เศรษฐกิจในแคนาดาอาจชะลอตัวลงในเร็วๆ นี้
ค่าเงินดอลลาร์แคนาดาอ่อนค่าลงต่อเนื่อง หลังจากการประกาศตัวเลข PCE ของสหรัฐที่ลดลงมาเหลือ 0.1% เมื่อเทียบเป็นรายเดือน นอกจากนี้ยังได้รับแรงหนุนจากอัตราเงินเฟ้อในเดือนพฤษภาคมที่สูงกว่าที่คาด ทำให้เหล่าผู้กำหนดนโยบายของสหรัฐฯ จำเป็นต้องระมัดระวังมากขึ้นต่อการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในปีนี้และแสดงให้เห็นถึงความแตกต่างของอัตราดอกเบี้ยนโยบายระหว่างธนาคารกลางอื่นๆ ส่งผลให้เงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้นอย่างมีนัยสำคัญดัชนีชี้วัดธุรกิจของ CFIB ในแคนาดา ซึ่งเป็นดัชนีระยะยาวที่สะท้อนถึงการคาดการณ์ผลการดำเนินงานทางธุรกิจในอีก 12 เดือนข้างหน้าในประเทศ ลดลงเหลือ 56.3 ในเดือนมิถุนายน ถือว่าเป็นการทรงตัวใกล้จุดสูงสุดอีกครั้ง โดยแรงสนับสนุนส่วนใหญ่มาจากความเชื่อมั่นที่เพิ่มขึ้นในระยะยาว ซึ่งภาคการบริการยังคงเป็นภาคส่วนที่สำคัญและมีความเชื่อมั่นเพิ่มขึ้นมากที่สุด โดยแผนการขึ้นค่าจ้างเฉลี่ยใน 12 เดือนข้างหน้าลดลงมาอยู่ที่ 2.5 แสดงให้เห็นถึงความพยายามในการลดต้นทุนของบริษัทต่างๆ
อัตราเงินเฟ้อในแคนาดาเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วแตะ 2.9% เมื่อเทียบเป็นรายปีในเดือนพฤษภาคม จากระดับต่ำสุดในรอบ 3 ปีที่ 2.7% อัตราเงินเฟ้อในตอนนี้ยังคงสอดคล้องกับการคาดการณ์ของธนาคารกลางแคนาดาที่ว่าอัตราเงินเฟ้อจะยังอยู่ใกล้ระดับ 3% ในช่วงครึ่งแรกของปี แต่การ เพิ่มขึ้นของอัตราเงินเฟ้อในครั้งนี้อาจทำให้ธนาคารกลางแคนาดาชะลอการปรับลดอัตราดอกเบี้ยออกไปก่อน โดยอัตราเงินเฟ้อได้รับแรงสนับสนุนส่วนใหญ่มาจากราคาขนส่งที่เพิ่มสูงขึ้นเกือบ 3.5% ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อสำหรับอาหารเพิ่มขึ้น 2.4% ท่ามกลางต้นทุนการผลิตอาหารที่สูงขึ้น นับว่าเป็นอีกหนึ่งตัวเร่งสำคัญเช่นเดียวกัน
ยอดขายปลีกในแคนาดาลดลง 0.6% เมื่อเทียบเป็นรายเดือนในเดือนพฤษภาคม ซึ่งถือเป็นการลดลงอย่างรวดเร็วนับตั้งแต่เดือนมีนาคม โดยการซื้อของต่างๆ ในสถานีแวะพักกลับมาลดลงเล็กน้อย เนื่องจากราคาสินค้าที่สูงขึ้นทำให้ปริมาณการขายชะลอตัวลง นอกจากนี้ต้นทุนการขนส่งที่่สูงขึ้นอาจทำให้แนวโน้มราคาสินค้าต่างๆ ยังคงเพิ่มขึ้นต่อไป
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลแคนาดาอายุ 10 ปีพุ่งสูงขึ้นเหนือ 3.4% ฟื้นตัวจากระดับต่ำสุดในรอบ 5 เดือน เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้น ทำให้นักลงทุนคาดการณ์ว่าธนาคารกลางแคนาดาจะชะลอการลดอัตราดอกเบี้ยในไตรมาสที่ 3 นอกจากนี้ ยังเป็นการฟื้นตัวตามอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ที่เพิ่มขึ้นหลังจากการประกาศ PCE ซึ่งเป็นข้อมูลสำคัญในการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐ
ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค (5H)
แนวต้านสำคัญ: 1.3721, 1.3737, 1.3754
แนวรับสำคัญ: 1.3688, 1.3671, 1.3655
ที่มา: Investing.com
Buy/Long 1: หากมีการแตะแนวรับที่ช่วงราคา 1.3671 - 1.3688 แต่ไม่สามารถเบรกแนวรับที่ 1.3688 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 1.3737 และ SL ที่ประมาณ 1.3655 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Buy/Long 2: หากสามารถเบรกแนวต้านที่ช่วงราคา 1.3721 - 1.3737 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 1.3754 และ SL ที่ประมาณ 1.3671 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 1: หากมีการแตะแนวต้านที่ช่วงราคา 1.3721 - 1.3737 แต่ไม่สามารถเบรกแนวต้านที่ 1.3721 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 1.3671 และ SL ที่ประมาณ 1.3754 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 2: หากสามารถเบรกแนวรับที่ช่วงราคา 1.3671 - 1.3688 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 1.3655 และ SL ที่ประมาณ 1.3737 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
จุดกลับตัว 28 มิถุนายน 2567 21:02 น. GMT+7
ชื่อ
|
S3
|
S2
|
S1
|
จุดกลับตัว
|
R1
|
R2
|
R3
|
Classic | 1.3655 | 1.3671 | 1.3688 | 1.3704 | 1.3721 | 1.3737 | 1.3754 |
Fibonacci | 1.3671 | 1.3684 | 1.3691 | 1.3704 | 1.3717 | 1.3724 | 1.3737 |
Camarilla | 1.3696 | 1.3699 | 1.3702 | 1.3704 | 1.3708 | 1.3711 | 1.3714 |
Woodie's | 1.3655 | 1.3671 | 1.3688 | 1.3704 | 1.3721 | 1.3737 | 1.3754 |
DeMark's | - | - | 1.368 | 1.37 | 1.3712 | - | - |