บทวิเคราะห์ USD/INR 12 มิถุนายน 2567

Create at 5 months ago (Jun 12, 2024 20:39)

เศรษฐกิจอินเดียมีการเติบโตที่ชะลอตัวลง

เงินรูปีของอินเดียอ่อนค่าลงเกิน 83.55 รูปีต่อดอลลาร์สหรัฐ เนื่องจากข้อมูลแรงงานที่แข็งแกร่งในสหรัฐฯ ทำให้ค่าเงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้นต่อเนื่องและกดดันสกุลเงินหลักอื่นๆ ทั้งนี้ การชะลอการแทรกแซงสกุลเงินของ RBI ช่วยสนับสนุนความสามารถในการแข่งขันของสินค้าอินเดียในด้านการส่งออก ในขณะเดียวกัน นักลงทุนยังคงพิจารณาผลกระทบต่อตลาดทุนและอัตราแลกเปลี่ยนต่างๆ ผ่านการเลือกตั้งของอินเดียอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ ยังอาจคาดการณ์ข้อมูลเศรษฐกิจภายในประเทศแบบคร่าวๆ ได้


Manufacturing PMI ในอินเดียอยู่ที่ 57.5 ในเดือนพฤษภาคม ลดลงจาก 58.8 ในเดือนก่อนหน้า โดยตัวเลข PMI ที่ลดลงส่งสัญญาณว่าภาคการผลิตของประเทศมีอัตราการเติบโตที่ชะลอตัวลง แต่กิจกรรมของภาคการผลิตโดยรวมยังมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยคำสั่งซื้อและผลผลิตใหม่เพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยเท่านั้น นอกจากนี้ บริษัทต่างๆ ระบุว่าชั่วโมงการทำงานที่ลดลงเนื่องจากคลื่นความร้อนที่สูงขึ้นอาจส่งผลกระทบต่อปริมาณการผลิตในปัจจุบัน ในขณะเดียวกันที่คำสั่งซื้อสำหรับการส่งออกเพิ่มขึ้นสู่ระดับสูงสุดในรอบ 13 ปี โดยมีความต้องการตามภูมิศาสตร์ในวงกว้าง


Services PMI ลดลงมาอยู่ที่ 60.4 ในเดือนพฤษภาคม จาก 61.4 นับเป็นการขยายกิจกรรมการบริการเดือนที่ 34 ติดต่อกันแม้ว่าจะมีอัตราการเติบโตที่ช้าลงก็ตาม คำสั่งซื้อใหม่ยังคงเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เนื่องจากได้รับแรงหนุนจากสภาวะเศรษฐกิจและความต้องการด้านบริการที่เพิ่มขึ้น แม้ว่าตลาดภาคการบริการจะมีการแข่งขันที่รุนแรงมากขึ้นก็ตาม จากความต้องการที่แข็งแกร่งจากเอเชีย, แอฟริกา, ยุโรป, ตะวันออกกลางและสหรัฐอเมริกา ทั้งนี้ แรงกดดันด้านต้นทุนยังคงมีความรุนแรงมากขึ้น โดยมีราคาวัสดุและแรงงานเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง


ธนาคารกลางอินเดียได้คงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 6.5% ในการประชุมเดือนมิถุนายน ซึ่งตรงตามที่คาดไว้ของนักลงทุน แม้ว่าแรงกดดันอัตราเงินเฟ้อที่ยังคงทรงตัว โดยยังคงอยู่ในกรอบเป้าหมาย 2-6% แต่เศรษฐกิจภายในประเทศที่สามารถเติบโตได้ดี ทำให้ RBI ตัดสินใจคงอัตราดอกเบี้ยไว้เท่าเดิมในการประชุมครั้งล่าสุด Shaktikanta Das ผู้ว่าการ RBI กล่าวว่าความไม่แน่นอนด้านสภาพอากาศและเศรษฐกิจโลกจะยังคงส่งผลต่ออัตราเงินเฟ้อในประเทศ นอกจากนี้ ค่าเงินรูปีที่อ่อนค่าจะส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อกลับมาเพิ่มขึ้นได้อีกครั้ง โดยเฉพาะอัตราเงินเฟ้อด้านอาหารยังคงอยู่ในระดับสูง 


ทั้งนี้ RBI ได้ปรับการคาดการณ์แนวโน้มการเติบโตทางเศรษฐกิจสำหรับปี 2025  เป็น 7.2% โดยการเติบโตนี้จะได้รับแรงหนุนในไตรมาส 2 และ 3 ที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 7.2% และ 7.3% ตามลำดับ ในขณะที่คาดการณ์อัตราเงินเฟ้อไว้ที่ 4.5% เนื่องจากสภาพอากาศที่แย่นี้จะยังคงส่งผลกระทบต่อไปในระยะกลาง

ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค (5H)

แนวต้านสำคัญ: 83.536, 83.618, 83.658

แนวรับสำคัญ: 83.414, 83.374, 83.292

บทวิเคราะห์ USD/INR วันนี้ที่มา: Investing.com

Buy/Long 1: หากมีการแตะแนวรับที่ช่วงราคา 83.374 - 83.414 แต่ไม่สามารถเบรกแนวรับที่ 83.414 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 83.618 และ SL ที่ประมาณ 83.292 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้

Buy/Long 2: หากสามารถเบรกแนวต้านที่ช่วงราคา 83.536 - 83.618 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 83.658 และ SL ที่ประมาณ 83.374 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้

Sell/Short 1: หากมีการแตะแนวต้านที่ช่วงราคา 83.536 - 83.618 แต่ไม่สามารถเบรกแนวต้านที่ 83.536 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 83.374 และ SL ที่ประมาณ 83.658 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้

Sell/Short 2: หากสามารถเบรกแนวรับที่ช่วงราคา 83.374 - 83.414 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 83.292 และ SL ที่ประมาณ 83.618 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้

จุดกลับตัว 12 มิถุนายน 2567 20:35 น. GMT+7

ชื่อ
S3
S2
S1
จุดกลับตัว
R1
R2
R3
Classic 83.292 83.374 83.414 83.496 83.536 83.618 83.658
Fibonacci 83.374 83.421 83.449 83.496 83.543 83.571 83.618
Camarilla 83.422 83.433 83.445 83.496 83.467 83.478 83.489
Woodie's 83.272 83.364 83.394 83.486 83.516 83.608 83.638
DeMark's - - 83.395 83.486 83.517 - -
______________________________
อัพเกรดความรู้เพิ่มเติม: คลิกที่นี่
รู้เท่าทันสถานการณ์โลกและบทวิเคราะห์เทคนิคขั้นสูงคลิกที่นี่
Tags:

TECHNICAL ANALYSIS

ARTICLES