การตัดสินใจอัตราดอกเบี้ย BoE ใกล้มาถึง สเตอร์ลิงทรงตัวท่ามกลางความกังวลก่อนการเลือกตั้งและเงินเฟ้อ
เงินสเตอร์ลิงยังคงทรงตัวเนื่องจากนักลงทุนรอข้อมูลเงินเฟ้อในวันพุธ และการตัดสินใจอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) ในวันพฤหัสบดี ขณะที่ความหวังของนายกรัฐมนตรี ริชี ซูแน็ก ในการปรับลดอัตราดอกเบี้ยก่อนการเลือกตั้งมีแนวโน้มที่จะผิดคาด เนื่องจาก BoE อาจส่งสัญญาณในการปรับลดต้นทุนการกู้ยืมในวาระของรัฐบาลชุดต่อไป
ทั้งนี้ BoE กำลังเคลื่อนตัวไปสู่การปรับลดอัตราดอกเบี้ยครั้งแรกนับตั้งแต่การแพร่ระบาดของโควิด-19 หนุนซูแน็กในการสร้างความมั่นใจให้กับผู้มีสิทธิเลือกตั้งถึงการบรรเทาทุกข์จากวิกฤตค่าครองชีพที่ใกล้เข้ามา อย่างไรก็ตาม อัตราเงินเฟ้อที่สูงคาดว่าจะขัดขวางการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในการประชุมวันที่ 20 มิ.ย. นี้ ซึ่งจะเป็นการประชุมครั้งสุดท้ายก่อนการเลือกตั้ง โดยผลสำรวจของรอยเตอร์ระบุว่า นักเศรษฐศาสตร์ 63 คนจาก 65 คนคาดว่าจะไม่มีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยไปจนกว่าจะถึงวันที่ 1 สิงหาคม
โดยสหราชอาณาจักรที่เข้าใกล้การเลือกตั้ง ต้องเผชิญกับสภาพแวดล้อมทางการคลังที่ท้าทาย ขณะที่ทั้งสองพรรคมุ่งมั่นที่จะลดอัตราหนี้ต่อผลผลิตในช่วงห้าปี สร้างความจำเป็นในการใข้มาตรการรัดเข็มขัดทางการคลัง โดยในบันทึกลงวันที่ 10 มิถุนายนจากนักวิเคราะห์ของ Goldman Sachs ให้ความเห็นว่าแม้สหราชอาณาจักรจะมีประวัติลดการใช้จ่ายทางการคลังที่แข็งแกร่ง แต่ก็อาจล่าช้ากว่าที่วางแผนไว้ เนื่องจากภาระภาษีที่สูงและแรงกดดันด้านงบประมาณด้านสุขภาพ โดยถึงแม้ว่าจะบรรลุผลสำเร็จตามแผน แต่ผลกระทบจากภายนอกก็อาจเป็นอุปสรรคต่อความยั่งยืนของอัตราส่วนหนี้สินต่อ GDP
นอกจากนี้ การเติบโตทางเศรษฐกิจในสหราชอาณาจักรหยุดชะงักในเดือนเมษายนเนื่องจากสภาพอากาศชื้น หลังจากเริ่มต้นอย่างแข็งแกร่งเมื่อต้นปี 2024 สำนักงานสถิติแห่งชาติรายงานว่า GDP ทรงตัวในเดือนเมษายน ซึ่งสอดคล้องกับการคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ หลังจากเพิ่มขึ้น 0.4% ในเดือนมีนาคม โดยความซบเซาดังกล่าวเป็นไปตามข้อมูลตลาดแรงงานที่แสดงถึงการจ้างงานที่ลดลง การว่างงานที่เพิ่มขึ้น และการเติบโตของค่าจ้างที่แข็งแกร่ง ซึ่งการเติบโตทางเศรษฐกิจเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมาได้รับแรงผลักดันจากภาคบริการเพียงอย่างเดียว โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากภาคธุรกิจที่เกี่ยวกับข้อมูล เทคโนโลยี และการบริการมืออาชีพ ในขณะที่ผลผลิตจากภาคการผลิตและการก่อสร้างลดลงมากกว่าที่คาดการณ์ไว้
ทางด้านการเติบโตของค่าจ้างในสหราชอาณาจักรขยับสูงขึ้นในช่วงสามเดือนถึงเดือนพฤษภาคม และส่งผลให้เกิดแรงกดดันด้านเงินเฟ้อ ขณะที่ผู้กำหนดนโยบายของธนาคารแห่งอังกฤษส่วนใหญ่ต้องการให้การเติบโตของค่าจ้างลดลงเหลือ 3-4% จากปัจจุบันที่ 6% ก่อนที่จะพิจารณาการปรับลดอัตราดอกเบี้ย โดยจากการสำรวจของ BoE ในเดือนเมษายนคาดการณ์ว่าการเติบโตของค่าจ้างจะเพิ่มขึ้น 4.6% ในปีหน้า
ทางด้านตลาดที่อยู่อาศัยสูญเสียโมเมนตัมเนื่องจากความคาดหวังเกี่ยวกับการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของ BoE ที่ใกล้จะเกิดขึ้นลดลง นำไปสู่การลดลงของอุปสงค์และราคาบ้าน ท่ามกลางราคาซื้อโดยเฉลี่ยที่ยังคงทรงตัว ขณะที่ความสามารถในการใช้จ่ายยังคงเป็นปัญหาทางการเมืองที่สำคัญ โดยราคาบ้านได้เพิ่มขึ้นถึงประมาณ 20% นับตั้งแต่การเลือกตั้งครั้งล่าสุดในเดือนธันวาคม 2019
ขณะเดียวกัน อัตราเงินเฟ้อร้านของชำในสหราชอาณาจักรลดลงเป็นเดือนที่ 16 ติดต่อกันในเดือนมิถุนายน ซึ่งช่วยเพิ่มแรงหนุนให้กับนายกรัฐมนตรี ริชี ซูแน็ก เล็กน้อยก่อนการเลือกตั้งที่กำลังจะมาถึง โดยข้อมูลอย่างเป็นทางการตั้งแต่วันที่ 22 พฤษภาคม ระบุว่าอัตราเงินเฟ้อราคาผู้บริโภคโดยรวมจนถึงเดือนเมษายน ลดลงเหลือ 2.3% เมื่อเทียบกับปีก่อน ขณะที่ข้อมูลอัตราเงินเฟ้อเดือนพฤษภาคมมีกำหนดรายงานในวันพุธนี้ ตามมาด้วยการประกาศนโยบายของธนาคารกลางอังกฤษในวันพฤหัสบดี
ทางด้านเงินดอลลาร์สหรัฐฯ เผชิญกับการปรับตัวลดลงในวันพุธ หลังจากข้อมูลยอดค้าปลีกของสหรัฐฯ ที่อ่อนแอ บ่งชี้ถึงกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ซบเซาในไตรมาสที่สอง และหนุนความคาดหวังในการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ
โดยการเติบโตของยอดค้าปลีกสหรัฐฯ ในเดือนพฤษภาคมต่ำกว่าที่คาด จากราคาน้ำมันเบนซินและราคารถยนต์ที่ลดลง ขณะที่ยอดค้าปลีกที่เพิ่มขึ้นเล็กน้อยชี้ให้เห็นถึงการใช้จ่ายของผู้บริโภคที่อยู่ภายใต้ความตึงเครียดแม้ว่าอัตราเงินเฟ้อจะเริ่มผ่อนคลายลง โดยราคาและอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นได้ส่งผลให้ผู้บริโภคให้ความสำคัญกับสินค้าจำเป็น และลดการใช้จ่ายในสินค้าฟุ่มเฟือย ซึ่งนักวิเคราะห์เชื่อว่าจะสนับสนุนความเป็นไปได้ที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยในช่วงต้นเดือนกันยายน แม้ว่าบางคนคาดว่าจะล่าช้าไปจนถึงเดือนธันวาคม
อีกด้าน ในเดือนพฤษภาคม การผลิตของโรงงานในสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นเกินคาด โดยฟื้นตัวจากการลดลงในช่วงสองเดือนที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม การเติบโตดังกล่าวคาดว่าจะเกิดขึ้นแค่ช่วงเวลาสั้นๆ เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยที่สูงและความต้องการสินค้าที่ลดลง โดยภาคการผลิต ซึ่งคิดเป็น 10.4% ของเศรษฐกิจสหรัฐฯ กำลังเผชิญกับความท้าทายจากต้นทุนการกู้ยืมที่เพิ่มขึ้น ขณะที่จากการสำรวจของสถาบันเพื่อการจัดการอุปทานเมื่อเร็วๆ นี้ บริษัทต่างๆ ยังคงลังเลที่จะลงทุนเนื่องจากนโยบายการเงินในปัจจุบันและเงื่อนไขอื่นๆ ซึ่งส่งผลต่อคำสั่งซื้อจากซัพพลายเออร์ การสร้างสินค้าคงคลัง และรายจ่ายฝ่ายทุน
ขณะเดียวกัน ตามรายงานของสำนักงานงบประมาณรัฐสภา (CBO) การขาดดุลงบประมาณของสหรัฐฯ คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 1.915 ล้านล้านดอลลาร์ในปีงบประมาณ 2024 เพิ่มขึ้นจาก 1.695 ล้านล้านดอลลาร์ในปีที่แล้ว ซึ่งจะส่งผลให้เป็นการขาดดุลที่สูงที่สุดหากไม่รวมช่วงเวลาโควิด-19 โดยการใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น ซึ่งรวมถึง 1.6 ล้านล้านดอลลาร์ มาจากการแก้ไขข้อกฎหมายล่าสุดและการจัดหาเงินทุนสำหรับยูเครน อิสราเอล และภูมิภาคอินโดแปซิฟิก แม้ว่าแนวโน้มเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งขึ้นจะช่วยลดการขาดดุลในระยะยาวได้ 600 พันล้านดอลลาร์ แต่ก็อาจถูกบดบังด้วยการเพิ่มขึ้น 1.1 ล้านล้านดอลลาร์ จากการปรับปรุงดอกเบี้ยหนี้และค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ ซึ่ง CBO คาดว่าต้นทุนดอกเบี้ยสุทธิจะสูงถึง 1.7 ล้านล้านดอลลาร์ภายในปี 2034
นอกจากนี้ CBO ยังคาดการณ์ว่าอัตราการว่างงานจะลดลงที่ 3.9% ในปี 2024 ลดลงจากประมาณการครั้งก่อนที่ 4.2% และคาดว่าจะไม่มีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในปีนี้ ขณะที่ปัจจัยสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจคือจำนวนผู้อพยพที่เพิ่มขึ้น ซึ่งคาดว่าจะเพิ่มจำนวนผู้อยู่อาศัยในสหรัฐฯ 8.7 ล้านคนในช่วงปี 2021 ถึง 2026 ซึ่งอาจช่วยเพิ่ม GDP ถึง 8.9 ล้านล้านดอลลาร์หรือ 2.4% ในทศวรรษถัดไป
ทั้งนี้ แพทริค ฮาร์เกอร์ ประธานเฟดของฟิลาเดลเฟีย ชี้ว่าอาจมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเพียงครั้งเดียวในปีนี้ แต่ยังคงเปิดกว้างต่อการเปลี่ยนแปลงที่อาจเกิดขึ้นตามข้อมูลใหม่ ขณะที่เจ้าหน้าที่เฟดรายอื่นๆ รวมถึงซูซาน คอลลินส์ จากบอสตัน เฟดและโทมัส บาร์กิน จากริชมอนด์ เฟดมีกำหนดขึ้นพูดในสัปดาห์นี้ จึงอาจส่งผลให้คู่สกุล GBP/USD มีการซื้อขายขึ้นลงในกรอบปัจจุบันได้อย่างต่อเนื่องในช่วงนี้ โดยอาจพบความผันผวนที่มากขึ้นได้ในช่วงก่อนและหลังการเลือกตั้งของสหราชอาณาจักร
ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค (1H) CFD GBP/USD
แนวต้านสำคัญ : 1.2713, 1.2714, 1.2716
แนวรับสำคัญ : 1.2709, 1.2708, 1.2706
1H Outlook
ที่มา: TradingView
Buy/Long 1 หากมีการแตะแนวรับที่ช่วงราคา 1.2704 - 1.2709 แต่ไม่สามารถเบรกแนวรับที่ 1.2709 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 1.2713 และ SL ที่ประมาณ 1.2701 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Buy/Long 2 หากสามารถเบรกแนวต้านที่ช่วงราคา 1.2713 - 1.2718 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 1.2721 และ SL ที่ประมาณ 1.2706 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 1 หากมีการแตะแนวต้านที่ช่วงราคา 1.2713 - 1.2718 แต่ไม่สามารถเบรกแนวต้าน 1.2708 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 1.2713 และ SL ที่ประมาณ 1.2721 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 2 หากสามารถเบรกแนวรับที่ช่วงราคา 1.2704 - 1.2709 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 1.2700 และ SL ที่ประมาณ 1.2716 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Pivot Points Jun 19, 2024 10:16AM GMT+7
Name
|
S3
|
S2
|
S1
|
Pivot Points
|
R1
|
R2
|
R3
|
---|---|---|---|---|---|---|---|
Classic | 1.2703 | 1.2706 | 1.2708 | 1.2711 | 1.2713 | 1.2716 | 1.2718 |
Fibonacci | 1.2706 | 1.2708 | 1.2709 | 1.2711 | 1.2713 | 1.2714 | 1.2716 |
Camarilla | 1.271 | 1.271 | 1.2711 | 1.2711 | 1.2711 | 1.2712 | 1.2712 |
Woodie's | 1.2703 | 1.2706 | 1.2708 | 1.2711 | 1.2713 | 1.2716 | 1.2718 |
DeMark's | - | - | 1.2708 | 1.2711 | 1.2712 | - | - |
ที่มา: Investing 1, Investing 2
อัพเกรดความรู้เพิ่มเติม: คลิ