ญี่ปุ่นยังคงถูกกดดันจากเงินเฟ้อ
เงินเยนของญี่ปุ่นกลับมาทรงตัวอีกครั้งที่ประมาณ 156 เยนต่อดอลลาร์สหรัฐ หลังจากอ่อนค่าลงต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา โทโยอากิ นากามูระ หนึ่งในสมาชิกของธนาคารกลางญี่ปุ่น ออกมาเตือนว่าอัตราเงินเฟ้อคาดว่าต่ำกว่าเป้าที่ 2% ในภายปีหน้า หากการบริโภคของประชาชนยังคงซบเซา ส่งผลกระทบต่อความหวังของการขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อไป
ในขณะเดียวกัน เรียวโซ ฮิมิโนะ รองผู้ว่าการธนาคารกลางญี่ปุ่น กล่าวเมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมาว่าธนาคารกลางจะต้องระมัดระวังการเปลี่ยนแปลงนโยบายการเงินเป็นพิเศษ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวจะผลกระทบต่อค่าเงินเยนที่กำลังอ่อนค่า อย่างไรก็ตาม ความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจทั่วโลกและความขัดแย้งในหลายประเทศ อาจเป็นปัจจัยเสริมที่ช่วยให้นักลงทุนเริ่มเก็บสกุลเงินที่ปลอดภัยมากขึ้น
บริษัทต่างๆ หลายอุตสาหกรรมในญี่ปุ่นเพิ่มการลงทุนในด้านอาคารและอุปกรณ์มากขึ้น 6.8% เมื่อเทียบเป็นรายปีในไตรมาสแรกของปี 2024 เพิ่มขึ้นเป็นไตรมาสที่ 12 ติดต่อกัน แต่ชะลอตัวลงหลังจากที่เพิ่มขึ้น 16.4% ในไตรมาสที่ 4 ของปีก่อนหน้า โดยการเพิ่มทุนส่วนใหญ่ เป็นการลงทุนใน้ครื่องจักรสำหรับการผลิตอาหารและผลิตภัณฑ์โลหะ
PMI ภาคการผลิตของญี่ปุ่นปรับลดลงเหลือ 50.4 ในเดือนพฤษภาคม ชี้ไปที่การขยายตัวครั้งแรกในรอบปี เนื่องจากการเติบโตของสินค้าคงคลัง, ปริมาณคำสั่งซื้อและผลผลิตที่เพิ่มมากขึ้น แม้ว่าอุปสงค์จากต่างประเทศลดลง เนื่องจากอุปสงค์ที่อ่อนแอจากจีน, ยุโรปและเวียดนาม ด้านการจ้างงานยังคงเพิ่มขึ้นจากความต้องการด้านแรงงานเป็นจำนวนมาก
PMI ภาคการบริการปรับเพิ่มสูงขึ้นเป็น 53.8 ในเดือนพฤษภาคม ซึ่งถือเป็นการชะลอตัวลงมากที่สุด โดยคำสั่งซื้อใหม่เพิ่มขึ้นในอัตราการที่ชะลอตัว เนื่องจากอุปสงค์ภายในประเทศยังคงทรงตัว ทั้งนี้ ยอดขายจากต่างประเทศเพิ่มขึ้นมากที่สุดในรอบหลายปีเช่นเดียวกับการจ้างงานที่เพิ่มขึ้นด้วย
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลญี่ปุ่นอายุ 10 ปีลดลงต่ำกว่า 1% ตามอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลของสหรัฐที่ลดลง แสดงให้เห็นถึงสัญญาณเศรษฐกิจที่คาดว่าจะชะลอตัวลง นอกจากนี้ ตลาดแรงงานในสหรัฐฯ ที่ผ่อนคลายลง ได้เพิ่มความหวังในการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ ข้อมูลด้านแรงงานในญี่ปุ่น พบว่าค่าจ้างที่แท้จริงของญี่ปุ่นลดลงเป็นเดือนที่ 25 ติดต่อกัน เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นมากกว่าการเติบโตของค่าจ้าง ซึ่งอาจกดดันให้ธนาคารกลางญี่ปุ่นขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็วกว่าที่คาด
ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค (5H)
แนวต้านสำคัญ: 156.33, 156.69, 156.99
แนวรับสำคัญ: 155.66, 155.35, 154.99
ที่มา: Investing.com
Buy/Long 1: หากมีการแตะแนวรับที่ช่วงราคา 155.35 - 155.66 แต่ไม่สามารถเบรกแนวรับที่ 155.66 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 156.69 และ SL ที่ประมาณ 154.99 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Buy/Long 2: หากสามารถเบรกแนวต้านที่ช่วงราคา 156.33 - 156.69 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 156.99 และ SL ที่ประมาณ 155.35 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 1: หากมีการแตะแนวต้านที่ช่วงราคา 156.33 - 156.69 แต่ไม่สามารถเบรกแนวต้านที่ 156.33 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 155.35 และ SL ที่ประมาณ 156.99 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 2: หากสามารถเบรกแนวรับที่ช่วงราคา 155.35 - 155.66 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 154.99 และ SL ที่ประมาณ 156.69 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
จุดกลับตัว 6 มิถุนายน 2567 21:04 น. GMT+7
ชื่อ
|
S3
|
S2
|
S1
|
จุดกลับตัว
|
R1
|
R2
|
R3
|
Classic | 154.99 | 155.35 | 155.66 | 156.02 | 156.33 | 156.69 | 156.99 |
Fibonacci | 155.35 | 155.61 | 155.77 | 156.02 | 156.27 | 156.43 | 156.69 |
Camarilla | 155.79 | 155.85 | 155.91 | 156.02 | 156.03 | 156.09 | 156.15 |
Woodie's | 154.97 | 155.34 | 155.64 | 156.01 | 156.31 | 156.68 | 156.97 |
DeMark's | - | - | 155.84 | 156.11 | 156.51 | - | - |