บทวิเคราะห์ USD/JPY วันที่ 3 กรกฎาคม 2567

Create at 6 months ago (Jul 03, 2024 11:23)

เศรษฐกิจญี่ปุ่นหดตัวเกินกว่าคาด สร้างความกังวลถึงการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ

เศรษฐกิจญี่ปุ่นในไตรมาสแรกหดตัวมากกว่าการรายงานก่อนหน้านี้ ตามการแก้ไขข้อมูล GDP นอกเหนือกำหนดที่เผยแพร่เมื่อวันจันทร์ สร้างความสงสัยต่อแนวโน้มการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจญี่ปุ่นที่เปราะบาง โดยนักวิเคราะห์กล่าวว่าการปรับลดอัตราการเติบโตดังกล่าวคาดว่าจะส่งผลให้ธนาคารกลางญี่ปุ่นปรับลดการคาดการณ์การเติบโตต่อไป และอาจส่งผลต่อช่วงเวลาการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย

ทั้งนี้ ข้อมูล GDP ที่ปรับปรุงใหม่แสดงให้เห็นการหดตัว 2.9% เมื่อเทียบเป็นรายปีในไตรมาสเดือนมกราคม-มีนาคม ซึ่งแย่กว่าที่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ที่ 1.8% โดยการหดตัวส่วนใหญ่เกิดจากการใช้จ่ายของผู้บริโภคที่ลดลงท่ามกลางค่าจ้างที่ซบเซาและอัตราเงินเฟ้อที่คงอยู่ แม้ว่าการใช้จ่ายของผู้บริโภคคาดว่าจะดีขึ้นในไตรมาสที่สองพร้อมกับการเพิ่มขึ้นของค่าจ้าง แต่ขอบเขตการกระตุ้นทางเศรษฐกิจยังคงไม่แน่นอน

สำหรับการเติบโตของการใช้จ่ายในครัวเรือนของญี่ปุ่นมีแนวโน้มชะลอตัวลงอย่างมากในเดือนพฤษภาคม โดยการชะลอตัวของการใช้จ่ายซึ่งเป็นตัวชี้วัดการบริโภคภาคเอกชนที่สำคัญอาจขัดขวางการฟื้นตัวของเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน ขณะที่นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ว่า GDP จะฟื้นตัวในไตรมาสนี้โดยได้รับแรงหนุนจากอุปสงค์ในประเทศ ค่าจ้าง และรายจ่ายฝ่ายทุนที่สูงขึ้น แม้ว่าอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นในสหรัฐฯ และยุโรป รวมถึงการชะลอตัวในจีนจะก่อให้เกิดความเสี่ยงก็ตาม

ในเดือนมิถุนายน อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานในโตเกียวเร่งตัวขึ้นเนื่องจากต้นทุนเชื้อเพลิงที่สูงขึ้น และผลกระทบของเงินเยนที่อ่อนค่าต่อราคานำเข้า ทำให้ตลาดยังคงคาดการณ์ว่าธนาคารกลางอาจจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็วๆ นี้ ขณะที่อัตราการว่างงานของญี่ปุ่นยังคงอยู่ที่ 2.6% ในเดือนพฤษภาคม ไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือนก่อน

สำหรับกิจกรรมโรงงานของญี่ปุ่นยังคงทรงตัวในเดือนมิถุนายน เนื่องจากความต้องการที่อ่อนแอและต้นทุนที่เพิ่มขึ้นจากการอ่อนค่าของเงินเยน หลังจากที่ผลผลิตจากโรงงานทั่วประเทศดีดตัวขึ้นในเดือนพฤษภาคม เนื่องจากผู้ผลิตรถยนต์ฟื้นตัวจากการหยุดชะงักในการขนส่ง สร้างความหวังในการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในระดับปานกลาง ในขณะเดียวกัน กิจกรรมการบริการของญี่ปุ่นหดตัวในเดือนมิถุนายนเป็นครั้งแรกในรอบเกือบสองปี เนื่องจากอุปสงค์ในประเทศที่ลดลง แม้ว่าความเชื่อมั่นทางธุรกิจและตัวชี้วัดการจ้างงานจะยังคงเป็นบวก โดยภาคบริการยังคงเป็นปัจจัยสำคัญที่ขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจ และชดเชยผลการดำเนินงานในภาคการผลิตที่อ่อนแอ

อีกด้าน ธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่น (BOJ) กำลังสำรวจผู้เข้าร่วมในตลาดพันธบัตรรัฐบาลญี่ปุ่น (JGB) เกี่ยวกับแผนการปรับลดพันธบัตร ตามแหล่งข่าว 3 แห่ง โดยแบบสำรวจนี้จะแจ้งให้ทราบถึงการอภิปรายในการประชุม BOJ กับผู้เข้าร่วมตลาดตราสารหนี้ในวันที่ 9-10 กรกฎาคม โดย BOJ ซึ่งถือพันธบัตรประมาณครึ่งหนึ่งของ JGB ทั้งหมดที่ 589 ล้านล้านเยน (3.7 ล้านล้านดอลลาร์) ตั้งเป้าที่จะลดการถือครองพันธบัตรในอีกหนึ่งถึงสองปีข้างหน้า ซึ่งการสำรวจนี้มีจุดประสงค์เพื่อสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับช่วงและอัตราการปรับลดที่คาดหวังจากทั้งธนาคาร บริษัทนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ และบริษัทประกันภัย

ทั้งนี้ การมีส่วนร่วมที่น้อยลงของ BOJ ในตลาดตราสารหนี้ คาดว่าจะส่งผลให้ตลาดผู้ซื้อ JGB มีความเสถียรมากขึ้น เพื่อป้องกันการเทขายพันธบัตรที่อาจทำให้อัตราผลตอบแทนพุ่งสูงขึ้น โดยคณะกรรมการกระทรวงการคลังแนะนำถึงการสร้างความน่าสนใจในพันธบัตรรัฐบาลสำหรับสถาบันการเงินมากขึ้น โดยการออกตราสารหนี้ที่มีระยะเวลาสั้นลง

อย่างไรก็ดี BOJ ได้บอกเป็นนัยเกี่ยวกับแผนการกระชับเชิงปริมาณ (QT) ในเดือนกรกฎาคมอาจมากกว่าที่คาดการณ์ไว้ และอาจรวมถึงการขึ้นอัตราดอกเบี้ย ท่ามกลางการแข็งค่าของเงินเยนอีกครั้ง ซึ่งอาจผลักดันให้อัตราเงินเฟ้อสูงกว่าเป้าหมาย 2% จากต้นทุนการนำเข้าที่เพิ่มขึ้น

ทั้งนี้ แหล่งข่าวระบุว่าการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอาจเกิดขึ้นได้การประชุมนโยบายแต่ละครั้ง ซึ่งรวมถึงการประชุมเดือนกรกฎาคม โดยผู้ว่าการ BOJ อุเอดะแนะนำให้ลดการซื้อพันธบัตรลงอย่างมากเพื่อช่วยให้ตลาดเคลื่อนตัวออกจากการควบคุมเส้นอัตราผลตอบแทน ซึ่งเป็นนโยบายที่สิ้นสุดในเดือนมีนาคม ซึ่งแผน QT ของ BOJ มีเป้าหมายเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรพุ่งสูงขึ้น ในขณะเดียวกันกับการจัดการการอ่อนค่าของเงินเยน

อีกด้าน เงินดอลลาร์สหรัฐฯ ทรงตัวเมื่อเทียบกับเงินเยน และแตะระดับ 161.745 ในช่วงเช้าของวันอังคาร ซึ่งสูงที่สุดในรอบเกือบ 38 ปี จากความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญของอัตราดอกเบี้ยระหว่างสหรัฐฯ และญี่ปุ่น

เมื่อวันอังคาร ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ เจอโรม พาวเวลล์ บอกเป็นนัยถึงความเป็นไปได้ที่จะเริ่มวงจรการผ่อนคลายทางการเงินในปลายปีนี้ โดยในการประชุมนโยบายการเงินในโปรตุเกส พาวเวลล์กล่าวถึงความคืบหน้าที่สำคัญเกี่ยวกับอัตราเงินเฟ้อ และชี้ให้เห็นว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ อยู่บนเส้นทางเงินเฟ้อที่ลดลง

ทางด้านการสำรวจตำแหน่งงานว่างและการหมุนเวียนของแรงงาน (JOLTS) รายงานถึงตำแหน่งงานว่างที่เพิ่มขึ้น 221,000 ตำแหน่งมาอยู่ที่ 8.140 ล้าน ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม ซึ่งสูงกว่าการคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ที่ 7.910 ล้าน

โดยหลังจากความคิดเห็นของพาวเวลล์และรายงาน JOLTS อัตราดอกเบี้ยฟิวเจอร์สของสหรัฐฯ สะท้อนถึงโอกาส 69% ที่จะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในเดือนกันยายน เพิ่มขึ้นจาก 63% ในวันจันทร์ ขณะที่ตลาดยังคาดการณ์การปรับลดอัตราดอกเบี้ยหนึ่งถึงสองครั้งในปี 2024

ทางด้านการใช้จ่ายด้านการก่อสร้างของสหรัฐฯ ลดลงอย่างไม่คาดคิดในเดือนพฤษภาคม เนื่องจากอัตราการจำนองที่สูงขึ้นซึ่งส่งผลกระทบต่อการสร้างบ้านเดี่ยว โดยการฟื้นตัวคาดว่าจะเป็นไปได้ช้า ขณะที่อุปทานที่อยู่อาศัยปรับดีขึ้น

ล่าสุด ค่าเงินดอลลาร์ได้รับแรงหนุนจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลที่เพิ่มขึ้น โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปี ปรับขึ้นเกือบ 14 จุดมาอยู่ที่ 4.479% ในชั่วข้ามคืน ส่วนหนึ่งเป็นผลจากความคาดหวังถึงโดนัลด์ ทรัมป์ที่อาจได้เป็นประธานาธิบดี ที่อาจนำไปสู่การขึ้นภาษีศุลกากรและการกู้ยืมของรัฐบาล อย่างไรก็ตาม เมื่อวันอังคาร อัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 10 ปีได้ลดลง 4.3 จุดพื้นฐานมาอยู่ที่ 4.435%

นอกจากนี้ Secured Overnight Financing Rate (SOFR) ซึ่งเป็นตัวชี้วัดต้นทุนการกู้ยืมในตลาดสัญญาซื้อคืนของสหรัฐฯ ขึ้นสู่ระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนมกราคมที่ 5.4% การเพิ่มขึ้นนี้บ่งชี้ถึงสภาพคล่องที่ลดน้อยลง ซึ่งได้รับอิทธิพลจากอุปทานหนี้คลังจำนวนมาก และความตึงตัวในงบดุลของธนาคาร ขณะที่อัตราที่พุ่งสูงขึ้นยังสอดคล้องกับการใช้เครื่องมือ Reverse Repo ของธนาคารกลางสหรัฐฯ แห่งนิวยอร์กที่เพิ่มขึ้น ซึ่งส่งสัญญาณเงินสดที่ขาดแคลนในตลาดเงินทุนที่สำคัญในวอลล์สตรีท

ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค (1D) CFD USD/JPY

แนวต้านสำคัญ : 161.69, 161.81, 162.00

แนวรับสำคัญ : 161.31, 161.19, 161.00                               

1D Outlook

วิเคราะห์ USD/JPY ที่มา: TradingView                             

Buy/Long 1 หากมีการแตะแนวรับที่ช่วงราคา 160.81 – 161.31 แต่ไม่สามารถเบรกแนวรับที่ 161.31 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 161.73 และ SL ที่ประมาณ 160.56 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้

Buy/Long 2 หากสามารถเบรกแนวต้านที่ช่วงราคา 161.69 – 162.19 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 162.23 และ SL ที่ประมาณ 161.06 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้                 

Sell/Short 1 หากมีการแตะแนวต้านที่ช่วงราคา 161.69 – 162.19 แต่ไม่สามารถเบรกแนวต้านที่ 161.69 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 161.23 และ SL ที่ประมาณ 162.44 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้

Sell/Short 2 หากสามารถเบรกแนวรับที่ช่วงราคา 160.81 – 161.31 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 160.27 และ SL ที่ประมาณ 161.94 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้

Pivot Points Jul 3, 2024 11:09AM GMT+7

Name
S3
S2
S1
Pivot Points
R1
R2
R3
Classic 160.72 161 161.23 161.5 161.73 162 162.23
Fibonacci 161 161.19 161.31 161.5 161.69 161.81 162
Camarilla 161.3 161.35 161.39 161.5 161.49 161.53 161.58
Woodie's 160.68 160.98 161.19 161.48 161.69 161.98 162.19
DeMark's - - 161.11 161.44 161.61 - -

ที่มา: Investing 1Investing 2

______________________________
อัพเกรดความรู้เพิ่มเติม: คลิกที่นี่
รู้เท่าทันสถานการณ์โลกและบทวิเคราะห์เทคนิคขั้นสูงคลิกที่นี่
Tags:

TECHNICAL ANALYSIS

ARTICLES