บทวิเคราะห์ USD/EUR 14 มิถุนายน 2567

Create at 2 months ago (Jun 14, 2024 21:27)

ธนาคารกลางยุโรปปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงเป็นครั้งแรกในการประชุมครั้งล่าสุด

ค่าเงินยูโรอ่อนค่าลงเล็กน้อย โดยได้รับแรงกดดันจากการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเป็นครั้งแรกในการประชุมครั้งล่าสุดและความไม่แน่นอนทางการเมืองในฝรั่งเศส เนื่องจาก ประธานาธิบดีฝรั่งเศสมาครงเรียกร้องให้มีการเลือกตั้งสภานิติบัญญัติ ซึ่งการตัดสินใจดังกล่าวทำให้เกิดความกังวลอย่างมากเกี่ยวกับเสถียรภาพทางการคลังและระดับหนี้ในประเทศ ส่งผลให้มีการเทขายพันธบัตรในฝรั่งเศสและอิตาลีอย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ การปรับเปลี่ยนนโยบายเมื่อต้นปีที่ผ่านมา เช่น การปรับเพิ่มอายุเกษียณ ทำให้เกิดความไม่พอใจในคนกลุ่มใหญ่และอาจส่งผลถึงเศรษฐกิจโดยรวม  

 

การผลิตภาคอุตสาหกรรมในเขตยูโรลดลง 0.1% เมื่อเทียบเป็นรายเดือนในเดือนเมษายน ยังคงชะลอตัวลงหลังจากการเติบโตที่ลดลง 0.5% ในเดือนก่อนหน้า โดยการผลิตที่ชะลอตัวลงส่วนใหญ่เป็นสินค้าขั้นกลาง ซึ่งเป็นสินค้าที่อาจต้องนำมาผลิตต่อเป็นสินค้าอื่น ลดลงอีก 0.4% ในขณะที่การผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคยังคงปรับตัวเพิ่มขึ้น 3.4% โดยได้รับแรงหนุนจากการผ่อนคลายนโยบายทางการเงินที่เกิดขึ้น


ECB ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 25 bps เป็นครั้งแรกหลังจากการคงอัตราดอกเบี้ยมาอย่างยาวนานในการประชุมเดือนมิถุนายน ซึ่งสอดคล้องกับการคาดการณ์ของตลาดซึ่งคาดว่าจะปรับอัตราดอกเบี้ยลง เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อได้ลดลงมาสู่ระดับที่น่าพึงพอใจแล้ว โดยอัตราเงินเฟ้อลดลงมากกว่า 2.5%  นับตั้งแต่เดือนกันยายน 2023 อย่างไรก็ตาม แรงกดดันด้านราคาสินค้าและบริการยังคงอยู่ในระดับสูง แสดงให้เห็นถึงโอกาสที่เงินเฟ้อจะกลับมาเพิ่มขึ้นอีกครั้งหากอุปสงค์ภายในประเทศมากเกินไป


อย่างไรก็ตาม ทางธนาคารกลางยุโรปมีเป้าหมายที่จะรักษาอัตราดอกเบี้ยนโยบายให้เข้มงวดเพียงพอ เพื่อให้กดดันเงินเฟ้อไม่เพิ่มขึ้นเร็วเกินไปและอยู่ในกรอบที่กำหนด โดยการคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ย 2.5% ในปี 2024, 2.2% ในปี 2025 และ 1.9% ในปี 2026 สำหรับอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานที่ไม่รวมพลังงานและอาหารที่ผันผวนเฉลี่ย 2.8% ในปี 2024, 2.2% ในปี 2025 และ 2.0% ในปี 2026 ในการเติบโตทางเศรษฐกิจคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 0.9% ในปี 2024


เขตยูโรมีการเกินดุลการค้า 15 พันล้านยูโรในเดือนเมษายน ต่ำกว่าการคาดการณ์ของตลาดที่ 2 หมื่นล้านยูโร เนื่องจากการนำเข้าเพิ่มขึ้น 1.8% เป็น 232.5 พันล้านยูโร โดยสินค้านำเข้าส่วนใหญ่ยังคงเป็นกลุ่ม เครื่องจักรและอุปกรณ์การผลิต ในขณะที่การส่งออกเพิ่มขึ้นน้อยกว่าการนำเข้าที่ 1.4% คิดเป็น 247.6 พันล้านยูโร โดยสาเหตุหลักมาจากการส่งออกผลิตภัณฑ์พลังงานลดลง ในขณะที่การส่งออกเคมีภัณฑ์, อาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นมากกว่า  15.1% จากอุปสงค์จากต่างประเทศที่ฟื้นตัว

ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค (5H)

แนวต้านสำคัญ: 0.9371, 0.9387, 0.9405

แนวรับสำคัญ: 0.9338, 0.9321, 0.9304

บทวิเคราะห์ USD/EUR วันนี้ที่มา: Investing.com

Buy/Long 1: หากมีการแตะแนวรับที่ช่วงราคา 0.9321 - 0.9338 แต่ไม่สามารถเบรกแนวรับที่ 0.9338 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.9387 และ SL ที่ประมาณ 0.9304 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้

Buy/Long 2: หากสามารถเบรกแนวต้านที่ช่วงราคา 0.9371 - 0.9387 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.9405 และ SL ที่ประมาณ 0.9321 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้

Sell/Short 1: หากมีการแตะแนวต้านที่ช่วงราคา 0.9371 - 0.9387 แต่ไม่สามารถเบรกแนวต้านที่ 0.9371 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.9321 และ SL ที่ประมาณ 0.9405 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้

Sell/Short 2: หากสามารถเบรกแนวรับที่ช่วงราคา 0.9321 - 0.9338 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.9304 และ SL ที่ประมาณ 0.9387 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้

จุดกลับตัว 14 มิถุนายน 2567 21:20 น. GMT+7

ชื่อ
S3
S2
S1
จุดกลับตัว
R1
R2
R3
Classic 0.9304 0.9321 0.9338 0.9354 0.9371 0.9387 0.9405
Fibonacci 0.9321 0.9333 0.9341 0.9354 0.9367 0.9375 0.9387
Camarilla 0.9345 0.9348 0.9351 0.9354 0.9357 0.936 0.9363
Woodie's 0.9304 0.9321 0.9338 0.9354 0.9371 0.9387 0.9405
DeMark's - - 0.9345 0.9358 0.9379 - -
______________________________
อัพเกรดความรู้เพิ่มเติม: คลิกที่นี่
รู้เท่าทันสถานการณ์โลกและบทวิเคราะห์เทคนิคขั้นสูงคลิกที่นี่
Tags:

TECHNICAL ANALYSIS

ARTICLES