RBA อาจชะลอการปรับลดอัตราดอกเบี้ยออกไปก่อน
ค่าเงินดอลลาร์ออสเตรเลียยังคงทรงตัว เนื่องจากนักลงทุนยังคงประเมินแนวโน้มนโยบายการเงินของธนาคารกลางออสเตรเลียต่อไป โดยพิจารณาจากข้อมูลรายงานเศรษฐกิจที่ผสมผสานกัน โดยในตอนนี้ นักลงทุนกำลังจับตาดูข้อมูลการคาดการณ์เงินเฟ้อในเดือนกรกฎาคมในสัปดาห์นี้เพื่อวิเคราะห์แนวโน้มนโยบายทางการเงิน โดยนักลงทุนได้ลดการคาดการณ์การขึ้นอัตราดอกเบี้ยของ RBA ลงเหลือ 22% ในเดือนสิงหาคม ทั้งนี้ ค่าเงินดอลลาร์ออสเตรเลียยังคงแข็งแกร่งเมื่อเทียบกับคู่เงินอื่นๆ ท่ามกลางความคาดหวังว่า RBA จะลดอัตราดอกเบี้ยช้ากว่าธนาคารกลางอื่นๆ
PMI ภาคการผลิตลดลงเหลือ 47.2 ในเดือนมิถุนายน จาก 49.7 ในเดือนพฤษภาคม ซึ่งถือเป็นการหดตัวเป็นเดือนที่ 5 ติดต่อกัน เนื่องจากคำสั่งซื้อใหม่จากผู้ผลิตสินค้ายังคงลดลงต่อเนื่อง ส่งผลให้การผลิตลดลงในอัตราที่เร็วที่สุดในรอบ 3 เดือน ซึ่งส่งผลกระทบให้การจ้างงาน, สินค้าคลคลังและกิจกรรมการซื้อสินค้าทุนลดลงตามไปด้วย
ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจในออสเตรเลีย ซึ่งเป็นดัชนีบ่งชี้ถึงกิจกรรมทางเศรษฐกิจในอีก 3-9 เดือนข้างหน้า ทรงตัวในเดือนพฤษภาคม ในขณะเดียวกัน อัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นช่วงก่อนหน้า, ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่ลดลงและตลาดที่อยู่อาศัยที่อ่อนแอ ทำให้การคาดการณ์การเติบโตยังคงทรงตัวและอาจเกิดเศรษฐกิจถดถอยได้หากไม่ได้รับการสนับสนุนที่ดีพอ
Matthew Hassan นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสกล่าวว่า ดัชนีชี้ให้เห็นการเติบโตที่ต่ำกว่าแนวโน้มเล็กน้อยในช่วงครึ่งหลังของปี 2024 และไปจนถึงต้นปี 2025 โดยการเติบโตของ GDP ในอัตราที่อ่อนแอถือเป็นสัญญาณสำคัญที่จะส่งผลตอนโยบายทางการเงินในอนาคต ทั้งนี้ มีการคาดการณ์จากนักลงทุนว่าธนาคารกลางจะคงอัตราดอกเบี้ยในการประชุมเดือนสิงหาคม เนื่องจากข้อมูลเศรษฐกิจที่ยังไม่ชัดเจน
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของ Westpac-Melbourne Institute ของออสเตรเลียเพิ่มขึ้น 1.7% เมื่อเทียบเป็นรายเดือน สู่ระดับสูงสุดในรอบ 3 เดือนที่ 83.6 ในเดือนมิถุนายน แต่ผลลัพธ์ล่าสุดยังคงอยู่ไกลจากค่ากลางที่ 100 เนื่องจากมาตรการสนับสนุนทางการเงินไม่เพียงพอที่จะคลายความกังวลเกี่ยวกับเงินเฟ้อที่สูงและอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น โดยค่าใช้จ่ายในภาคครัวเรือนเมื่อเทียบกับปีที่แล้วเพิ่มขึ้นมากกว่า 9.7% ทำให้ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคต่อสภาวะเศรษฐกิจสำหรับ 12 เดือนถัดไปลดลง 5.7% เหลือเพียง 78.5
ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค (5H)
แนวต้านสำคัญ: 1.4871, 1.4871, 1.4891
แนวรับสำคัญ: 1.4817, 1.4797, 1.478
ที่มา: Investing.com
Buy/Long 1: หากมีการแตะแนวรับที่ช่วงราคา 1.4797 - 1.4817 แต่ไม่สามารถเบรกแนวรับที่ 1.4817 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 1.4871 และ SL ที่ประมาณ 1.478 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Buy/Long 2: หากสามารถเบรกแนวต้านที่ช่วงราคา 1.4854 - 1.4871 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 1.4891 และ SL ที่ประมาณ 1.4797 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 1: หากมีการแตะแนวต้านที่ช่วงราคา 1.4854 - 1.4871 แต่ไม่สามารถเบรกแนวต้านที่ 1.4854 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 1.4797 และ SL ที่ประมาณ 1.4891 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 2: หากสามารถเบรกแนวรับที่ช่วงราคา 1.4797 - 1.4817 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 1.478 และ SL ที่ประมาณ 1.4871 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
จุดกลับตัว 10 กรกฎาคม 2567 19:35 น. GMT+7
ชื่อ
|
S3
|
S2
|
S1
|
จุดกลับตัว
|
R1
|
R2
|
R3
|
Classic | 1.478 | 1.4797 | 1.4817 | 1.4834 | 1.4854 | 1.4871 | 1.4891 |
Fibonacci | 1.4797 | 1.4811 | 1.482 | 1.4834 | 1.4848 | 1.4857 | 1.4871 |
Camarilla | 1.4828 | 1.4831 | 1.4835 | 1.4834 | 1.4841 | 1.4845 | 1.4848 |
Woodie's | 1.4782 | 1.4798 | 1.4819 | 1.4835 | 1.4856 | 1.4872 | 1.4893 |
DeMark's | - | - | 1.4826 | 1.4838 | 1.4863 | - | - |