ออสเตรเลียยังคงถูกกดดันจากเงินเฟ้อที่ทรงตัว
เงินดอลลาร์ออสเตรเลียกลับมาทรงตัวอีกครั้ง โดยได้รับแรงสนับสนุนจากค่าเงินดอลลาร์ที่อ่อนค่าลงอย่างรวดเร็ว หลังจากการประกาศตัวเลขเงินเฟ้อของสหรัฐฯ ที่อ่อนตัวกว่าที่คาดในเดือนพฤษภาคม นอกจากนี้ธนาคารกลางสหรัฐยังส่งสัญญาณการปรับลดอัตราดอกเบี้ยอย่างน้อย 1 ครั้งในปีนี้ ซึ่งอาจเกิดขึ้นในช่วงปลายปี
ด้านอัตราดอกเบี้ยของออสเตรเลีย นักลงทุนคาดการณ์ว่าธนาคารกลางออสเตรเลียจะตัดสินใจให้คงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 4.35% ในการประชุมนโยบายสัปดาห์หน้า แต่มีแนวโน้มว่าธนาคารกลางจะไม่พิจารณาการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพิ่มเติมหากอัตราเงินเฟ้อกลับมาฟื้นตัวขึ้นเล็กน้อย มิเชล บุลล็อค ผู้ว่าการ RBA ตั้งข้อสังเกตว่าความเสี่ยงด้านอัตราดอกเบี้ยและอัตราเงินเฟ้อในปัจจุบันเริ่มมีความสมดุลมากขึ้น
PMI Composite ลดลงมาเหลือ 52.1 ในเดือนพฤษภาคม ลดลงจาก 53.0 ในเดือนเมษายน แสดงให้เห็นถึงการเติบโตของผลผลิตภาคเอกชนเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยเท่านั้น โดยจกรรมทางธุรกิจส่วนใหญ่ยังคงได้รับแรงหนุนจากการขยายตัวของกิจกรรมการบริการ ในขณะที่ผลผลิตภาคการผลิตยังคงหดตัวลงต่อเนื่อง อย่างไรก็ตามแนวโน้มคำสั่งซื้อใหม่สำหรับการส่งออกเพิ่มขึ้นทั้งในภาคการผลิตและภาคการบริการ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดการเติบโตในภาพรวม การขยายตัวของผลผลิตและธุรกิจเกิดใหม่ส่งผลให้มีการจ้างงานเพิ่มขึ้นในเดือนพฤษภาคม แต่ราคาวัตถุดิบที่เพิ่มขึ้นทำให้ต้นทุนด้านการผลิตสูงขึ้นด้วยเช่นเดียวกัน
ผลกำไรของบริษัทในออสเตรเลียลดลง 2.5% เมื่อเทียบเป็นรายไตรมาสในไตรมาสที่ 1 ซึ่งเป็นการกลับมาลดลงหลังจากการเติบโตที่ 7.1% ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2023 ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นที่แข็งแกร่งที่สุดในรอบปี เมื่อเทียบเป็นรายอุตสาหกรรมพบว่า ยอดค้าส่งและยอดค้าปลีกลดลงเล็กน้อย ในขณะที่การเงินและการประกันภัยกลับมาลดลงอย่างรวดเร็วที่ 7.4% หลังจากเพิ่มขึ้น 37.2% ในไตรมาสก่อนหน้า
ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจของออสเตรเลียลดลงเหลือ -3 ในเดือนพฤษภาคม ลดลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 6 เดือน แสดงให้เห็นถึงกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ลดลงในไตรมาสที่ 1 และอาจดำเนินต่อไปจนถึงไตรมาสที่ 2 เนื่องจากความเชื่อมั่นในภาคการผลิตและการขนส่งลดลงต่ำกว่าค่าเฉลี่ย โดยใช้ตัวชี้วัดจากยอดขายที่ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 4 ในปีก่อนหน้า ในขณะที่รายจ่ายด้านต้นทุนยังคงเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง เนื่องจากการเติบโตของค่าแรงและต้นทุนสินค้าที่ขยายตัวขึ้นอย่างรวดเร็ว
ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค (5H)
แนวต้านสำคัญ: 1.5068, 1.5085, 1.5108
แนวรับสำคัญ: 1.5029, 1.5005, 1.4989
ที่มา: Investing.com
Buy/Long 1: หากมีการแตะแนวรับที่ช่วงราคา 1.5005 - 1.5029 แต่ไม่สามารถเบรกแนวรับที่ 1.5029 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 1.5085 และ SL ที่ประมาณ 1.4989 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Buy/Long 2: หากสามารถเบรกแนวต้านที่ช่วงราคา 1.5068 - 1.5085 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 1.5108 และ SL ที่ประมาณ 1.5005 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 1: หากมีการแตะแนวต้านที่ช่วงราคา 1.5068- 1.5085 แต่ไม่สามารถเบรกแนวต้านที่ 1.5068 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 1.5005 และ SL ที่ประมาณ 1.5108 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 2: หากสามารถเบรกแนวรับที่ช่วงราคา 1.5005 - 1.5029 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 1.4989 และ SL ที่ประมาณ 1.5085 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
จุดกลับตัว 13 มิถุนายน 2567 19:03 น. GMT+7
ชื่อ
|
S3
|
S2
|
S1
|
จุดกลับตัว
|
R1
|
R2
|
R3
|
Classic | 1.4989 | 1.5005 | 1.5029 | 1.5045 | 1.5068 | 1.5085 | 1.5108 |
Fibonacci | 1.5005 | 1.5021 | 1.503 | 1.5045 | 1.506 | 1.5069 | 1.5085 |
Camarilla | 1.504 | 1.5044 | 1.5048 | 1.5045 | 1.5055 | 1.5058 | 1.5062 |
Woodie's | 1.4991 | 1.5006 | 1.5031 | 1.5046 | 1.507 | 1.5086 | 1.511 |
DeMark's | - | - | 1.5036 | 1.5049 | 1.5076 | - | - |