ท่าทีที่เข้มงวดของ RBA ท่ามกลางอัตราเงินเฟ้อ ส่งผลต่อการคาดการณ์ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย
แม้จะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 4.35% แต่ RBA ยังคงสงวนจุดยืนที่เข้มงวดมากกว่าที่คาดไว้ โดยได้รับแรงหนุนจากอัตราเงินเฟ้อดัชนีราคาผู้บริโภคที่เกินคาดในช่วง 3 เดือน และอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานที่ยังคงสูงกว่าเป้าหมาย 2-3% โดย RBA ยังคงคาดการณ์ว่าอัตราเงินเฟ้อจะลดลงสู่เป้าหมายได้ภายในปี 2026 ขณะที่คณะกรรมการฯ เน้นย้ำว่าการบรรลุเป้าหมายดังกล่าวโดยไม่ส่งผลต่อการหยุดชะงักในการจ้างงานยังคงเป็นเรื่องที่ท้าทายมากขึ้น ท่ามกลางนักวิเคราะห์จาก UBS ที่คาดการณ์ว่าอาจมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเกิดขึ้นภายในเดือนสิงหาคม หากอัตราเงินเฟ้อและความแข็งแกร่งของตลาดแรงงานยังคงสูง และคาดว่าจะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในเดือนเมษายน 2025
สำหรับความเชื่อมั่นผู้บริโภคออสเตรเลียลดลงในช่วงต้นเดือนกรกฎาคม ใกล้ระดับต่ำสุดนับตั้งแต่การระบาดใหญ่ของโควิด-19 โดยดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของสถาบัน Westpac-Melbourne Institute ลดลง 1.1% ในเดือนกรกฎาคม หลังจากเพิ่มขึ้น 1.7% ในเดือนก่อนหน้า ซึ่งเป็นผลมาจากอัตราเงินเฟ้อที่สูงกว่าที่คาดการณ์ไว้เป็นเวลา 3 เดือน นำไปสู่การคาดการณ์ว่าธนาคารกลางออสเตรเลีย (RBA) อาจขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกในปีนี้และคงอัตราดอกเบี้ยไว้นานกว่าที่คาดการณ์ไว้
โดยแม้จะมีมาตรการปรับลดภาษีเมื่อเร็วๆ นี้ ความกลัวเรื่องอัตราเงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นได้บดบังมุมมองเชิงบวก และส่งผลกระทบต่อการเงินในครัวเรือนและการใช้จ่ายของผู้บริโภค ท่ามกลางอัตราการจำนองและค่าเช่าที่อยู่อาศัยที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคซบเซามายาวนานกว่าหนึ่งปี
ทั้งนี้ ตามรายงานของที่ปรึกษาด้านอสังหาริมทรัพย์ CoreLogic ในเดือนมิถุนายน ราคาบ้านในออสเตรเลียเพิ่มขึ้นเป็นเดือนที่ 17 ติดต่อกัน ท่ามกลางอัตราดอกเบี้ยที่สูง ค่าครองชีพที่รัดตัว และเงื่อนไขการให้สินเชื่อที่เข้มงวด ขณะที่ยอดค้าปลีกในเดือนพฤษภาคมเติบโตเกินคาด โดยได้รับแรงหนุนจากโปรโมชั่นสิ้นปี ท่ามกลางการใช้จ่ายโดยรวมที่ยังคงนิ่งเนื่องจากอัตราเงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ยที่สูง ซึ่งแม้จะมีกิจกรรมลดราคาและการส่งเสริมการขาย แต่การใช้จ่ายพื้นฐานยังคงทรงตัว อย่างไรก็ตาม การใช้จ่ายค้าปลีกที่เพิ่มขึ้นเล็กน้อย ยังคงบ่งชี้ถึงความยืดหยุ่นของผู้บริโภค ซึ่งอาจส่งผลให้การคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อมีความซับซ้อนยิ่งขึ้น
ทางด้านดุลการค้าของออสเตรเลียในเดือนพฤษภาคมลดลง โดยพบการส่งออกเพิ่มขึ้น 3.9% เมื่อเทียบเป็นรายเดือน หลังจากลดลงอย่างมากในเดือนก่อน โดยการส่งออกสินค้าโภคภัณฑ์ที่สำคัญ เช่น แร่เหล็กและโลหะ ยังคงอ่อนแอเนื่องจากอุปสงค์ที่ซบเซาจากจีน ขณะที่การนำเข้าขยายตัว 3.9% เมื่อเทียบเป็นรายเดือน โดยได้แรงหนุนจากสินค้าอุปโภคบริโภคและรถยนต์ โดยความต้องการส่งออกที่อ่อนแอจากตลาดหลักๆ ในเอเชียและยุโรปทำให้การเติบโตของการส่งออกลดลง ซึ่งส่งผลกระทบต่อผู้ผลิตสินค้าโภคภัณฑ์ของประเทศ
อีกด้าน การประกาศรับสมัครงานในออสเตรเลียลดลงเป็นเดือนที่ 5 ติดต่อกันในเดือนมิถุนายน สะท้อนถึงความต้องการแรงงานที่ลดลงท่ามกลางอัตราดอกเบี้ยที่สูงและเศรษฐกิจที่ชะลอตัว โดยการลดลงของโฆษณารับสมัครงานสำหรับพนักงานทำความสะอาด พนักงานขาย และพนักงานบริการด้านอาหาร ได้ส่งผลให้ตัวเลขโดยรวมลดลง ขณะที่รายงานการจ้างงานในวันที่ 18 กรกฎาคม จะมีความสำคัญอย่างยิ่งในการประเมินความแข็งแกร่งของตลาดแรงงาน
ทั้งนี้ เมื่อวันพุธ ค่าเงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้นหลังจากที่ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ เจอโรม พาวเวลล์ บอกเป็นนัยถึงการปรับลดอัตราดอกเบี้ยที่ยังเป็นเรื่องไกลตัว และจำเป็นต้องมี "ความมั่นใจมากขึ้น" ว่าอัตราเงินเฟ้อจะสามารถเคลื่อนไปสู่เป้าหมาย 2% โดยในการให้สัมภาษณ์กับสภาคองเกรส พาวเวลล์กล่าวถึงตลาดงานที่เย็นลง และเน้นถึงความจำเป็นในการสร้างสมดุลระหว่างอัตราเงินเฟ้อและความเสี่ยงทางเศรษฐกิจ
โดยพาวเวลล์ชี้ให้เห็นว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ ไม่ได้ร้อนระอุอีกต่อไป และตลาดแรงงานก็ได้ทรงตัวจนถึงระดับก่อนเกิดการระบาด โดยแม้จะมีการเลือกตั้งประธานาธิบดีและแรงกดดันทางการเมืองที่กำลังจะเกิดขึ้น พาวเวลล์ยังคงยืนยันอีกครั้งถึงความเป็นอิสระของเฟดและแนวทางนโยบายที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล ท่ามกลางนักวิเคราะห์และนักลงทุนที่คาดการณ์ถึงแนวโน้ม 73% ที่จุดยืนดังกล่าวอาจนำไปสู่การปรับลดอัตราดอกเบี้ยอย่างเร็วที่สุดในเดือนกันยายน
สำหรับความเชื่อมั่นของธุรกิจขนาดเล็กในสหรัฐฯ ในเดือนมิถุนายนเพิ่มขึ้นสู่ระดับสูงสุดในรอบ 6 เดือน ตามข้อมูลของสภาธุรกิจอิสระแห่งชาติ (NFIB) ท่ามกลางความกังวลเรื่องเงินเฟ้อและต้นทุนการกู้ยืมที่สูงขึ้น โดยธุรกิจจำนวนมากวางแผนที่จะขึ้นค่าชดเชยแรงงาน แม้ว่าตำแหน่งงานว่างจะลดลงเล็กน้อย จึงอาจส่งผลให้คู่สกุล AUD/USD มีแนวโน้มซื้อขายขึ้นลงในกรอบกว้างๆ ได้ในช่วงนี้ โดยการแข็งค่าของ AUD คาดว่าจะยังถูกจำกัดอย่างต่อเนื่องในระยะกลาง
ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค (1D) CFD AUD/USD
แนวต้านสำคัญ : 0.6748, 0.6754, 0.6764
แนวรับสำคัญ : 0.6728, 0.6722, 0.6712
1D Outlook
ที่มา: TradingView
Buy/Long 1 หากมีการแตะแนวรับที่ช่วงราคา 0.6688 - 0.6728 แต่ไม่สามารถเบรกแนวรับที่ 0.6728 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.6753 และ SL ที่ประมาณ 0.6668 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Buy/Long 2 หากสามารถเบรกแนวต้านที่ช่วงราคา 0.6748 - 0.6788 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.6800 และ SL ที่ประมาณ 0.6708 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 1 หากมีการแตะแนวต้านที่ช่วงราคา 0.6748 - 0.6788 แต่ไม่สามารถเบรกแนวต้านที่ 0.6748 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.6727 และ SL ที่ประมาณ 0.6808 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 2 หากสามารถเบรกแนวรับที่ช่วงราคา 0.6688 - 0.6728 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.6664 และ SL ที่ประมาณ 0.6768 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Pivot Points Jul 10, 2024 11:06AM GMT+7
Name
|
S3
|
S2
|
S1
|
Pivot Points
|
R1
|
R2
|
R3
|
---|---|---|---|---|---|---|---|
Classic | 0.6701 | 0.6712 | 0.6727 | 0.6738 | 0.6753 | 0.6764 | 0.6778 |
Fibonacci | 0.6712 | 0.6722 | 0.6728 | 0.6738 | 0.6748 | 0.6754 | 0.6764 |
Camarilla | 0.6733 | 0.6735 | 0.6738 | 0.6738 | 0.6742 | 0.6745 | 0.6747 |
Woodie's | 0.6701 | 0.6712 | 0.6727 | 0.6738 | 0.6753 | 0.6764 | 0.6778 |
DeMark's | - | - | 0.6732 | 0.6741 | 0.6758 | - | - |
ที่มา: Investing 1, Investing 2
อัพเกรดความรู้เพิ่มเติม: คลิ