RBA อาจปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยอีกครั้งในการประชุมเดือนสิงหาคม
ค่าเงินดอลลาร์ออสเตรเลียแข็งค่าขึ้นอีกครั้งใกล้จุดสูงสุดในรอบ 6 เดือน และได้รับสนับสนุนจากการอ่อนค่าของเงินดอลลาร์สหรัฐ เนื่องจากข้อมูลเศรษฐกิจของสหรัฐที่อ่อนค่ากว่าที่คาดไว้ทำให้นักลงทุนคาดการณ์ว่าธนาคารกลางสหรัฐจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยมากขึ้น นอกจากนี้ ประธาน Fed เจอโรม พาวเวลล์ กล่าวเมื่อสัปดาห์นี้ว่า ข้อมูลล่าสุดแสดงให้เห็นถึงแนวโน้มเงินเฟ้อที่ลดลง แต่ต้องให้มั่นใจว่าเงินเฟ้อจะลดลงอย่างแน่นอนก่อนที่จะปรับลดอัตราดอกเบี้ย
จำนวนการประกาศหางานในออสเตรเลียลดลง 2.2% เมื่อเทียบเป็นรายเดือนในเดือนมิถุนายน หลังจากที่ลดลง 1.9% ในเดือนก่อนหน้า นับเป็นการลดลงของการประกาศรับสมัครงานเดือนที่ 5 ติดต่อกัน ท่ามกลางความต้องการแรงงานที่ลดลงเนื่องจากเศรษฐกิจชะลอตัวและต้นทุนการกู้ยืมที่สูงขึ้น นอกจากนี้การประกาศรับสมัครงานยังให้เงินเดือนที่ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานสำหรับพนักงานทำความสะอาด,ช่างฝีมือ และพนักงานบริการด้านอาหาร
Madeline Dunk นักเศรษฐศาสตร์ของ ANZ กล่าวว่า "อัตราการรับสมัครงานที่ลดลงเริ่มมีความรุนแรงมากขึ้นและเรากำลังเห็นสถานการณ์ที่คล้ายกันในอุตสาหกรรมอื่นๆ ของตลาดแรงงานทั่วประเทศ" นอกจากนี้ ยังมีการคาดการณ์เพิ่มเติมว่าอัตราการว่างงานจะเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเป็น 4.3% เมื่อเทียบเป็นรายปี
ธนาคารกลางออสเตรเลียคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 4.35% ในการประชุมเดือนมิถุนายน เป็นการคงอัตราดอกเบี้ยไว้เท่าเดิมเป็นครั้งที่ 5 ติดต่อกัน นับตั้งแต่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งล่าสุดเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2023 อย่างไรก็ตาม ธนาคารกลางได้ส่งสัญญาณเตือนอีกครั้งว่าอัตราเงินเฟ้อยังคงอยู่เหนือเป้าหมายของธนาคารกลางที่ 2-3% ซึ่งอัตราเงินเฟ้อส่วนใหญ่ได้รับแรงสนับสนุนจากต้นทุนในภาคการบริการที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยตัวเลขเศรษฐกิจล่าสุดตอกย้ำให้เห็นถึงความจำเป็นในการเฝ้าระวังความเสี่ยงด้านเงินเฟ้อ
คณะกรรมการยังคงมองว่ากิจกรรมทางเศรษฐกิจจะอ่อนตัวลง อาจส่งผลให้การเติบโตของ GDP ชะลอตัวลงอีกครั้ง นอกจากนี้ อัตราการว่างงานที่เพิ่มขึ้นและการเติบโตของค่าจ้างที่ช้ากว่าที่คาดไว้ ทำให้ผู้กำหนดนโยบายจำเป็นต้องติดตามเศรษฐกิจโลกเพิ่มเติม และจับตาดูแนวโน้มของเงินเฟ้อและตลาดแรงงานอย่างใกล้ชิด
ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ในออสเตรเลียเพิ่มขึ้น 4.0% เมื่อทียบเป็นรายเดือนในเดือนพฤษภาคม เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจาก 3.6% ในเดือนเมษายน และสูงกว่าการคาดการณ์ของตลาดที่ 3.8% อัตราเงินเฟ้อในครั้งนี้ยังคงสูงกว่าเป้าหมายของ RBA ที่ 2-3% เนื่องจากราคาพลังงานเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งค่าไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นมากกว่า 6.5% นอกจากนี้ ราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้นยังส่งผลให้ต้นทุนในการขนส่งสินค้าเพิ่มขึ้นอีกด้วย ทำให้ราคาสินค้าส่วนใหญ่ปรับตัวเพิ่มขึ้น
ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค (5H)
แนวต้านสำคัญ: 1.4871, 1.488, 1.4885
แนวรับสำคัญ: 1.4857, 1.4852, 1.4843
ที่มา: Investing.com
Buy/Long 1: หากมีการแตะแนวรับที่ช่วงราคา 1.4852 - 1.4857 แต่ไม่สามารถเบรกแนวรับที่ 1.4857 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 1.488 และ SL ที่ประมาณ 1.4843 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Buy/Long 2: หากสามารถเบรกแนวต้านที่ช่วงราคา 1.4871 - 1.488 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 1.4885 และ SL ที่ประมาณ 1.4852 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 1: หากมีการแตะแนวต้านที่ช่วงราคา 1.4871 - 1.488 แต่ไม่สามารถเบรกแนวต้านที่ 1.4871 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 1.4852 และ SL ที่ประมาณ 1.4885 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 2: หากสามารถเบรกแนวรับที่ช่วงราคา 1.4852 - 1.4857 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 1.4843 และ SL ที่ประมาณ 1.488 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
จุดกลับตัว 4 กรกฎาคม 2567 19:06 น. GMT+7
ชื่อ
|
S3
|
S2
|
S1
|
จุดกลับตัว
|
R1
|
R2
|
R3
|
Classic | 1.4843 | 1.4852 | 1.4857 | 1.4866 | 1.4871 | 1.488 | 1.4885 |
Fibonacci | 1.4852 | 1.4857 | 1.4861 | 1.4866 | 1.4871 | 1.4875 | 1.488 |
Camarilla | 1.4858 | 1.486 | 1.4861 | 1.4866 | 1.4863 | 1.4865 | 1.4866 |
Woodie's | 1.4841 | 1.4851 | 1.4855 | 1.4865 | 1.4869 | 1.4879 | 1.4883 |
DeMark's | - | - | 1.4855 | 1.4865 | 1.4868 | - | - |