาจกำลังเย็นตัวลง โดย ADP รายงานการจ้างงานภาคเอกชนในเดือนพฤษภาคม เพิ่มขึ้น 152,000 ต่ำกว่าที่คาดไว้ที่ 175,000

อีกด้าน ภาคบริการของสหรัฐฯ กลับมาเติบโตในเดือนพฤษภาคมหลังจากหดตัวในเดือนเมษายน โดยมาตรวัดกิจกรรมทางธุรกิจแสดงให้เห็นการปรับปรุงของกิจกรรมที่สูงที่สุดในรอบสามปี โดยแม้จะพบการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ช้าลง แต่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานยังคงอยู่ในระดับสูงที่ 3.9% ตอกย้ำความจำเป็นของเฟดในการควบคุมอัตราเงินเฟ้อ ซึ่งคาดว่าจะไม่สามารถแตะกรอบเป้าหมาย 2% ของเฟดได้จนกว่าจะถึงปี 2026 เป็นอย่างน้อย ขณะที่ตลาดคาดการณ์ว่าธนาคารกลางจะคงอัตราดอกเบี้ยในการประชุมที่กำลังจะมาถึง พร้อมด้วยการรายงานการคาดการณ์เศรษฐกิจเพิ่มเติม จึงอาจส่งผลให้คู่สกุล GBP/USD มีการซื้อขายขึ้นลงในกรอบบนได้ต่อเนื่องอีกเล็กน้อยในช่วงนี้ โดยแนวโน้มขาขึ้นคาดว่าจะยังคงถูกจำกัดในระยะถัดไป

ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค (1D) CFD GBP/USD

แนวต้านสำคัญ : 1.2794, 1.2804, 1.2820      

แนวรับสำคัญ : 1.2762, 1.2752, 1.2736                  

1D Outlook  

วิเคราะห์ GBP/USD ที่มา: TradingView

Buy/Long 1 หากมีการแตะแนวรับที่ช่วงราคา 1.2722 - 1.2762 แต่ไม่สามารถเบรกแนวรับที่ 1.2762 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 1.2802 และ SL ที่ประมาณ 1.2702 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้

Buy/Long 2 หากสามารถเบรกแนวต้านที่ช่วงราคา 1.2794 - 1.2834 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 1.2860 และ SL ที่ประมาณ 1.2742 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้                 

Sell/Short 1 หากมีการแตะแนวต้านที่ช่วงราคา 1.2794 - 1.2834 แต่ไม่สามารถเบรกแนวต้าน 1.2794 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 1.2760 และ SL ที่ประมาณ 1.2854 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้

Sell/Short 2 หากสามารถเบรกแนวรับที่ช่วงราคา 1.2722 - 1.2762 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 1.2688 และ SL ที่ประมาณ 1.2814 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้

Pivot Points Jun 6, 2024 03:48PM GMT+7

Name
S3
S2
S1
Pivot Points
R1
R2
R3
Classic 1.2717 1.2736 1.276 1.2778 1.2802 1.282 1.2844
Fibonacci 1.2736 1.2752 1.2762 1.2778 1.2794 1.2804 1.282
Camarilla 1.2773 1.2777 1.2781 1.2778 1.2789 1.2793 1.2797
Woodie's 1.2721 1.2738 1.2764 1.278 1.2806 1.2822 1.2848
DeMark's - - 1.277 1.2783 1.2812 - -

ที่มา: Investing 1Investing 2

______________________________
อัพเกรดความรู้เพิ่มเติม: คลิกที่นี่
รู้เท่าทันสถานการณ์โลกและบทวิเคราะห์เทคนิคขั้นสูงคลิกที่นี่
Tags:

TECHNICAL ANALYSIS

ARTICLES