BoC ทบทวนนโยบายก่อนการแพร่ระบาด จากความกังวลเกี่ยวกับการเติบโตทางเศรษฐกิจและอัตราเงินเฟ้อ
สัปดาห์ที่แล้ว ธนาคารแห่งประเทศแคนาดา (BoC) ได้กลายเป็นธนาคารกลางในกลุ่ม G7 แห่งแรกที่ปรับลดอัตราดอกเบี้ย โดยปรับอัตราลดลง 25 จุดเหลือ 4.75% บ่งชี้ถึงการเปลี่ยนแปลงไปสู่การผ่อนคลายนโยบายการเงิน ซึ่งคาดว่าจะมีการปรับลดเพิ่มเติมอีกประมาณ 150 จุดในตลาดตราสารหนี้ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า
นอกจากนี้ BoC ยังได้พิจารณาที่จะนำนโยบายในช่วงการแพร่ระบาดมาใช้ ซึ่งรวมถึงการใช้มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ(QE) ที่จะมีเกณฑ์ที่เข้มงวดมากขึ้นเป็นครั้งแรก โดยทิฟ แม็กเล็ม ผู้ว่าการ BoC กล่าวว่าการลดอัตราดอกเบี้ยจะช้ากว่าการปรับขึ้นครั้งก่อนๆ โดยอัตราดอกเบี้ยคาดว่าจะสูงกว่าระดับก่อนการเกิดโรคระบาด ขณะที่เศรษฐกิจขยายตัวในอัตราต่อปีที่ 1.7% ในไตรมาสแรก ซึ่งต่ำกว่าที่คาดไว้ ส่งผลให้ตลาดคาดการณ์ว่าจะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอีกหลายครั้ง ท่ามกลางการตั้งข้อสังเกตของแม็กเล็มถึงเศรษฐกิจที่ผลิตมากกว่าความต้องการในปัจจุบัน ส่งผลให้ยังเหลือพื้นที่สำหรับการเติบโตแม้ว่าอัตราเงินเฟ้อจะเริ่มเย็นตัวลง อย่างไรก็ตาม ผู้ว่าการแม็กเล็มยังคงเน้นย้ำว่า นโยบายทางการเงินของ BoC ในแง่ของการปรับลดอัตราดอกเบี้ย อาจสามารถแตกต่างจากนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐฯ ในเพียงระดับหนึ่งเท่านั้น
ทั้งนี้ ในเดือนเมษายน แคนาดาพบการขาดดุลการค้าน้อยกว่าที่คาด โดยพบการส่งออก โดยเฉพาะพลังงานและทองคำ เติบโตเร็วกว่าการนำเข้า ขณะที่การเติบโตทางเศรษฐกิจคาดว่าจะกลับมาฟื้นตัวต่อได้ในเดือนเมษายน หลังจากที่หยุดชะงักในเดือนมีนาคม โดยคาดว่าจะได้รับแรงสนับสนุนจากการขุดเหมืองแร่และการขุดน้ำมันและก๊าซ
ทางด้านตลาดงานของแคนาดาพบสัญญาณที่หลากหลาย โดยอัตราการว่างงานเพิ่มขึ้นเป็น 6.2% ในเดือนพฤษภาคม ในขณะที่การเติบโตของค่าจ้างเร่งตัวขึ้นเป็น 5.2% สร้างความซับซ้อนให้กับการตัดสินใจของ BoC เกี่ยวกับการปรับลดอัตราดอกเบี้ยที่อาจเกิดขึ้น เนื่องจากการเติบโตของค่าจ้างที่สูงอาจเป็นอุปสรรคต่อการควบคุมเงินเฟ้อ และส่งผลต่อความคาดหวังของตลาดสำหรับการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในเดือนกรกฎาคมลดลงเล็กน้อยหลังจากการรายงานข้อมูลดังกล่าว โดย BoC มีกำหนดรายงานตัวเลขในภาคแรงงานอีกครั้งหนึ่ง ก่อนการตัดสินใจอัตราดอกเบี้ยครั้งต่อไปในวันที่ 24 กรกฎาคมนี้
อย่างไรก็ดี เศรษฐกิจของแคนาดายังคงมีความอ่อนไหวเป็นพิเศษต่อต้นทุนการกู้ยืม โดยพบอัตราส่วนหนี้สินต่อรายได้ของครัวเรือนที่สูง รวมถึงมีระยะเวลาในการจำนองที่สั้นกว่าเมื่อเทียบกับธนาคารในสหรัฐฯ ขณะที่ธนาคารรายใหญ่ของแคนาดาได้เพิ่มสำรองค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ ที่มากกว่าการคาดการณ์รายได้ที่คาดหวัง
ทางด้านหุ้นอสังหาริมทรัพย์และสาธารณูปโภคของแคนาดาคาดว่าจะได้รับประโยชน์จากการปรับลดอัตราดอกเบี้ยที่เกิดขึ้น ในขณะที่ความต้องการสินเชื่อที่เพิ่มขึ้นอาจช่วยหนุนหุ้นในกลุ่มธนาคาร ท่ามกลางยอดขายบ้านในพื้นที่ Greater Toronto ที่ลดลง โดยผู้ซื้อยังคงรอต้นทุนการกู้ยืมที่ลดลงมากขึ้น
อีกด้าน เมื่อวันพุธที่ผ่านมาธนาคารกลางสหรัฐฯ ได้คงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 5.25%-5.50% ซึ่งเป็นระดับที่คงไว้ตั้งแต่เดือนกรกฎาคมปีที่แล้ว ขณะที่เจ้าหน้าที่ของเฟดเลื่อนจังหวะการเริ่มต้นการลดอัตราดอกเบี้ยออกไป ซึ่งอาจถึงเดือนธันวาคม โดยคาดว่าจะมีการลดลงเพียง 0.25 จุดเท่านั้นสำหรับปีนี้ อย่างไรก็ตาม นักเศรษฐศาสตร์และนักลงทุนยังคงคาดหวังว่าจะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยสองครั้งที่เริ่มในเดือนกันยายน
โดยประธานเฟด เจอโรม พาวเวลล์ ตั้งข้อสังเกตว่าตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจในปัจจุบัน เช่น การเติบโตและการว่างงาน ได้เป็นตัวกำหนดในการคงอัตราดอกเบี้ยไว้เท่าเดิมจนกว่าจะมีสัญญาณที่ชัดเจนยิ่งขึ้น อย่างอัตราเงินเฟ้อที่ลดลง หรือการว่างงานที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ โดยพาวเวลล์เน้นย้ำว่าอัตราเงินเฟ้อที่ลดลง ไม่ได้ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อเศรษฐกิจ และชี้แจงว่าแนวโน้มดังกล่าวจะยังคงสามารถดำเนินต่อไปได้ ขณะที่เฟดตั้งเป้าหมายที่จะลดอัตราเงินเฟ้อลงอย่างค่อยเป็นค่อยไปไปสู่เป้าหมาย 2% ท่ามกลางดัชนีราคา PCE ที่ทรงตัว
ทั้งนี้ เงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้นแม้ว่าข้อมูลอัตราเงินเฟ้อราคาผู้ผลิต (PPI) ของสหรัฐฯ ในเดือนพฤษภาคมจะอ่อนตัวลง 0.2% เนื่องจากต้นทุนพลังงานที่ลดลง และหนุนแนวโน้มของแรงกดดันด้านเงินเฟ้อที่อ่อนตัว สอดคล้องกับข้อมูล CPI ที่ไม่เปลี่ยนแปลงในเดือนพฤษภาคม
ทางด้านข้อมูลอื่นๆ แสดงให้เห็นถึงจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานเพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 10 เดือน บ่งชี้ว่าตลาดแรงงานอาจกำลังเย็นลง และคงความเป็นไปได้ที่จะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในเดือนกันยายน โดยเจเน็ต เยลเลน รัฐมนตรีกระทรวงการคลังให้ความเห็นว่าตลาดงานกำลังเข้าสู่ความเสถียรภาพมากขึ้น คล้ายกับช่วงก่อนการเกิดโรคระบาด ที่พบการเติบโตของค่าจ้างอยู่ในระดับปานกลาง ซึ่งเธอเชื่อว่าไม่เป็นภัยคุกคามต่อภาวะเงินเฟ้อ อย่างไรก็ตาม เงินดอลลาร์มีแนวโน้มที่จะยังคงได้รับแรงหนุนอย่างต่อเนื่อง จากนโยบายของเฟดที่มีความผ่อนคลายน้อยกว่าเมื่อเทียบกับธนาคารกลางประเทศอื่นๆ
ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค (1D) CFD USD/CAD
แนวต้านสำคัญ : 1.3760, 1.3771, 1.3790
แนวรับสำคัญ : 1.3722, 1.3711, 1.3692
1D Outlook
ที่มา: TradingView
Buy/Long 1 หากมีการแตะแนวรับที่ช่วงราคา 1.3672 - 1.3722 แต่ไม่สามารถเบรกแนวรับที่ 1.3722 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 1.3767 และ SL ที่ประมาณ 1.3647 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Buy/Long 2 หากสามารถเบรกแนวต้านที่ช่วงราคา 1.3760 - 1.3810 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 1.3840 และ SL ที่ประมาณ 1.3697 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 1 หากมีการแตะแนวต้านที่ช่วงราคา 1.3760 - 1.3810 แต่ไม่สามารถเบรกแนวต้านที่ 1.3760 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 1.3718 และ SL ที่ประมาณ 1.3835 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 2 หากสามารถเบรกแนวรับที่ช่วงราคา 1.3672 - 1.3722 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 1.3651 และ SL ที่ประมาณ 1.3785 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Pivot Points Jun 14, 2024 10:23AM GMT+7
Name
|
S3
|
S2
|
S1
|
Pivot Points
|
R1
|
R2
|
R3
|
---|---|---|---|---|---|---|---|
Classic | 1.3669 | 1.3692 | 1.3718 | 1.3741 | 1.3767 | 1.379 | 1.3816 |
Fibonacci | 1.3692 | 1.3711 | 1.3722 | 1.3741 | 1.376 | 1.3771 | 1.379 |
Camarilla | 1.3731 | 1.3735 | 1.374 | 1.3741 | 1.3748 | 1.3753 | 1.3757 |
Woodie's | 1.3671 | 1.3693 | 1.372 | 1.3742 | 1.3769 | 1.3791 | 1.3818 |
DeMark's | - | - | 1.373 | 1.3747 | 1.3778 | - | - |
ที่มา: Investing 1, Investing 2
อัพเกรดความรู้เพิ่มเติม: คลิ