ความคาดหวังการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของ BoE หนุนตลาดหุ้นและพันธบัตรก่อนการเลือกตั้งในสหราชอาณาจักร
ธนาคารกลางอังกฤษคาดว่าจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยเร็วๆ นี้ ในเดือนสิงหาคม หากข้อมูลอัตราเงินเฟ้อและค่าจ้างตรงกับการคาดการณ์ของคณะกรรมการนโยบายการเงินในเดือนพฤษภาคม ส่งผลให้นักลงทุนคาดหวังมากขึ้นถึงการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในเดือนสิงหาคม ซึ่งได้ช่วยสนับสนุนการฟื้นตัวของตลาดหุ้นในสหราชอาณาจักรและพันธบัตรรัฐบาลก่อนการเลือกตั้ง แม้ว่าล่าสุด ธนาคารกลางจะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับสูงสุดในรอบ 16 ปี
ทั้งนี้ หลังจากการตัดสินใจของธนาคารแห่งประเทศอังกฤษ ตลาดเงินเพิ่มความน่าจะเป็นของการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในเดือนสิงหาคมเป็น 44% และการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในเดือนกันยายนเป็น 90% โดยได้แรงหนุนจากข้อมูลที่แสดงให้เห็นว่าอัตราเงินเฟ้อของสหราชอาณาจักรได้แตะกรอบเป้าหมาย 2% ของ BoE
อย่างไรก็ดี นักลงทุนเชื่อว่าการลดอัตราดอกเบี้ยจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจของสหราชอาณาจักร และคาดการณ์ว่าพรรคแรงงานจะได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งที่กำลังจะมาถึง และได้หนุนค่าเงินสเตอร์ลิงให้อยู่ในระดับก่อน Brexit โดยมุมมองเชิงบวกนี้ได้ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของตลาดในสหราชอาณาจักร ซึ่งต้องเผชิญกับความท้าทายนับตั้งแต่การลงมติ Brexit ในปี 2016 ท่ามกลางข้อมูลที่ได้รับการปรับปรุงที่พบว่าเศรษฐกิจของสหราชอาณาจักรฟื้นตัวจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยเร็วกว่าที่คิดไว้ในช่วงต้นปี 2024 แม้ว่าสถานการณ์ทางเศรษฐกิจในวงกว้างยังคงเปราะบาง
สำหรับการขยายตัวทางธุรกิจในสหราชอาณาจักรได้ชะลอตัวลงสู่ระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยครั้งล่าสุด โดยหลายบริษัทชะลอการตัดสินใจสำคัญออกไปจนกระทั่งหลังการเลือกตั้ง ขณะที่เศรษฐกิจสหราชอาณาจักรขยายตัว 0.7% ในไตรมาสแรกของปี 2024 ซึ่งสูงกว่าประมาณการเบื้องต้นเล็กน้อย ท่ามกลางการเติบโตโดยรวมที่ยังคงอ่อนแอ ซึ่งส่งผลต่อความท้าทายในการเลือกตั้งของพรรคอนุรักษ์นิยม ขณะที่รายได้สุทธิที่แท้จริงของครัวเรือนลดลงนับตั้งแต่การเลือกตั้งระดับชาติครั้งล่าสุด สะท้อนถึงความยากลำบากทางเศรษฐกิจที่เกิดจากการแพร่ระบาด อัตราเงินเฟ้อ และปัญหาการค้าหลัง Brexit โดยผลการดำเนินงานของเศรษฐกิจสหราชอาณาจักรนับตั้งแต่การเลือกตั้งครั้งล่าสุดได้อยู่ในกลุ่มประเทศ G7 ที่อ่อนแอที่สุด
ทางด้านข้อมูลล่าสุดแสดงให้เห็นถึงการลดลงของยอดค้าปลีกในอังกฤษและการชะลอตัวของการเติบโตของยอดขายในซูเปอร์มาร์เก็ต ซึ่งได้รับอิทธิพลจากสภาพอากาศที่เปียกชื้นและอัตราเงินเฟ้อด้านอาหารที่ลดลง แม้ว่าค่าจ้างงานเริ่มต้นจะเพิ่มขึ้น แต่จำนวนงานโดยรวมกลับลดลง ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อมีมุมมองที่หลากหลาย
ทั้งนี้ แนวทางระมัดระวังของ BoE ในการลดอัตราดอกเบี้ยนั้นเกิดจากความไม่แน่นอนเกี่ยวกับการเติบโตของค่าจ้าง โดยอัตราเงินเฟ้อในอดีตที่สูงได้ส่งสัญญาณถึงค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นที่ยังไม่ทำให้ความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจดีขึ้น ซึ่งนักเศรษฐศาสตร์บางรายยังคงความกังวลเกี่ยวกับอัตราเงินเฟ้อในระยะยาว หลังจากอัตราการมีส่วนร่วมในตลาดงานลดลงนับตั้งแต่การเกิดโรคระบาด ท่ามกลางการสำรวจเมื่อเร็วๆ นี้ ที่แสดงให้เห็นถึงคำสั่งซื้อในภาคการผลิตที่มีการปรับปรุงดีขึ้นเล็กน้อย แม้ว่าคำสั่งซื้อเพื่อการส่งออกจะลดลงอย่างรวดเร็ว
ทางด้านความเชื่อมั่นผู้บริโภคในอังกฤษ ตามการสำรวจความเชื่อมั่นผู้บริโภคของ GfK แตะระดับสูงสุดในรอบ 2 ปีครึ่งในเดือนมิถุนายน เนื่องจากการมองในแง่ดีเกี่ยวกับเศรษฐกิจในวงกว้างที่มากกว่าความกังวลเรื่องการเงินส่วนบุคคล
สำหรับหนี้สาธารณะของอังกฤษเพิ่มขึ้นสู่อัตราสูงสุดนับตั้งแต่ปี 1961 โดยแตะระดับ 2.742 ล้านล้านปอนด์หรือ 99.8% ของ GDP ในเดือนพฤษภาคม ซึ่งหนี้สาธารณะพุ่งสูงขึ้นในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 และจากผลกระทบจากการเติบโตที่ช้าและอัตราดอกเบี้ยที่สูง โดยแม้ว่าการกู้ยืมล่าสุดจะต่ำกว่าคาดเล็กน้อย แต่สถานการณ์ทางการเงินโดยรวมยังคงตึงเครียด
ขณะเดียวกัน งินดอลลาร์สหรัฐฯ อ่อนค่าลงเมื่อวันศุกร์ตามข้อมูลที่บ่งชี้ว่าอัตราเงินเฟ้อในสหรัฐฯ ลดลงเมื่อเดือนที่แล้ว ตอกย้ำความคาดหวังว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ อาจเริ่มลดอัตราดอกเบี้ยในปีนี้
ทั้งนี้ ข้อมูลแสดงให้เห็นว่าดัชนีราคารายจ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) ของสหรัฐฯ ซึ่งเป็นมาตรวัดเงินเฟ้อสำคัญของเฟด ไม่เปลี่ยนแปลงเมื่อเดือนที่แล้ว ขณะที่เมื่อเทียบเป็นรายปี ดัชนีราคา PCE เพิ่มขึ้น 2.6% ในเดือนพฤษภาคม ลดลงจาก 2.7% ในเดือนเมษายน กระตุ้นให้มีความเป็นไปได้เพิ่มขึ้นเล็กน้อยในการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในเดือนกันยายนเป็น 67% โดยตลาดคาดว่าจะมีการปรับลด 25 จุด 1-2 ครั้งในปีนี้
ทั้งนี้ รายงานเพิ่มเติมแสดงให้เห็นกิจกรรมทางธุรกิจที่ดีเกินคาดในมิดเวสต์ โดย PMI ของชิคาโกเพิ่มขึ้นเป็น 47.4 จาก 35 ในเดือนพฤษภาคม และความเชื่อมั่นของผู้บริโภคจากมหาวิทยาลัยมิชิแกนดีขึ้น โดยผู้ตอบแบบสอบถามคาดว่าอัตราเงินเฟ้อจะทรงตัวที่ 3% ในระยะสั้นและระยะยาว
โดยขณะนี้นักลงทุนกำลังมุ่งเน้นไปที่รายงานการจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐฯ ในสัปดาห์นี้ โดยนักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ว่าการจ้างงานจะเพิ่มขึ้น 195,000 ตำแหน่งในเดือนมิถุนายน เทียบกับ 272,000 ตำแหน่งในเดือนพฤษภาคม ข้อมูลล่าสุดบ่งชี้ว่าสภาวะตลาดแรงงานที่ผ่อนคลายลง โดยการขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกลดลง และจำนวนผู้ว่างงานพุ่งแตะระดับสูงสุดในรอบ 2.5 ปี
ทางด้านการใช้จ่ายทางธุรกิจด้านอุปกรณ์และการส่งออกลดลงเช่นกัน ส่งผลให้ขาดดุลการค้าสูงขึ้น ขณะที่คำสั่งซื้อใหม่สำหรับสินค้าทุนที่ผลิตในสหรัฐฯ ลดลงอย่างไม่คาดคิดในเดือนพฤษภาคม ส่งสัญญาณการใช้จ่ายทางธุรกิจด้านอุปกรณ์ที่อ่อนแอลงในไตรมาสที่สองเนื่องจากต้นทุนการกู้ยืมที่สูง ท่ามกลางยอดค้าปลีกในเดือนพฤษภาคมที่อ่อนแอ และแรงกดดันด้านเงินเฟ้อที่ลดลงอย่างมาก ขณะที่นักเศรษฐศาสตร์ยังไม่มีการคาดการณ์ถึงภาวะเศรษฐกิจถดถอยที่อาจจะเกิดขึ้น
ทั้งนี้ แม้ว่าอัตราเงินเฟ้อจะลดลงหลังจากพุ่งสูงขึ้นในไตรมาสแรก แต่อัตราเงินเฟ้อยังคงสูงกว่าเป้าหมาย 2% ของเฟด ท่ามกลางข้อมูลเงินเฟ้อของสหรัฐฯ ในเดือนพฤษภาคมที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลง โดยต้นทุนบริการที่เพิ่มขึ้นเล็กน้อยสมดุลกับราคาสินค้าที่ลดลงมากที่สุดในรอบ 6 เดือน ส่งผลให้เฟดเข้าใกล้การปรับลดอัตราดอกเบี้ยในปลายปีนี้ โดยการใช้จ่ายของผู้บริโภคเพิ่มขึ้นเล็กน้อย และราคาพื้นฐานเพิ่มขึ้นในอัตราที่ช้าที่สุดในรอบ 6 เดือน บ่งบอกถึงความเป็นไปได้ที่เศรษฐกิจจะ "ลงจอดอย่างนุ่มนวล" ซึ่งหมายถึงอัตราเงินเฟ้อที่ลดลงที่ไม่ทำให้เกิดภาวะถดถอยหรือการว่างงานเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ
ทางด้านการเมืองของสหรัฐฯ ยังคงมีอิทธิพลต่อตลาด โดยโดนัลด์ ทรัมป์ ผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีจากพรรครีพับลิกันได้กล่าวโจมตีประธานาธิบดีโจ ไบเดน ระหว่างการดีเบตหาเสียง ส่งผลให้ค่าเงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้นเล็กน้อย โดยโอกาสของทรัมป์ในการเป็นประธานาธิบดีและแนวโน้มในการจัดเก็บภาษีศุลกากรเชิงรุกซึ่งอาจเพิ่มอัตราเงินเฟ้อและกระตุ้นให้เกิดอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นได้ส่งผลกระทบต่อตลาดเช่นกัน ขณะที่ความคิดเห็นของประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ เจอโรม พาวเวลล์ และรายงานการประชุมจากการประชุมเฟดครั้งล่าสุด จะถูกจับตาดูอย่างใกล้ชิด
โดยประธานเฟด เจอโรม พาวเวลล์จะเข้าร่วมการประชุมประจำปีของธนาคารกลางยุโรปในเมืองซินตรา ประเทศโปรตุเกส ในวันอังคารนี้ โดยเข้าร่วมการอภิปรายในหัวข้อ "นโยบายการเงินในยุคแห่งการเปลี่ยนแปลง" กับประธาน ECB คริสติน ลาการ์ด ขณะที่รายงานการประชุมของเฟดในเดือนมิถุนายนที่จะเผยแพร่ในวันพุธ จะให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับแนวโน้มเศรษฐกิจของธนาคารกลางและการพิจารณานโยบายการเงิน จึงอาจส่งผลให้คู่สกุล GBP/USD อาจเผชิญความผันผวนที่มากขึ้นได้ในช่วงนี้ ทั้งก่อนและหลังการเลือกตั้งของสหรัฐฯ และสหราชอาณาจักร
ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค (1D) CFD GBP/USD
แนวต้านสำคัญ : 1.2659, 1.2663, 1.2671
แนวรับสำคัญ : 1.2643, 1.2639, 1.2631
1D Outlook
ที่มา: TradingView
Buy/Long 1 หากมีการแตะแนวรับที่ช่วงราคา 1.2613 - 1.2643 แต่ไม่สามารถเบรกแนวรับที่ 1.2643 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 1.2660 และ SL ที่ประมาณ 1.2598 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Buy/Long 2 หากสามารถเบรกแนวต้านที่ช่วงราคา 1.2659 - 1.2689 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 1.2708 และ SL ที่ประมาณ 1.2628 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 1 หากมีการแตะแนวต้านที่ช่วงราคา 1.2659 - 1.2689 แต่ไม่สามารถเบรกแนวต้าน 1.2659 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 1.2640 และ SL ที่ประมาณ 1.2704 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 2 หากสามารถเบรกแนวรับที่ช่วงราคา 1.2613 - 1.2643 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 1.2592 และ SL ที่ประมาณ 1.2674 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Pivot Points Jul 1, 2024 10:58AM GMT+7
Name
|
S3
|
S2
|
S1
|
Pivot Points
|
R1
|
R2
|
R3
|
---|---|---|---|---|---|---|---|
Classic | 1.262 | 1.2631 | 1.264 | 1.2651 | 1.266 | 1.2671 | 1.268 |
Fibonacci | 1.2631 | 1.2639 | 1.2643 | 1.2651 | 1.2659 | 1.2663 | 1.2671 |
Camarilla | 1.2643 | 1.2645 | 1.2647 | 1.2651 | 1.2651 | 1.2653 | 1.2654 |
Woodie's | 1.2618 | 1.263 | 1.2638 | 1.265 | 1.2658 | 1.267 | 1.2678 |
DeMark's | - | - | 1.2646 | 1.2654 | 1.2666 | - | - |
ที่มา: Investing 1, Investing 2
อัพเกรดความรู้เพิ่มเติม: คลิ