ความเสี่ยงทางการเมืองส่งผลต่อเงินยูโร
ธนาคารกลางยุโรป (ECB) ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมาเป็นครั้งแรกในรอบ 5 ปี โดยปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 0.25 จุดเหลือ 3.75% ซึ่งการเคลื่อนไหวดังกล่าว ผู้กำหนดนโยบายตั้งเป้าหมายเพื่อจัดการกับอัตราเงินเฟ้อที่ลดลงในเขตยูโร แม้ว่าต้นทุนการกู้ยืมในอนาคตจะยังคงไม่แน่นอนเนื่องจากอัตราเงินเฟ้อที่ผันผวน
ทางด้านกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ประเมินการลดอัตราดอกเบี้ยของ ECB ว่ามีความ "เหมาะสม" แต่แนะนำให้รักษาแนวทางการปรับเปลี่ยนนโยบายโดยอ้างอิงจากข้อมูล ขณที่คริสติน ลาการ์ด ประธาน ECB เน้นย้ำว่าการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในอนาคตจะไม่มีความแน่นอน และอาจไม่เกิดขึ้นในการประชุมทุกครั้ง โดย ECB ตั้งใจที่จะคงอัตราดอกเบี้ยไว้จนกว่าอัตราเงินเฟ้อจะลดลงสู่เป้าหมายระยะกลางที่ 2% อย่างต่อเนื่อง โดยใช้กลยุทธ์การปรับเปลี่ยนนโยบายที่ขึ้นอยู่กับแต่ละการประชุม
ทั้งนี้ ความคิดเห็นล่าสุดจากเจ้าหน้าที่ ECB บ่งชี้ถึงแนวโน้มที่ระมัดระวัง โดยลาการ์ด และหัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ ฟิลิป เลนแนะนำว่าจำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญในการปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยเพิ่มเติม และแม้ว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจจะดีดตัวขึ้นในกลุ่มประเทศที่ใช้เงินยูโร 20 ประเทศ แต่คาดว่าการเติบโตจะยังคงอยู่ในระดับปานกลางจนถึงปี 2025
ทางด้านการคาดการณ์ทางเศรษฐกิจล่าสุดของ ECB ระบุว่าอัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มที่จะยังคงอยู่เหนือ 2% ในปีหน้า เนื่องจากการเติบโตของค่าจ้างที่สูง ขณะที่ธนาคารได้แก้ไขการคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อเป็น 2.2% ในปีหน้า และคาดว่าอัตราเงินเฟ้อจะลดลงต่ำกว่าเป้าหมายที่ 1.9% ภายในปี 2026 ซึ่งส่งสัญญาณถึงเส้นทางที่ท้าทายข้างหน้าในการบรรลุเป้าหมายเงินเฟ้อ
ทางด้านหลักทรัพย์แบงก์ออฟอเมริกา (BofA Securities) รายงานความเชื่อมั่นเชิงลบต่อเงินยูโรที่เพิ่มมากขึ้นภายหลังการเลือกตั้งรัฐสภายุโรปและความเสี่ยงทางการเมืองที่เพิ่มขึ้น โดยการเลือกตั้งรัฐสภายุโรปซึ่งได้ข้อสรุปเมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา พบการเปลี่ยนแปลงไปทางฝ่ายขวาอย่างมีนัยสำคัญในหลายประเทศ โดยเฉพาะในฝรั่งเศส
โดยข้อกังวลอันดับต้นๆ สำหรับผู้มีสิทธิเลือกตั้งในการเลือกตั้งของสหภาพยุโรป ได้แก่ เศรษฐกิจ การอพยพย้ายถิ่นฐาน และความขัดแย้งระหว่างประเทศ อย่างไรก็ตาม ความเชื่อมั่นของนักลงทุนในยูโรโซนยังคงเพิ่มขึ้นเป็นเดือนที่ 8 ในเดือนมิถุนายน แม้ว่าการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจะยังคงมีความท้าทาย
ทางด้านเยอรมนี ซึ่งเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในยูโรโซน เตือนถึงการเติบโตของค่าจ้างอย่างยั่งยืน ซึ่งอาจนำไปสู่ภาวะเงินเฟ้ออย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคบริการ และส่งผลให้ความพยายามของ ECB ในการลดอัตราดอกเบี้ยอย่างรวดเร็วมีความซับซ้อน
ขณะเดียวกัน คำสั่งซื้อภาคอุตสาหกรรมของเยอรมนีลดลงเป็นเดือนที่สี่ติดต่อกันในเดือนเมษายน ท่ามกลางการส่งออกเพิ่มขึ้นเป็นเดือนที่สอง
ทั้งนี้ การต่อสู้ทางเศรษฐกิจของเยอรมนี ซึ่งรวมไปถึงต้นทุนพลังงานที่สูง และคำสั่งซื้อผลผลิตทั่วโลกที่อ่อนแอ ส่งสัญญาณว่าเยอรมนีเป็นประเทศที่อ่อนแอที่สุดในบรรดาประเทศเศรษฐกิจยูโรโซนหลักๆ ในปีที่แล้ว อย่างไรก็ตาม รัฐมนตรีเศรษฐกิจเยอรมนี โรเบิร์ต ฮาเบค ยังคงมุมมองในแง่ดีและคาดว่าเศรษฐกิจจะเติบโตสูงถึง 1.5% ในปี 2025
นักเศรษฐศาสตร์คาดว่าจะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของ ECB อีกสองครั้งในปีนี้ ซึ่งมีแนวโน้มว่าจะเกิดขึ้นในเดือนกันยายนและธันวาคม โดยตลาดคาดการณ์การปรับลดอัตราลงอีก 35 จุดภายในสิ้นปี ซึ่งถือเป็นการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญจากการคาดการณ์ก่อนหน้านี้ที่คาดว่าจะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยมากกว่า 5 ครั้ง
ทางด้านเงินดอลลาร์แตะระดับสูงสุดในรอบสี่สัปดาห์ในวันอังคาร โดยได้แรงหนุนจากการคาดการณ์รายงานอัตราเงินเฟ้อของสหรัฐฯ ที่กำลังจะเกิดขึ้น ซึ่งอาจส่งผลต่อจังหวะเวลาของการปรับลดอัตราดอกเบี้ยครั้งแรกของธนาคารกลางสหรัฐฯ ขณะที่ในวันพุธ ค่าเงินดอลลาร์ยังคงทรงตัวเนื่องจากตลาดรอข้อมูลเงินเฟ้อที่สำคัญและการอัปเดตการคาดการณ์อัตราดอกเบี้ยจากเฟด
อีกด้าน ในเดือนพฤษภาคม ความเชื่อมั่นของธุรกิจขนาดเล็กในสหรัฐฯ และแผนการจ้างงานพุ่งแตะระดับสูงสุดของปี ท่ามกลางความไม่แน่นอนเกี่ยวกับการเลือกตั้งประธานาธิบดีที่กำลังจะมาถึง ที่พุ่งแตะระดับสูงสุดในรอบเกือบสี่ปี ส่งผลให้นักลงทุนปรับลดการคาดการณ์ ซึ่งปัจจุบันพบความน่าจะเป็นประมาณ 50-50 สำหรับการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในเดือนกันยายน
ทั้งนี้ นักลงทุนจะให้ความสนใจเป็นพิเศษเกี่ยวกับการคาดการณ์เศรษฐกิจจากเฟด ซึ่งรวมถึง GDP อัตราการว่างงาน PCE พื้นฐาน และอัตราดอกเบี้ยจนถึงปี 2026 ขณะที่กระทรวงแรงงานสหรัฐฯ มีกำหนดเปิดเผยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือนพฤษภาคมในวันพุธ ก่อนมติการประชุมนโยบายจากเฟด โดยจากข้อมูลของ Fed Interest Rate Monitor นักลงทุนส่วนใหญ่ (95.1%) คาดว่าอัตราดอกเบี้ยจะยังคงไม่เปลี่ยนแปลง
ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค (1D) CFD EUR/USD
แนวต้านสำคัญ : 1.0765, 1.0778, 1.0800
แนวรับสำคัญ : 1.0723, 1.0710, 1.0688
1D Outlook
ที่มา: TradingView
Buy/Long 1 หากมีการแตะแนวรับที่ช่วงราคา 1.0693 - 1.0723 แต่ไม่สามารถทะลุแนวรับที่ 1.0723 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 1.0769 และ SL ที่ประมาณ 1.0678 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Buy/Long 2 หากสามารถทะลุแนวต้านที่ช่วงราคา 1.0765 - 1.0795 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 1.0825 และ SL ที่ประมาณ 1.0708 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 1 หากมีการแตะแนวต้านที่ช่วงราคา 1.0765 - 1.0795 แต่ไม่สามารถทะลุแนวต้านที่ 1.0765 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 1.0713 และ SL ที่ประมาณ 1.0810 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 2 หากสามารถทะลุแนวรับที่ช่วงราคา 1.0693 - 1.0723 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 1.0658 และ SL ที่ประมาณ 1.0780 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Pivot Points Jun 12, 2024 10:26AM GMT+7
Name
|
S3
|
S2
|
S1
|
Pivot Points
|
R1
|
R2
|
R3
|
---|---|---|---|---|---|---|---|
Classic | 1.0658 | 1.0688 | 1.0713 | 1.0744 | 1.0769 | 1.08 | 1.0825 |
Fibonacci | 1.0688 | 1.071 | 1.0723 | 1.0744 | 1.0765 | 1.0778 | 1.08 |
Camarilla | 1.0724 | 1.0729 | 1.0734 | 1.0744 | 1.0744 | 1.0749 | 1.0754 |
Woodie's | 1.0656 | 1.0687 | 1.0711 | 1.0743 | 1.0767 | 1.0799 | 1.0823 |
DeMark's | - | - | 1.0701 | 1.0738 | 1.0757 | - | - |
ที่มา: Investing 1, Investing 2
อัพเกรดความรู้เพิ่มเติม: คลิ