GDP ไตรมาส 1 ญี่ปุ่นหดตัวน้อยลง ท่ามกลางปัญหาเงินเฟ้อและค่าจ้างที่ยังคงอยู่
เศรษฐกิจญี่ปุ่นหดตัวน้อยกว่าที่คาดการณ์ไว้เล็กน้อยในไตรมาสแรก โดยพบการใช้จ่ายด้านทุนลดลงน้อยกว่าที่คาดไว้ แม้ว่าการบริโภคภาคเอกชนที่อ่อนแอจะยังคงกดดัน โดยจากข้อมูลที่ปรับปรุงล่าสุดพบ GDP หดตัว 1.8% ต่อปี ซึ่งดีกว่าประมาณการเบื้องต้นที่ 2.0% และการคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่ 1.9% ขณะที่ค่าใช้จ่ายฝ่ายทุนลดลง 0.4% เมื่อเทียบเป็นรายไตรมาส ซึ่งดีขึ้นจากประมาณการเบื้องต้นที่คาดว่าจะลดลง 0.8%
ในเดือนพฤษภาคม อัตราเงินเฟ้อดัชนีราคาผู้บริโภคของโตเกียวเป็นไปตามความคาดหวัง โดยพบการใช้จ่ายเพิ่มขึ้นเล็กน้อย อย่างไรก็ตาม ตัวชี้วัดอัตราเงินเฟ้อที่สำคัญลดลงต่ำกว่าเป้าหมาย 2% ของธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่น (BOJ) เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2022 ทำให้เกิดความไม่แน่นอนเกี่ยวกับการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในอนาคต
ทางด้านค่าจ้างที่แท้จริงลดลง 0.7% ในเดือนเมษายน ซึ่งถือเป็นการลดลงรายเดือนติดต่อกันเป็นครั้งที่ 25 แม้ว่าอัตราการลดลงจะชะลอตัวลงจาก 2.1% ในเดือนมีนาคมก็ตาม โดยการลดลงนี้ได้รับแรงหนุนจากอัตราเงินเฟ้อของผู้บริโภคที่แซงหน้าการเพิ่มขึ้นของค่าจ้าง ซึ่งยังคงเป็นข้อกังวลสำหรับผู้กำหนดนโยบายที่มุ่งเป้าไปที่การเติบโตทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืน ขณะที่การใช้จ่ายภาคครัวเรือนในเดือนเมษายนเพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 14 เดือน แม้ว่าการเติบโตจะยังคงไม่สูงมากนักเนื่องจากผู้บริโภคใช้ความระมัดระวังของอย่างต่อเนื่องท่ามกลางดัชนีราคาที่สูง
ขณะเดียวกัน ภาคบริการของญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นอย่างแข็งแกร่งในเดือนพฤษภาคมแม้จะยังคงเผชิญกับแรงกดดันด้านเงินเฟ้อ โดยพบการเติบโตของธุรกิจใหม่ที่ได้รับแรงหนุนจากการท่องเที่ยวและเงินเยนที่อ่อนค่า ขณะที่กิจกรรมโรงงานขยายตัวเป็นครั้งแรกในรอบปี แม้ว่าการเติบโตจะอยู่ในระดับปานกลาง จากปัญหาด้านอุปสงค์และต้นทุนการผลิตที่สูงเนื่องจากการอ่อนค่าของเงินเยน โดยผู้ผลิตยังคงมองในแง่ดีเกี่ยวกับโอกาสในอนาคต แม้ว่าต้นทุนแรงงานและวัตถุดิบจะยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ทางด้านคณะที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรีฟูมิโอะ คิชิดะ แนะนำให้ระมัดระวังมากขึ้นเกี่ยวกับการอ่อนค่าของเงินเยน โดยเน้นย้ำถึงผลกระทบต่ออัตราเงินเฟ้อและต้นทุนครัวเรือน โดยร่างแผนปฏิบัติการของคณะที่ปรึกษาเน้นย้ำถึงความจำเป็นของแรงสนับสนุนจากรัฐบาลในการขยายธุรกิจเนื้อหาบันเทิงของญี่ปุ่น โดยสังเกตว่าการขายเนื้อหาดังกล่าวในต่างประเทศในปัจจุบันมีมูลค่ามากกว่าการส่งออกเหล็กของญี่ปุ่น
ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีฟูมิโอะ คิชิดะ ได้สั่งให้รัฐบาลร่างแผนเศรษฐกิจและการคลังระยะ 6 ปีที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อเปลี่ยนเศรษฐกิจญี่ปุ่นจากเศรษฐกิจที่เน้นการลดต้นทุน ไปสู่เศรษฐกิจที่ส่งเสริมผลิตภาพและการลงทุน โดยแผนนี้ ซึ่งมีกำหนดเริ่มในเดือนเมษายน 2025 ตั้งเป้าการเติบโตที่แท้จริงต่อปีมากกว่า 1% ท่ามกลางการรักษาสุขภาพทางการคลังเอาไว้ โดยแผนงานทางการคลังระยะยาวของรัฐบาลคาดว่าจะได้ข้อสรุปภายในวันที่ 21 มิถุนายนนี้
โดยแบบร่างแผนเศรษฐกิจดังกล่าวตั้งข้อสังเกตถึงการบริโภคที่ยังคงซบเซาและเน้นย้ำถึงความเสี่ยงภายนอก รวมถึงการใช้นโยบายทางการเงินแบบเข้มงวดทั่วโลกและการเติบโตที่ชะลอตัวในจีน ขณะที่กล่าวถึงกฎหมายที่กำลังร่างขึ้นเพื่อส่งเสริมการส่งผ่านต้นทุนในอุตสาหกรรมต่างๆ โดยมีเป้าหมายเพื่อเปลี่ยนญี่ปุ่นจากเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มภาวะเงินฝืดไปสู่เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยผลผลิต ราคาและค่าจ้างที่สูงขึ้น
ในขณะเดียวกัน ผู้ว่าการ BOJ คาซูโอะ อูเอดะ ได้เสนอแนะลดการซื้อพันธบัตรในวงกว้างของธนาคารกลาง หลังจากค่อยๆ ยุติมาตรการกระตุ้นทางการเงินครั้งใหญ่ และการยุติอัตราดอกเบี้ยติดลบ รวมถึงการควบคุมเส้นอัตราผลตอบแทนในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา โดยอูเอดะได้ส่งสัญญาณถึงความเป็นไปได้ในการซื้อพันธบัตรที่ลดลง ซึ่งอาจเริ่มเร็วที่สุดในการประชุมนโยบายครั้งถัดไป แม้ว่าปัจจุบัน BOJ จะมีงบดุลอยู่ที่ 4.8 ล้านล้านดอลลาร์ แต่อูเอดะยังคงไม่ได้ระบุกรอบเวลาที่เฉพาะเจาะจงในการลดการซื้อพันธบัตรที่อาจเกิดขึ้น ขณะที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าอาจมีการปรับลดการซื้อพันธบัตร 1 ล้านล้านเยนต่อเดือน
ทางด้านเงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้นในวันศุกร์ สูงที่สุดในรายสัปดาห์ หลังจากที่ข้อมูลแรงงานที่แข็งแกร่งเกินคาดส่งผลต่อการคาดการณ์เกี่ยวกับการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ ในเดือนกันยายน
ทั้งนี้ ข้อมูลการจ้างงานที่แข็งแกร่ง แม้ว่าตลาดแรงงานบางส่วนจะยังคงอ่อนตัวลง บ่งชี้ถึงการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง และอาจส่งผลให้เฟดชะลอการปรับลดอัตราดอกเบี้ย โดยการเพิ่มขึ้นของค่าจ้างที่สูงกว่าที่คาดอาจบ่งบอกถึงอัตราเงินเฟ้อที่ยังคงอยู่ ท่ามกลางการว่างงานที่เพิ่มขึ้นที่อาจช่วยบรรเทาความกังวล
โดยการอัปเดตข้อมูลตลาดแรงงานอื่นๆ ยังรวมไปถึงการเปิดรับตำแหน่งงานต่ำสุดในรอบสามปี หลังจากที่เศรษฐกิจสหรัฐฯ เพิ่มการจ้างงานมากกว่าที่คาดการณ์ไว้ในเดือนพฤษภาคม ท่ามกลางการเติบโตของค่าจ้างรายปีที่เพิ่มสูงขึ้นอีกครั้ง ตอกย้ำถึงความยืดหยุ่นของตลาดแรงงาน ขณะที่อัตราการว่างงานเพิ่มขึ้นเล็กน้อยมาอยู่ที่ 4.0% จาก 3.9% ในเดือนเมษายน ทำลายสถิติสูงสุดในรอบ 27 เดือนที่ต่ำกว่า 4%
อีกด้าน ในเดือนเมษายน การขาดดุลการค้าของสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 8.7% มาอยู่ที่ 74.6 พันล้านดอลลาร์ เนื่องจากการนำเข้าที่เพิ่มขึ้นแซงหน้าการส่งออกที่เพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย ขณะที่ประสิทธิภาพการทำงานของแรงงานในไตรมาสแรกเพิ่มขึ้นน้อยกว่าที่คาดการณ์ไว้ในตอนแรกเล็กน้อย และต้นทุนแรงงานต่อหน่วยเพิ่มขึ้นน้อยกว่าที่คาด
ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่เฟดได้ส่งสัญญาณไม่เร่งรีบในการปรับลดอัตราดอกเบี้ย เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อและแนวโน้มการเติบโตที่แข็งแกร่ง โดยแม้ว่าที่ผ่านมาอัตราเงินเฟ้อจะเย็นตัวลงเล็กน้อย แต่ยังคงไม่ถึงเป้าหมาย 2% ซึ่งตัวเลขเงินเฟ้อของเดือนพฤษภาคมที่มีกำหนดเผยแพร่ก่อนแถลงการณ์ของเฟดในวันพุธ อาจส่งผลให้การคาดการณ์การปรับลดอัตราดอกเบี้ยสูงขึ้น หากข้อมูลดังกล่าวบ่งบอกถึงแรงผ่อนคลายมากขึ้น
อย่างไรก็ดี ความน่าจะเป็นของการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในเดือนกันยายนได้ลดลงเหลือ 45% จาก 55% ท่ามกลางการคาดการณ์ว่าเฟดอาจคงอัตราดอกเบี้ยปัจจุบันในการประชุมนโยบายที่กำลังจะเกิดขึ้น โดยจุดสนใจของตลาดจะเปลี่ยนไปที่จำนวนการปรับลดอัตราดอกเบี้ยที่คาดการณ์ไว้ในช่วงที่เหลือของปี 2024 ซึ่งมีแนวโน้มที่มีการปรับลดอัตราดอกเบี้ย 25 จุดสองครั้ง ลดลงจากสามครั้งที่คาดการณ์ไว้ในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา จึงอาจส่งผลให้เงินเยนมีโอกาสกลับตัวและแข็งค่าขึ้นได้จากกรอบราคาปัจจุบัน หากท่าทีนโยบายทางการเงินและการคลังญี่ปุ่นเป็นไปในทิศทางที่เข้มงวดและผ่อนคลายตามลำดับ
ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค (30Min) CFD USD/JPY
แนวต้านสำคัญ : 157.18, 157.24, 157.32
แนวรับสำคัญ : 157.02, 156.96 , 156.88
30Min Outlook
ที่มา: TradingView
Buy/Long 1 หากมีการแตะแนวรับที่ช่วงราคา 156.92 – 157.02 แต่ไม่สามารถเบรกแนวรับที่ 157.02 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 157.23 และ SL ที่ประมาณ 156.87 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Buy/Long 2 หากสามารถเบรกแนวต้านที่ช่วงราคา 157.18 – 157.28 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 157.45 และ SL ที่ประมาณ 156.97 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 1 หากมีการแตะแนวต้านที่ช่วงราคา 157.18 – 157.28 แต่ไม่สามารถเบรกแนวต้านที่ 157.18 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 157.01 และ SL ที่ประมาณ 157.33 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 2 หากสามารถเบรกแนวรับที่ช่วงราคา 156.92 – 157.02 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 156.79 และ SL ที่ประมาณ 157.23 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Pivot Points Jun 10, 2024 10:33AM GMT+7
Name
|
S3
|
S2
|
S1
|
Pivot Points
|
R1
|
R2
|
R3
|
---|---|---|---|---|---|---|---|
Classic | 156.79 | 156.88 | 157.01 | 157.1 | 157.23 | 157.32 | 157.45 |
Fibonacci | 156.88 | 156.96 | 157.02 | 157.1 | 157.18 | 157.24 | 157.32 |
Camarilla | 157.06 | 157.08 | 157.1 | 157.1 | 157.15 | 157.17 | 157.19 |
Woodie's | 156.79 | 156.88 | 157.01 | 157.1 | 157.23 | 157.32 | 157.45 |
DeMark's | - | - | 157.05 | 157.12 | 157.27 | - | - |
ที่มา: Investing 1, Investing 2
อัพเกรดความรู้เพิ่มเติม: คลิ