บทวิเคราะห์ EUR/USD วันที่ 5 กรกฎาคม 2567

Create at 4 months ago (Jul 05, 2024 10:42)

ดอลลาร์ร่วงจากข้อมูลเศรษฐกิจที่อ่อนแอ ยูโรเผชิญกับความไม่แน่นอนทางการเมือง

คู่สกุล EUR/USD ปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย จากเงินดอลลาร์ที่อ่อนค่าลง อย่างไรก็ตาม เงินยูโรอาจต้องพยายามอย่างมากในการรักษาแนวโน้มนี้ไว้เนื่องจากความไม่แน่นอนทางการเมืองในภูมิภาค หลังจากที่เงินยูโรอ่อนค่าลงกว่า 1% นับตั้งแต่ประธานาธิบดีมาครงของฝรั่งเศสเรียกร้องให้มีการเลือกตั้ง ซึ่งเพิ่มความไม่แน่นอนก่อนการเลือกตั้งรอบคัดเลือกที่กำลังจะมาถึง

ทางด้าน บอสยัน วาซเล่ ผู้ว่าการธนาคารกลางสโลวีเนีย แนะนำให้ใช้ความระมัดระวังในการปรับลดอัตราดอกเบี้ย โดยอ้างถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากภาวะเงินเฟ้อที่ลดลงในยูโรโซน ขณะที่ ECB เน้นย้ำถึงการใช้ความอดทนในงานฟอรัมล่าสุด และส่งสัญญาณว่ายังไม่พบแรงกดดันในการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเพิ่มเติม แม้ว่าการลดลงของเงินเฟ้อและความผันผวนของตลาดตราสารหนี้จะเริ่มชะลอตัวลง

ทั้งนี้ ECB ได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยในวันที่ 6 มิถุนายน แต่ไม่มีการยืนยันว่าจะลดอัตราดอกเบี้ยในอนาคต โดยการประชุมในวันที่ 18 กรกฎาคมคาดว่าจะไม่พบการเปลี่ยนแปลง แม้ว่าการเติบโตของค่าจ้างจะปรับตัวดีขึ้นอย่างน่าประหลาดใจ แต่ความกังวลเกี่ยวกับอัตราเงินเฟ้อที่หนืดกว่าที่คาดยังคงมีอยู่ อย่างไรก็ตาม ยังคงมีความเชื่อมั่นว่าอัตราเงินเฟ้อจะลดลงสู่เป้าหมาย 2% ภายในสิ้นปี 2025 ขณะที่การติดตามค่าจ้างของ ECB และผลตอบรับจากองค์กรบ่งชี้ว่าแรงกดดันด้านค่าจ้างลดลง ซึ่งสนับสนุนความคาดหวังถึงอัตราเงินเฟ้อที่อาจลดลง ท่ามกลางนักลงทุนที่คาดว่าจะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ย 43 จุดในปีนี้ และ 110 จุดภายในปี 2025

โดยอัตราเงินเฟ้อยูโรโซนลดลงเหลือ 2.5% ในเดือนมิถุนายน แต่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานยังคงทรงตัวที่ 2.9% โดยได้แรงหนุนจากราคาบริการที่สูง ขณะที่การขาดแคลนแรงงานและการเติบโตของค่าจ้างอย่างรวดเร็วในภารการบริการอาจรักษาแรงกดดันด้านราคาที่สูง และทำให้อัตราเงินเฟ้อสูงกว่าเป้าหมาย ท่ามกลางการว่างงานในยูโรโซนยังคงอยู่ที่ระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 6.4% ในเดือนพฤษภาคม เน้นย้ำถึงความตึงตัวของตลาดแรงงาน

ทางด้านกิจกรรมการผลิตแย่ลงท่ามกลางความต้องการที่ลดลง แม้ว่าจะมีการปรับลดราคาจากโรงงานผู้ผลิต ขณะที่การออมของครัวเรือนในยูโรโซนเพิ่มขึ้นสู่ระดับสูงสุดในรอบสามปีที่ 15.3% ในไตรมาสแรกของปี 2024 ท่ามกลางการลงทุนที่ลดลงสู่ระดับต่ำสุดนับตั้งแต่ต้นปี 2021 โดยการออมที่เพิ่มขึ้นนี้ คาดว่าอาจเกิดจากความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ ซึ่งตรงกันข้ามกับการลงทุนในครัวเรือนที่ลดลง ขณะที่การเติบโตของธุรกิจโดยรวมชะลอตัวในยูโรโซน โดยการขยายของภาคบริการยังไม่สามารถชดเชยการลดลงของภาคการผลิตได้

สำหรับอัตราเงินเฟ้อของเยอรมนีลดลงมากกว่าที่คาดการณ์ไว้ในเดือนมิถุนายน โดยกลับมามีแนวโน้มลดลงอีกครั้งหลังจากเพิ่มขึ้นเป็นเวลาสองเดือน ท่ามกลางการสำรวจโดยสถาบัน Ifo ที่ระบุว่ามีบริษัทเยอรมันเพียงไม่กี่แห่งที่วางแผนปรับขึ้นราคาสินค้าและบริการเมื่อเทียบกับเดือนก่อน

ทางด้านคำสั่งซื้อภาคอุตสาหกรรมของเยอรมนีลดลง 1.6% ในเดือนพฤษภาคม นับเป็นการลดลงเป็นเดือนที่ 5 ติดต่อกัน ซึ่งบ่งบอกถึงการต่อสู้อย่างต่อเนื่องสำหรับภาคการผลิต โดยจากการเปรียบเทียบในช่วงสามเดือนพบว่าคำสั่งซื้อลดลง 6.2% ตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงพฤษภาคม ขณะที่ข้อมูล PMI ในเดือนมิถุนายนยืนยันการชะลอตัวอย่างต่อเนื่องของภาคการผลิต และดัชนีบ่งชี้ภาวะทางธุรกิจของ Ifo เผยให้เห็นถึงแนวโน้มในแง่ลบในหมู่ผู้ผลิต

ทั้งนี้ กระทรวงเศรษฐกิจเยอรมนีตั้งข้อสังเกตว่าคำสั่งซื้อที่ลดลงอย่างต่อเนื่องและความคาดหวังทางธุรกิจที่ตกต่ำบ่งชี้ถึงเศรษฐกิจอุตสาหกรรมที่ซบเซา โดยให้ความเห็นว่าคำสั่งซื้ออาจมีเสถียรภาพเมื่อมีการฟื้นตัวของการค้าโลกและความต้องการผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่เพิ่มขึ้น

อย่างไรก็ดี ในขณะที่ภาคบริการของเยอรมนีมีกิจกรรมทางธุรกิจเพิ่มขึ้นอย่างแข็งแกร่งในเดือนมิถุนายน และปิดไตรมาสที่สองที่เป็นบวก แต่อัตราการขยายตัวกลับชะลอตัวลง รวมถึงการเติบโตของธุรกิจใหม่และการจ้างงานที่เริ่มชะลอตัว โดยความคาดหวังของบริษัทในปีหน้าลดลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 5 เดือน ขณะที่ต้นทุนทางธุรกิจเพิ่มขึ้นในอัตราที่ช้าที่สุดนับตั้งแต่เดือนมีนาคม 2021 แต่แรงกดดันด้านค่าจ้างยังคงกดดันต้นทุนให้สูงกว่ามาตรฐานในอดีต

ทั้งนี้ การว่างงานในเยอรมนีเพิ่มขึ้นมากกว่าคาดในเดือนมิถุนายน ท่ามกลางความเชื่อมั่นของผู้บริโภคชาวเยอรมันที่คาดว่าจะลดลงเล็กน้อยในเดือนกรกฎาคม เนื่องจากครัวเรือนที่เผชิญกับราคาที่สูงขึ้นและการฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่ช้า ได้เลือกที่จะรัดเข็มขัดการใช้จ่ายมากขึ้น หลังจากที่ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคลดลงในเดือนมิถุนายน ตรงกันข้ามกับการคาดการณ์ที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นของนักวิเคราะห์ โดยการลดลงนี้รวมกับตัวชี้วัดอื่นๆ เช่น ดัชนีภาวะทางธุรกิจของ Ifo และ PMI คอมโพสิต จาก HCOB ได้ชี้ให้เห็นถึงความท้าทายข้างหน้าสำหรับเศรษฐกิจของเยอรมนี

ทางด้านค่าเงินดอลลาร์ที่อ่อนค่าลงตามตัวเลขการจ้างงานของ ADP ที่อ่อนตัวกว่าคาด และค่า PMI ที่อ่อนแอสำหรับกิจกรรมนอกเหนือภาคการผลิต บ่งชี้ว่าเศรษฐกิจสหรัฐกำลังเย็นตัวลง และอาจกระตุ้นให้เฟดปรับลดอัตราดอกเบี้ย โดยรายงานการประชุมล่าสุดของเฟดแสดงให้เห็นว่าผู้กำหนดนโยบายได้สังเกตถึงแรงกดดันด้านเงินเฟ้อที่ลดลง แต่ยังคงต้องการหลักฐานเพิ่มเติมเกี่ยวกับการชะลอตัวอย่างยั่งยืนก่อนที่จะลดอัตราดอกเบี้ย โดยเครื่องมือ CME Fedwatch ระบุว่ามีโอกาสเกือบ 66% ที่จะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในเดือนกันยายน เพิ่มขึ้นจาก 59% ในวันก่อนหน้า

สำหรับกิจกรรมภาคบริการของสหรัฐฯ แตะระดับต่ำสุดในรอบสี่ปีในเดือนมิถุนายน เนื่องจากคำสั่งซื้อที่ลดลงอย่างมาก บ่งชี้ว่าเศรษฐกิจอาจชะลอตัวในช่วงปลายไตรมาส โดยแม้ว่ากิจกรรมการผลิตจะอ่อนแอลง แต่ข้อมูลอื่นๆ เช่น การใช้จ่ายของผู้บริโภค ยังคงมีการเติบโตในระดับปานกลาง หลังจากเศรษฐกิจเริ่มปรับตัวตามอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น

ทั้งนี้ ในเดือนมิถุนายน การจ้างงานภาคเอกชนของสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น ซึ่งต่ำกว่าการคาดการณ์เล็กน้อย และบ่งชี้ถึงโมเมนตัมของตลาดแรงงานที่ชะลอตัว โดยรายงานจาก ADP เผยแพร่ก่อนหน้าการรายงานการจ้างงานที่ครอบคลุมมากขึ้นของกระทรวงแรงงาน ซึ่งคาดว่าจะบ่งบอกถึงตำแหน่งงานภาคเอกชนที่เพิ่มขึ้น 160,000 งานในเดือนมิถุนายน ลดลงจาก 229,000 ตำแหน่งในเดือนพฤษภาคม ท่ามกลางอัตราการว่างงานที่อยู่ที่ 4.0%

อย่างไรก็ดี แม้ว่าการจ้างงานจะเพิ่มขึ้นน้อยกว่าที่คาดไว้ แต่การจ้างงานในอุตสาหกรรมสันทนาการและการบริการยังคงแข็งแกร่ง และได้ช่วยชดเชยการจ้างงานที่ลดลงในภาคธุรกิจการบริการข้อมูล การศึกษา และบริการด้านสุขภาพ โดยนักลงทุนกำลังติดตามข้อมูลตลาดงานอย่างใกล้ชิด รวมถึงรายงานการจ้างงานนอกภาคเกษตร เพื่อหาสัญญาณของอุปสงค์แรงงานที่ชะลอตัว ซึ่งอาจช่วยลดแรงกดดันด้านเงินเฟ้อและสนับสนุนการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของเฟดได้ในปลายปีนี้

ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค (5Min) CFD EUR/USD

แนวต้านสำคัญ : 1.0824, 1.0825, 1.0827

แนวรับสำคัญ :  1.0820, 1.0819, 1.0817                                      

5Min Outlook

วิเคราะห์ EUR/USD ที่มา: TradingView 

Buy/Long 1 หากมีการแตะแนวรับที่ช่วงราคา 1.0819 - 1.0820 แต่ไม่สามารถทะลุแนวรับที่ 1.0820 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 1.0825 และ SL ที่ประมาณ 1.0818 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้

Buy/Long 2 หากสามารถทะลุแนวต้านที่ช่วงราคา 1.0824 - 1.0825 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 1.0830 และ SL ที่ประมาณ 1.0819 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้                 

Sell/Short 1 หากมีการแตะแนวต้านที่ช่วงราคา 1.0824 - 1.0825 แต่ไม่สามารถทะลุแนวต้านที่ 1.0824 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 1.0820 และ SL ที่ประมาณ 1.0826 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้

Sell/Short 2 หากสามารถทะลุแนวรับที่ช่วงราคา 1.0819 - 1.0820 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 1.0815 และ SL ที่ประมาณ 1.0825 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้

Pivot Points Jul 5, 2024 10:29AM GMT+7

Name
S3
S2
S1
Pivot Points
R1
R2
R3
Classic 1.0815 1.0817 1.082 1.0822 1.0825 1.0827 1.083
Fibonacci 1.0817 1.0819 1.082 1.0822 1.0824 1.0825 1.0827
Camarilla 1.0822 1.0822 1.0823 1.0822 1.0823 1.0824 1.0824
Woodie's 1.0815 1.0817 1.082 1.0822 1.0825 1.0827 1.083
DeMark's - - 1.0821 1.0822 1.0826 - -

ที่มา: Investing 1Investing 2

______________________________
อัพเกรดความรู้เพิ่มเติม: คลิกที่นี่
รู้เท่าทันสถานการณ์โลกและบทวิเคราะห์เทคนิคขั้นสูงคลิกที่นี่
Tags:

TECHNICAL ANALYSIS

ARTICLES