อัตราเงินเฟ้อในญี่ปุ่นยังคงเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง
เงินเยนของญี่ปุ่นอ่อนค่าลงต่อเนื่องเกิน 161 เยนต่อดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งอยู่ใกล้ระดับต่ำสุดในรอบ 38 ปี เนื่องจากนักลงทุนยังไม่แน่ใจว่าธนาคารกลางญี่ปุ่นจะมีมาตราการควบคุมเศรษฐกิจภายในประเทศและกดดันให้อัตราเงินเฟ้อให้ลดลงได้อีกครั้ง
นักลงทุนคาดว่าธนาคารกลางญี่ปุ่นจะประกาศแผนลดการซื้อพันธบัตรในช่วงปลายเดือนกรกฎาคมและยังมีการคาดการณ์ว่าธนาคารกลางอาจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกครั้งในเดือนนี้ ท่ามกลางแรงกดดันจากต้นทุนการขุดเจาะน้ำมันที่สูงขึ้นจากต่างประเทศ ทำให้ราคาน้ำมันกลับมาเพิ่มขึ้นอีกครั้ง เงินเยนที่อ่อนค่าลงอย่างรวดเร็วยังทำให้การนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศมีต้นทุนที่เพิ่มขึ้นด้วย ในขณะเดียวกัน นักลงทุนกำลังรอตัวเลขเงินเฟ้อของสหรัฐฯ ซึ่งอาจช่วยสนับสนุนการคาดการณ์การปรับลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ ได้
การใช้จ่ายครัวเรือนในญี่ปุ่นลดลง 1.8% ในเดือนพฤษภาคม ซึ่งต่ำกว่าการคาดการณ์ของตลาดที่คาดว่าจะเติบโต 0.1% นับว่าเป็นการหดตัวครั้งที่ 4 ภายในปีนี้ โดยค่าใช้จ่ายด้านอาหารและ ด้านที่อยู่อาศัยยังคงลดลงต่อเนื่อง ในขณะที่ค่าเชื้อเพลิง, ค่าไฟและค่าน้ำกลับมาหดตัวอย่างรวดเร็ว เนื่องจากทางรัฐบาลได้ยกเลิกนโยบายที่ช่วยสนับสนุนค่าน้ำและค่าไฟ ทั้งนี้ การใช้จ่ายภาคครัวเรือนที่ลดลงยังแสดงให้เห็นถึงต้นทุนที่เพิ่มมากขึ้น รวมถึงการหดตัวของรายได้ เช่น รายได้รายชั่วโมงหรือการปรับขึ้นเงินเดือนที่ลดลง
ดัชนี PMI ภาคบริการของญี่ปุ่นลดลงสู่ 49.8 ในเดือนมิถุนายน จากระดับ 53.8 ในเดือนเมษายน ซึ่งเป็นการหดตัวครั้งแรกของภาคบริการในรอบหลายปี โดยคำสั่งซื้อใหม่, การส่งออก และการจ้างงานทั้งหมดเพิ่มขึ้นในอัตราที่ลดลง ในขณะเดียวกันต้นทุนของปัจจัยการผลิตที่เพิ่มขึ้นยังทำให้บริษัทต่างๆ จำเป็นต้องปรับโครงสร้างพื้นฐานใหม่ และออกนโยบายเพื่อสนับสนุนยอดขาย ทำให้ความเชื่อมั่นทางธุรกิจลดลงสู่ระดับต่ำสุดตั้งแต่ปี 2014 เนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับด้านแรงงานและต้นทุนที่เพิ่มขึ้น
อัตราเงินเฟ้อในญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นแตะ 2.8% เมื่อเทียบเป็นรายปีในเดือนพฤษภาคม เพิ่มขึ้นจาก 2.5% ในเดือนเมษายน เนื่องจากราคาพลังงานโดยเฉพาะราคาน้ำมันกลับมาเพิ่มขึ้นอีกครั้ง นอกจากนี้ค่าไฟฟ้ากลับมาเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เนื่องจากการอุดหนุนด้านพลังงานจากรัฐบาลสิ้นสุดลง ในขณะเดียวกัน ก็ส่งผลให้ต้นทุนการขนส่งรวมไปถึงราคาอาหารเพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน นอกจากนี้ ค่าเงินเยนที่อ่อนค่าลงต่อเนื่องส่งผลให้ต้นทุนการนำเข้าสินค้าต่างๆ เพิ่มสูงขึ้นและกระทบต่อต้นทุนการผลิต
ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค (5H)
แนวต้านสำคัญ: 161.73, 161.89, 162.02
แนวรับสำคัญ: 161.44, 161.31, 161.14
ที่มา: Investing.com
Buy/Long 1: หากมีการแตะแนวรับที่ช่วงราคา 161.31 - 161.44 แต่ไม่สามารถเบรกแนวรับที่ 161.44 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 161.89 และ SL ที่ประมาณ 161.14 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Buy/Long 2: หากสามารถเบรกแนวต้านที่ช่วงราคา 161.73 - 161.89 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 162.02 และ SL ที่ประมาณ 161.31 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 1: หากมีการแตะแนวต้านที่ช่วงราคา 161.73 - 161.89 แต่ไม่สามารถเบรกแนวต้านที่ 161.73 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 161.31 และ SL ที่ประมาณ 162.02 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 2: หากสามารถเบรกแนวรับที่ช่วงราคา 161.31 - 161.44 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 161.14 และ SL ที่ประมาณ 161.89 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
จุดกลับตัว 11 กรกฎาคม 2567 19:14 น. GMT+7
ชื่อ
|
S3
|
S2
|
S1
|
จุดกลับตัว
|
R1
|
R2
|
R3
|
Classic | 161.14 | 161.31 | 161.44 | 161.6 | 161.73 | 161.89 | 162.02 |
Fibonacci | 161.31 | 161.42 | 161.49 | 161.6 | 161.71 | 161.78 | 161.89 |
Camarilla | 161.47 | 161.5 | 161.53 | 161.6 | 161.58 | 161.61 | 161.64 |
Woodie's | 161.12 | 161.3 | 161.42 | 161.59 | 161.71 | 161.88 | 162 |
DeMark's | - | - | 161.37 | 161.56 | 161.66 | - | - |