เศรษฐกิจจีนกลับมาฟื้นตัวอีกครั้ง
ค่าเงินหยวนอ่อนค่าลงเกิน 7.25 หยวนต่อดอลลาร์สหรัฐฯ สะท้อนถึงความกังวลของนักลงทุนต่อข้อมูลเศรษฐกิจของสหรัฐ แม้ว่าข้อมูล PMI ถาคการบริการจะแข็งแกร่งมากกว่าคาดก็ตาม ทางด้านจีน ได้มีการสำรวจภาคเอกชนเมื่อเร็วๆ นี้พบว่าภาคบริการของจีนขยายตัวต่อเนื่อง และส่งสัญญาณการเติบโตที่รวดเร็วที่สุดในรอบ 1 ปี อย่างไรก็ตาม ข้อมูลเศรษฐกิจจีนที่ผสมผสานกันในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ทำให้นักวิเคราะห์หลายคนเชื่อว่าการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจีนยังคงไม่สม่ำเสมอและเกิดความไม่แน่นอนเกี่ยวกับแนวโน้มในอนาคตด้วยเช่นกัน
กำไรที่จากบริษัทต่างๆ ในหลากหลายอุตสาหกรรมของจีนเพิ่มขึ้น 4.3% เมื่อเทียบเป็นรายปี คิดเป็นมูลค่ากว่า 2,094.69 พันล้านหยวนในช่วง 4 เดือนแรกของปี 2024 การทำกำไรที่เพิ่มมากขึ้นแสดงให้เห็นถึงความพยายามอย่างต่อเนื่องของรัฐบาลในการรักษาโมเมนตัมและสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจภายในประเทศ ท่ามกลางความท้าทายที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ อุปสงค์ในประเทศที่อ่อนแอ, ภาวะเงินฝืดและการชะลอตัวของอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งเป็นแรงกดดันขนาดใหญ่ที่ส่งผลต่อเศรษฐกิจโดยรวม
การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ในจีนลดลง 27.1% เมื่อเทียบเป็นรายปี เหลือ 360.2 พันล้านหยวนใน 4 เดือนแรกของปี ซึ่งเป็นการลดลงอย่างรวดเร็วอีกครั้งและแสดงให้เห็นถึงความไม่มั่นใจของนักลงทุนต่อเศรษฐกิจจีนแม้ว่าจะมีสัญญาณที่ดีขึ้นแล้วก็ตาม โดยเงินลงทุนประมาณ 12.7% คิดเป็น 45.7 พันล้านหยวนลงทุนในอุตสาหกรรมการผลิตที่มีเทคโนโลยีสูง ในขณะที่การลงทุนจากต่างประเทศในที่พักยังคงเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วที่ 65.1%
Manufacturing PMI เพิ่มขึ้นเป็น 51.7 ในเดือนพฤษภาคม นับเป็นเดือนที่ 7 ติดต่อกันของการขยายของกิจกรรมในภาคการผลิตและเป็นการเพิ่มขึ้นในอัตราที่เร็วที่สุดในรอบ 2 ปี เนื่องจากผลผลิตที่สามารถทำได้เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม คำสั่งซื้อสำหรับส่งออกขยายตัวอ่อนตัวกว่าที่คาดเนื่องจากเศรษฐกิจโลกที่ซบเซา ขณะเดียวกัน การจ้างงานลดลงเป็นเดือนที่ 9 ติดต่อกัน
Services PMI เพิ่มขึ้นเป็น 54.0 ในเดือนพฤษภาคม นับเป็นเดือนที่ 17 ติดต่อกันของการขยายตัวในภาคการบริการ เนื่องจากธุรกิจเกิดใหม่และคำสั่งซื้อสำหรับส่งออกเติบโตมากที่สุดในรอบปี เนื่องจากอุปสงค์ในประเทศที่กลับมาแข็งแกร่งขึ้นอีกครั้งจากการสนับสนุนจากภาครัฐ นอกจากนี้ การจ้างงานเพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 4 เดือน ทำให้ค่าจ้างเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากความต้องการด้านแรงงานที่เพิ่มขึ้น
ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค (5H)
แนวต้านสำคัญ: 7.2463, 7.2487, 7.2499
แนวรับสำคัญ: 7.2428, 7.2415, 7.2392
ที่มา: Investing.com
Buy/Long 1: หากมีการแตะแนวรับที่ช่วงราคา 7.2415 - 7.2428 แต่ไม่สามารถเบรกแนวรับที่ 7.2428 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 7.2487 และ SL ที่ประมาณ 7.2392 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Buy/Long 2: หากสามารถเบรกแนวต้านที่ช่วงราคา 7.2463 - 7.2487 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 7.2499 และ SL ที่ประมาณ 7.2415 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 1: หากมีการแตะแนวต้านที่ช่วงราคา 7.2463 - 7.2487 แต่ไม่สามารถเบรกแนวต้านที่ 7.2463 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 7.2415 และ SL ที่ประมาณ 7.2499 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 2: หากสามารถเบรกแนวรับที่ช่วงราคา 7.2415 - 7.2428 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 7.2392 และ SL ที่ประมาณ 7.2487 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
จุดกลับตัว 6 มิถุนายน 2567 20:15 น. GMT+7
ชื่อ
|
S3
|
S2
|
S1
|
จุดกลับตัว
|
R1
|
R2
|
R3
|
Classic | 7.2392 | 7.2415 | 7.2428 | 7.2451 | 7.2463 | 7.2487 | 7.2499 |
Fibonacci | 7.2415 | 7.2429 | 7.2437 | 7.2451 | 7.2465 | 7.2473 | 7.2487 |
Camarilla | 7.2429 | 7.2432 | 7.2436 | 7.2451 | 7.2442 | 7.2446 | 7.2449 |
Woodie's | 7.2386 | 7.2412 | 7.2422 | 7.2448 | 7.2457 | 7.2484 | 7.2493 |
DeMark's | - | - | 7.2421 | 7.2448 | 7.2457 | - | - |