บทวิเคราะห์ USD/EUR 27 มิถุนายน 2567

Create at 5 months ago (Jun 27, 2024 19:19)

ECB อาจลดอัตราดอกเบี้ยเพิ่มเติมถึง 2 ครั้งในปีนี้

เงินยูโรอ่อนค่าลงต่อเนื่อง หลังจากที่ Olli Rehn สมาชิกของ ECB ระบุว่าอาจมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยอีก 2 ครั้งในปีนี้ นอกจากนี้ ข้อมูลล่าสุดยังแสดงความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและภาคธุรกิจในเยอรมนีและฝรั่งเศสลดลง เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นในเยอรมนีและความกังวลที่เพิ่มมากขึ้นจากการเลือกตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติของฝรั่งเศส เนื่องจากเป็นการเลือกตั้งอย่างกะทันหันของประธานาธิบดี เอ็มมานูเอล มาครง ทำให้เกิดความไม่แน่นอนต่อเศรษฐกิจภานในประเทศมากขึ้น 


อัตราเงินเฟ้อในยูโรโซนเพิ่มขึ้นเป็น 2.6% เมื่อเทียบเป็นรายปีในเดือนพฤษภาคม ซึ่งสอดคล้องกับการคาดการณ์ของตลาด โดยราคาพลังงานเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ในขณะที่ราคาสินค้าในภาคการบริการยังคงทรงตัวอยู่ที่ 4.1% แต่อุปสงค์ที่เพิ่มขึ้นในช่วงที่ผ่านมาของภาคบริการ ทำให้อัตราเงินเฟ้อในเยอรมนีเพิ่มขึ้นมาที่ 2.8% ฝรั่งเศสที่ 2.6% และสเปนที่ 3.8% ในขณะเดียวกัน อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานซึ่งไม่รวมราคาพลังงานและอาหารที่ผันผวนเพิ่มขึ้นเป็น 2.9% จาก 2.7% ทำให้ ECB ปรับการคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อใหม่ให้สูงขึ้น ซึ่งคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อทั่วไปที่ 2.5% ในปี 2024, 2.2% ในปี 2025 และ 1.9% ในปี 2026


การขยายตัวของสินเชื่อไปยังภาคครัวเรือนในยูโรโซนเพิ่มขึ้น 0.3% เมื่อเทียบเป็นรายปีในเดือนพฤษภาคม เพิ่มขึ้นเล็กน้อยหลังจากที่เพิ่มขึ้น 0.2% ในเดือนก่อนหน้า การเติบโตที่เพิ่มขึ้นเล็กน้อยนี้ถือเป็นอัตราการขยายตัวของสินเชื่อภาคครัวเรือนที่อ่อนตัวที่สุดตั้งแต่ปี 2015 ซึ่งสอดคล้องกับการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของ ECB เพื่อแก้ไขปัญหาเงินเฟ้อที่เกิดขึ้น นอกจากนี้ การเติบโตของสินเชื่อโดยรวมสำหรับภาคเอกชน ซึ่งรวมถึงทั้งภาคครัวเรือนและบริษัทที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน ชะลอตัวลงเหลือ 0.8%


Composite PMI ลดลงเหลือ 50.8 ในเดือนมิถุนายน จาก 52.2 ในเดือนก่อนหน้า ต่ำกว่าการคาดการณ์ของตลาดที่ 52.5 แต่ก็เพียงพอที่จะทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจของภาคเอกชนยังคงขยายตัวต่อเนื่อง โดยการขยายตัวนี้เกิดขึ้นจากภาคบริการเพียงอย่างเดียว แม้จะมีอัตราการขยายตัวที่น้อยลง แต่การเติบโตของภาคบริการยังคงเพียงพอต่อการหดตัวอย่างรุนแรงของภาคการผลิตที่หดตัวต่ำสุดในรอบ 6 เดือน โดยคำสั่งซื้อใหม่โดยรวมหดตัวเป็นครั้งแรกในรอบ 4 เดือน ซึ่งได้รับแรงกดดันจากความต้องการสินค้าส่งออกที่ลดลง ทำให้บริษัทต่างๆ ต้องลดปริมาณงานเพื่อให้มั่นใจว่าผลผลิตที่ทำได้จะเพียงพอต่อความต้องการและลดจำนวนสินค้าที่ต้องสต็อกลง ในขณะเดียวกัน อัตราเงินเฟ้อด้านต้นทุนปัจจัยการผลิตยังคงอยู่ในระดับต่ำ ทำให้บริษัทต่างๆ สามารถชะลอการผลิตโดยกระทบต่อต้นทุนมากนัก

ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค (5H)

แนวต้านสำคัญ: 0.9356, 0.937, 0.9376

แนวรับสำคัญ: 0.9335, 0.9328, 0.9314

บทวิเคราะห์ USD/EUR วันนี้ที่มา: Investing.com

Buy/Long 1: หากมีการแตะแนวรับที่ช่วงราคา 0.9328 - 0.9335 แต่ไม่สามารถเบรกแนวรับที่ 0.9335 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.937 และ SL ที่ประมาณ 0.9314 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้

Buy/Long 2: หากสามารถเบรกแนวต้านที่ช่วงราคา 0.9356 - 0.937 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.9376 และ SL ที่ประมาณ 0.9328 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้

Sell/Short 1: หากมีการแตะแนวต้านที่ช่วงราคา 0.9356 - 0.937 แต่ไม่สามารถเบรกแนวต้านที่ 0.9356 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.9328 และ SL ที่ประมาณ 0.9376 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้

Sell/Short 2: หากสามารถเบรกแนวรับที่ช่วงราคา 0.9328 - 0.9335 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.9314 และ SL ที่ประมาณ 0.937 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้

จุดกลับตัว 27 มิถุนายน 2567 19:15 น. GMT+7

ชื่อ
S3
S2
S1
จุดกลับตัว
R1
R2
R3
Classic 0.9314 0.9328 0.9335 0.9349 0.9356 0.937 0.9376
Fibonacci 0.9328 0.9336 0.9341 0.9349 0.9357 0.9362 0.937
Camarilla 0.9337 0.9339 0.9341 0.9349 0.9345 0.9347 0.9349
Woodie's 0.9312 0.9327 0.9333 0.9348 0.9354 0.9369 0.9374
DeMark's - - 0.9332 0.9347 0.9353 - -
______________________________
อัพเกรดความรู้เพิ่มเติม: คลิกที่นี่
รู้เท่าทันสถานการณ์โลกและบทวิเคราะห์เทคนิคขั้นสูงคลิกที่นี่
Tags:

TECHNICAL ANALYSIS

ARTICLES