BoJ อาจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมเดือนนี้
เงินเยนของญี่ปุ่นอ่อนค่าลงต่อเนื่อง เนื่องมาจากอัตราดอกเบี้ยที่แตกต่างกันอย่างมากระหว่างญี่ปุ่นและสหรัฐฯ นอกจากนี้ การที่ธนาคารกลางญี่ปุ่นไม่เร่งรีดที่จะปรับนโยบายการเงินให้เข้มงวดขึ้นก็ส่งผลกระทบต่อค่าเงินเช่นกัน ทั้งนี้ มีการคาดการณ์ว่า BOJ อาจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมนโยบายครั้งต่อไปในช่วงปลายเดือนกรกฎาคม
เงินเยนที่อ่อนค่าลงยังทำให้ต้นทุนการนำเข้าสูงขึ้น ซึ่งส่งผลให้เกิดแรงกดดันด้านเงินเฟ้อที่รุนแรงขึ้นและส่งผลกระทบต่อการบริโภคของครัวเรือนโดยตรงจากราคาสินค้าและบริการที่เพิ่มขึ้น ในขณะเดียวกัน รัฐมนตรีกระทรวงการคลัง Shunichi Suzuki ให้สัญญาณว่ารัฐบาลยังคงจับตามองการเคลื่อนไหวของค่าเงินเยนเป็นพิเศษ เนื่องจากการอ่อนค่าที่มากเกินไปของเงินเยนจะส่งกระทบด้านลบต่อเศรษฐกิจโดยรวม
อัตราเงินเฟ้อในญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นแตะ 2.8% เมื่อเทียบเป็นรายปีในเดือนพฤษภาคม เพิ่มขึ้นจาก 2.5% ในเดือนเมษายน โดยราคาไฟฟ้ากลับมาเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เนื่องจากการอุดหนุนด้านพลังงานจากรัฐบาลสิ้นสุดลง ในขณะเดียวกัน ก็ส่งผลให้ราคาอาหารเพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน
ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานของโตเกียวในญี่ปุ่นเพิ่มขึ้น 2.1% เมื่อเทียบเป็นรายปีในเดือนมิถุนายน สูงกว่าที่ตลาดคาดการณ์และเป้าหมายของธนาคารกลางญี่ปุ่นที่ 2% จึงเป็นอีกหนึ่งเหตุผลที่ธนาคารกลางจำเป็นต้องปรับนโยบายการให้เข้มงวดขึ้น Core CPI ที่เพิ่มขึ้นในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมาเกิดจากการปรับขึ้นค่าจ้างอย่างต่อเนื่อง ทำให้ความสามารถในการใช้จ่ายของภาคครัวเรือนเพิ่มขึ้นในช่วงที่ผ่านมา
อัตราการว่างงานของญี่ปุ่นทรงตัวอยู่ที่ 2.6% ในเดือนพฤษภาคม สอดคล้องกับการคาดการณ์ของตลาด แต่ยังคงเป็นอัตราการว่างงานสูงสุดนับตั้งแต่เดือนกันยายน 2023 พบว่าจำนวนผู้ว่างงานลดลง 10,000 คน เหลือ 1.82 ล้านคน ขณะที่การจ้างงานเพิ่มขึ้น 10,000 คน เป็น 67.61 ล้านคน ในขณะเดียวกัน พบว่าตำแหน่งงานต่อการสมัครงานลดลงต่อเนื่อง แสดงให้เห็นถึงสภาพเศรษฐกิจที่กำลังหดตัว
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลญี่ปุ่นอายุ 10 ปีเพิ่มขึ้นแตะ 1.08% ในขณะที่นักลงทุนยังคงประเมินแนวโน้มนโยบายการเงินของธนาคารกลางญี่ปุ่น ท่ามกลางสถานการณ์ที่เงินเยนอ่อนค่าลงอย่างรวดเร็ว นักวิเคราะห์บางคนคาดการณ์ว่า BOJ อาจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมนโยบายในเดือนนี้ แต่สำหรับข้อมูลเศรษฐกิจที่ทรงตัวของสหรัฐ ทำให้การปรับลดอัตราดอกเบี้ยในเดือนนี้ยิ่งน้อยลงไปกว่าเดิม
ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค (5H)
แนวต้านสำคัญ: 161.59, 161.69, 161.74
แนวรับสำคัญ: 161.45, 161.39, 161.3
ที่มา: Investing.com
Buy/Long 1: หากมีการแตะแนวรับที่ช่วงราคา 161.39 - 161.45 แต่ไม่สามารถเบรกแนวรับที่ 161.45ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 161.69 และ SL ที่ประมาณ 161.3 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Buy/Long 2: หากสามารถเบรกแนวต้านที่ช่วงราคา 161.59 - 161.69 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 161.74 และ SL ที่ประมาณ 161.39 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 1: หากมีการแตะแนวต้านที่ช่วงราคา 161.59 - 161.69 แต่ไม่สามารถเบรกแนวต้านที่ 161.59 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 161.39 และ SL ที่ประมาณ 161.74 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 2: หากสามารถเบรกแนวรับที่ช่วงราคา 161.39 - 161.45 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 161.3 และ SL ที่ประมาณ 161.69 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
จุดกลับตัว 2 กรกฎาคม 2567 20:25 น. GMT+7
ชื่อ
|
S3
|
S2
|
S1
|
จุดกลับตัว
|
R1
|
R2
|
R3
|
Classic | 161.3 | 161.39 | 161.45 | 161.54 | 161.59 | 161.69 | 161.74 |
Fibonacci | 161.39 | 161.45 | 161.48 | 161.54 | 161.6 | 161.63 | 161.69 |
Camarilla | 161.48 | 161.49 | 161.5 | 161.54 | 161.53 | 161.54 | 161.55 |
Woodie's | 161.3 | 161.39 | 161.45 | 161.54 | 161.59 | 161.69 | 161.74 |
DeMark's | - | - | 161.43 | 161.53 | 161.57 | - | - |