รัสเซียยังสามารถค้าขายได้แม้จะมีการคว่ำบาตรก็ตาม
เงินรูเบิลลรัสเซียยังคงได้รับแรงกดดันอย่างหนัก เนื่องจากนักลงทุนรอการประกาศ PCE ซึ่งเป็นดัชนีชี้วัดสำคัญอีกหนึ่งตัวที่สามารถคาดการณ์แนวโน้มอัตราเงินเฟ้อ รวมไปถึงแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยในอนาคตได้ ทั้งนี้ แม้ว่าจะถูกดดันด้านสกุลเงินแต่การค้าขายของรัสเซียยังคงได้รับแรงหนุนต่อเนื่องจากค่าเงินรูเบิลที่อ่อนค่าลงทำให้ดุลการค้าของรัสเซียกลับมาเกินดุลอีกครั้ง
ดุลการค้าของรัสเซียเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วเป็น 10,660 ล้านดอลลาร์สหรัฐในเดือนเมษายน จาก 6,770 ล้านดอลลาร์สหรัฐในเดือนเดียวกันของปีก่อนหน้า เนื่องจากการส่งออกที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในขณะที่การนำเข้าลดลง โดยการส่งออกเพิ่มขึ้น 5% คิดเป็น 33,200 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จาก 31,600 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยได้รับแรงหนุนจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้นในช่วงต้นปี ในขณะเดียวกัน การนำเข้าลดลง 9.3% เป็น 22,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เนื่องจากการกีดกันทางการค้าที่กำลังเกิดขึ้น
PMI ภาคการผลิตของรัสเซียพุ่งขึ้นแตะ 54.4 ในเดือนพฤษภาคม นับเป็นการเติบโตของกิจกรรมภาคการผลิตเดือนที่ 25 ติดต่อกันที่ โดยผลผลิตที่สามารถทำได้ขยายตัวมากที่สุดในรอบหลายปี ในขณะที่คำสั่งซื้อใหม่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเช่นเดียวกับการจ้างงานเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้บริษัทต่างๆ เพิ่มการซื้อสินค้าขั้นกลางเพื่อสนับสนุนการผลิตอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าคำสั่งซื้อส่งออกใหม่จะลดลงเป็นเดือนที่ 6 ติดต่อกัน ทั้งนี้ อุปสงค์ในประเทศที่ยังคงทรงตัวและการสนับสนุนจากรัฐบาล ทำให้การบริโภคภายในประเทศเติบโตต่อไปได้
PMI ภาคการบริการลดลงเหลือ 49.8 ในเดือนพฤษภาคม จาก 50.5 ในเดือนก่อนหน้า แสดงให้เห็นถึงการหดตัวครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2023 เนื่องจากผลผลิตหดตัวเป็นครั้งแรกในรอบ 16 เดือน ในขณะที่คำสั่งซื้อใหม่ยังคงทรงตัวในหลายอุตสาหกรรม ในด้านอัตราเงินเฟ้อของต้นทุนวัตถุดิบยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งส่วนใหญ่ได้รับแรงหนุนจากต้นทุนการขนส่งที่เพิ่มมากขึ้นและการเพิ่มค่าจ้างเพื่อดึวดูดพนักงานจากตลาดแรงงานที่กำลังขาดแคลน อาจส่งผลไปยังอัตราเงินเฟ้อในอนาคตเนื่องจากการส่งผ่านต้นทุนที่สูงขึ้นไปยังลูกค้า
อัตราผลตอบแทนพันฐบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปีของรัสเซียอยู่ที่ระดับ 15% ใกล้เคียงกับจุดสูงสุดในรอบ 2 ปี หลังจากที่ธนาคารกลางของรัสเซียคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 16% และส่งสัญญาณว่าธนาคารกลางอาจเริ่มปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกครั้งในการประชุมครั้งต่อไป ทั้งนี้ธนาคารกลางได้ระบุว่าการคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อภายในประเทศพบว่ายังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่องและยังคงสูงกว่าเป้าหมายของ CBR ที่ 4% ทำให้อัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นในตอนนี้กลายเป็นเหตุผลหลักในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในครั้งต่อไป
ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค (5H)
แนวต้านสำคัญ: 88.4224, 89.594, 90.6815
แนวรับสำคัญ: 86.1634, 89.3091, 83.9043
ที่มา: Investing.com
Buy/Long 1: หากมีการแตะแนวรับที่ช่วงราคา 85.076 - 86.1634 แต่ไม่สามารถเบรกแนวรับที่ 86.1634 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 89.594 และ SL ที่ประมาณ 83.9043 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Buy/Long 2: หากสามารถเบรกแนวต้านที่ช่วงราคา 88.4224 - 89.594 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 90.6815 และ SL ที่ประมาณ 85.076 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 1: หากมีการแตะแนวต้านที่ช่วงราคา 88.4224 - 89.594 แต่ไม่สามารถเบรกแนวต้านที่ 88.4224 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 85.076 และ SL ที่ประมาณ 90.6815 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 2: หากสามารถเบรกแนวรับที่ช่วงราคา 85.076 - 86.1634 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 83.9043 และ SL ที่ประมาณ 89.594 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
จุดกลับตัว 26 มิถุนายน 2567 21:10 น. GMT+7
ชื่อ
|
S3
|
S2
|
S1
|
จุดกลับตัว
|
R1
|
R2
|
R3
|
Classic | 83.9043 | 85.076 | 86.1634 | 87.335 | 88.4224 | 89.594 | 90.6815 |
Fibonacci | 85.076 | 85.9389 | 86.472 | 87.335 | 88.198 | 88.7311 | 89.594 |
Camarilla | 86.6296 | 86.8366 | 87.0437 | 87.335 | 87.4579 | 87.665 | 87.872 |
Woodie's | 83.8621 | 85.0549 | 86.1212 | 87.3139 | 88.3802 | 89.5729 | 90.6393 |
DeMark's | - | - | 85.6196 | 87.0631 | 87.8787 | - | - |