บทวิเคราะห์ EUR/USD วันที่ 24 มิถุนายน 2567

Create at 4 months ago (Jun 24, 2024 10:31)

ยูโรเผชิญแรงกดดันอย่างต่อเนื่องท่ามกลางข้อมูลเศรษฐกิจที่อ่อนแอและการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของ ECB

เงินยูโรยังคงทรงตัวหลังจากการสำรวจเบื้องต้นในเดือนมิถุนายน บ่งชี้ถึงภาคบริการของฝรั่งเศสที่หดตัวและการชะลอตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจของเยอรมนี โดยการเติบโตของธุรกิจในยูโรโซนชะลอตัวลงอย่างมากเนื่องจากอุปสงค์ที่ลดลง และนับเป็นการลดลงครั้งแรกตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ท่ามกลางอุตสาหกรรมบริการที่อ่อนแอและภาคการผลิตที่ย่ำแย่มากยิ่งขึ้น

ทางด้านความเชื่อมั่นผู้บริโภคยูโรโซนเพิ่มขึ้น 0.3 จุดในเดือนมิถุนายน เมื่อเทียบกับเดือนพฤษภาคม คลาส น็อต ผู้กำหนดนโยบายของ ECB ยืนยันการคาดการณ์ของตลาดเกี่ยวกับการลดอัตราดอกเบี้ยเพิ่มเติมหนึ่งหรือสองครั้งในปีนี้ เนื่องจากแนวโน้มอัตราเงินเฟ้อที่ค่อยๆ เคลื่อนสู่เป้าหมาย 2% ของ ECB โดยแม้ว่า ECB จะเริ่มพลิกกลับการขึ้นอัตราดอกเบี้ยแบบเชิงรุก แต่ยังคงมีความยืดหยุ่นในการดำเนินนโยบายในอนาคต โดยพิจารณาจากข้อมูลอัตราเงินเฟ้อและค่าจ้างที่แข็งแกร่งเกินคาดล่าสุด ขณะที่น็อตเน้นย้ำว่าอัตราเงินเฟ้อคาดว่าจะถึงเป้าหมายของ ECB ในปีหน้า ท่ามกลางความท้าทายที่อาจเกิดขึ้น และตั้งข้อสังเกตว่าอัตราเงินเฟ้อภาคบริการยังคงอยู่ในระดับสูง

ทั้งนี้ คณะกรรมาธิการยุโรปได้แนะนำให้ลงโทษทางวินัยในฝรั่งเศสและประเทศอื่นๆ อีก 6 ประเทศสำหรับการขาดดุลงบประมาณที่เกินข้อจำกัดของสหภาพยุโรป ซึ่งคาดว่าจะทำให้แผนการใช้จ่ายเพิ่มเติมมีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น และอาจส่งผลกระทบต่อคำมั่นสัญญาของพรรค National Rally (RN) ที่จะเพิ่มรายจ่ายสาธารณะและปรับลดอายุบำนาญ

จากการสำรวจผู้นำธุรกิจกว่า 500 รายของ EY เน้นย้ำถึงความจำเป็นที่ยุโรปต้องปรับปรุงเสถียรภาพทางการเมือง ลดระบบราชการ และจัดการความผันผวนของราคาพลังงานเพื่อดึงดูดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) มากขึ้น ขณะที่ความเสี่ยงที่สูงเป็นอันดับสองสำหรับยุโรปคือความไม่มั่นคงทางการเมือง โดยพบภาระด้านกฎระเบียบเป็นข้อกังวลสูงสุด ขณะเดียวกัน การต่อสู้ทางเศรษฐกิจจากราคาที่สูง และผลกระทบจากสงครามของรัสเซียในยูเครนได้กระตุ้นให้เกิดประชานิยม และเอื้อประโยชน์ต่อกลุ่มขวาจัดในการเลือกตั้ง กระตุ้นให้ประธานาธิบดีมาครงของฝรั่งเศส เรียกร้องให้มีการเลือกตั้งระดับชาติอย่างรวดเร็ว โดยจากผลสำรวจพบว่า RN ยังคงขึ้นนำก่อนการลงคะแนนเสียงของฝรั่งเศส 2 รอบซึ่งจะสิ้นสุดในวันที่ 7 กรกฎาคม

อีกด้าน โรเบิร์ต ฮาเบค รัฐมนตรีกระทรวงเศรษฐกิจของเยอรมนีเน้นย้ำในระหว่างที่เยือนจีน ว่าข้อเสนอภาษีศุลกากรของสหภาพยุโรปสำหรับสินค้าจีนไม่ได้ถือเป็น "การลงโทษ" โดยการเดินทางครั้งนี้ถือเป็นครั้งแรกของเจ้าหน้าที่อาวุโสของยุโรป หลังจากที่สหภาพยุโรปเสนอการเรียกเก็บภาษีศุลกากรในรถยนต์ไฟฟ้า (EV) ที่ผลิตในจีน เพื่อจัดการกับการนโยบายการอุดหนุนที่มากเกินไป ซึ่งจีนเตือนว่าปัญหานี้อาจนำไปสู่สงครามการค้าได้

อย่างไรก็ดี แม้ว่าธนาคารกลางยุโรป (ECB) จะดำเนินการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา และคาดการณ์ว่าจะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยอีกสองครั้งในปีนี้ แต่กิจกรรมทางธุรกิจในเยอรมนียังคงชะลอตัว โดยความท้าทายในภาคการผลิตได้ส่งผลกระทบต่อภาคบริการที่ยังคงแข็งแกร่ง

ทางด้านรายรับภาษีของเยอรมนีเพิ่มขึ้น 2.6% ในเดือนพฤษภาคมจากค่าจ้างและภาษีหัก ณ ที่จ่าย แม้ว่ารายได้จากการขายและภาษีนิติบุคคลจะลดลง ขณะที่ใบอนุญาตการก่อสร้างในเยอรมนีลดลง 17% ในเดือนเมษายน บ่งชี้ถึงการชะลอตัวของภาคอสังหาริมทรัพย์ และราคาขายส่งของเยอรมนีลดลง 0.7% ในเดือนพฤษภาคม ท่ามกลางอัตราผลตอบแทนพันธบัตรเยอรมันที่ลดลง ในขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรฝรั่งเศสยังคงทรงตัว ส่งผลให้ผลตอบแทนชดเชยความเสี่ยง (Risk premium) กว้างขึ้น

ขณะเดียวกัน ธนาคารแห่งชาติสวิส (SNB) ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเป็นครั้งที่สองติดต่อกัน โดยลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 25 จุดเหลือ 1.25% ซึ่งความเคลื่อนไหวดังกล่าวได้รับแรงหนุนจากการผ่อนคลายแรงกดดันด้านเงินเฟ้อ โดยฟรังก์สวิสอ่อนค่าลง และหุ้นได้ปรับตัวเพิ่มขึ้นหลังประกาศดังกล่าว ซึ่งแม้ว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจจะฟื้นตัวในช่วงที่ผ่านมาและอัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเป็น 1.4% ในเดือนเมษายน แต่ประธาน SNB ก็ตั้งข้อสังเกตว่าแรงกดดันด้านเงินเฟ้อพื้นฐานได้ผ่อนคลายลงแล้ว

ทั้งนี้ นักลงทุนคาดว่าจะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของ ECB อีกครั้งในปีนี้ โดยพบโอกาส 64% ที่จะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยครั้งที่สองภายในสิ้นปี ลดลงจาก 80% ก่อนการประชุมในเดือนมิถุนายน ท่ามกลางข้อมูลเงินเฟ้อที่มีกำหนดเผยแพร่จากฝรั่งเศส อิตาลี และสเปนที่จะมีอิทธิพลต่อการคาดการณ์สำหรับการดำเนินนโยบายของ ECB ต่อไป

เมื่อวันศุกร์ ค่าเงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก โดยได้รับการสนับสนุนจากข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่แข็งแกร่ง และทิศทางการลดอัตราดอกเบี้ยอย่างระมัดระวังของธนาคารกลางสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับธนาคารกลางอื่นๆ ที่ใช้นโยบายแบบผ่อนคลายมากขึ้น ขณะที่กิจกรรมทางธุรกิจของสหรัฐฯ พุ่งแตะระดับสูงสุดในรอบ 26 เดือนในเดือนมิถุนายน ท่ามกลางการจ้างงานที่ดีขึ้น และแรงกดดันด้านราคาที่ลดลงอย่างมาก บ่งชี้ถึงอัตราเงินเฟ้อที่ชะลอตัวอย่างต่อเนื่อง

อย่างไรก็ตาม ยอดขายบ้านในสหรัฐฯ ลดลงเป็นเดือนที่สามติดต่อกันในเดือนพฤษภาคม เนื่องจากราคาที่สูงเป็นประวัติการณ์และอัตราการจำนองที่เพิ่มขึ้นได้ขัดขวางผู้ซื้อที่มีศักยภาพ ในแง่ดี จำนวนที่อยู่อาศัยคงเหลือได้พุ่งถึงระดับสูงสุดในรอบเกือบสองปี ซึ่งหากทรงตัวอย่างต่อเนื่อง อาจส่งผลให้ราคามีเสถียรภาพและปรับปรุงความสามารถในการใช้จ่ายได้ อย่างไรก็ตาม ตลาดที่อยู่อาศัยยังคงมีสัญญาณอ่อนแอ จากการลดลงของโครงการสร้างที่อยู่อาศัยและใบอนุญาตก่อสร้างอาคารที่บ่งชี้ว่าอัตราการจำนองที่เพิ่มขึ้นยังคงบั่นทอนโมเมนตัมการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง

ทั้งนี้ นักลงทุนจะติดตามมาตรวัดอัตราเงินเฟ้อของสหรัฐฯ ดัชนีราคารายจ่ายการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) อย่างใกล้ชิด เพื่อสังเกตทิศทางของอัตราเงินเฟ้อที่ชะลอตัว โดยการอ่านค่า PCE ก่อนหน้านี้ไม่สอดคล้องกับการคาดการณ์ ซึ่งหากเกิดผลลัพธ์ที่คล้ายกันอาจท้าทายความคาดหวังของการปรับลดอัตราดอกเบี้ยที่ใกล้จะเกิดขึ้น โดยปฏิทินเศรษฐกิจประจำสัปดาห์ยังประกอบด้วยข้อมูลความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนมิถุนายน ข้อมูลยอดขายบ้านใหม่และมือสองเดือนพฤษภาคม ประมาณการการเติบโตทางเศรษฐกิจไตรมาสแรกครั้งที่สาม และข้อมูลเกี่ยวกับคำสั่งซื้อสินค้าคงทนประจำเดือนพฤษภาคม จึงคาดว่าจะส่งผลให้เงินยูโรมีแนวโน้มถูกกดดันอยู่อย่างต่อเนื่องได้ในระยะนี้

ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค (1H) CFD EUR/USD

แนวต้านสำคัญ : 1.0692, 1.0694, 1.0696

แนวรับสำคัญ :  1.0688, 1.0686, 1.0684        

1H Outlook

วิเคราะห์ EUR/USD ที่มา: TradingView

Buy/Long 1 หากมีการแตะแนวรับที่ช่วงราคา 1.0683 - 1.0688 แต่ไม่สามารถทะลุแนวรับที่ 1.0688 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 1.0692 และ SL ที่ประมาณ 1.0681 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้

Buy/Long 2 หากสามารถทะลุแนวต้านที่ช่วงราคา 1.0692 - 1.0697 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 1.0707 และ SL ที่ประมาณ 1.0686 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้                 

Sell/Short 1 หากมีการแตะแนวต้านที่ช่วงราคา 1.0692 - 1.0697 แต่ไม่สามารถทะลุแนวต้านที่ 1.0692 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 1.0686 และ SL ที่ประมาณ 1.0699 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้

Sell/Short 2 หากสามารถทะลุแนวรับที่ช่วงราคา 1.0683 - 1.0688 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 1.0671 และ SL ที่ประมาณ 1.0694 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้

Pivot Points Jun 24, 2024 10:16AM GMT+7

Name
S3
S2
S1
Pivot Points
R1
R2
R3
Classic 1.068 1.0684 1.0686 1.069 1.0692 1.0696 1.0698
Fibonacci 1.0684 1.0686 1.0688 1.069 1.0692 1.0694 1.0696
Camarilla 1.0687 1.0688 1.0688 1.069 1.069 1.069 1.0691
Woodie's 1.068 1.0684 1.0686 1.069 1.0692 1.0696 1.0698
DeMark's - - 1.0686 1.069 1.0692 - -

ที่มา: Investing 1Investing 2

______________________________
อัพเกรดความรู้เพิ่มเติม: คลิกที่นี่
รู้เท่าทันสถานการณ์โลกและบทวิเคราะห์เทคนิคขั้นสูงคลิกที่นี่
Tags:

TECHNICAL ANALYSIS

ARTICLES