เยนพุ่งท่ามกลางการคาดการณ์การเข้าแทรกแซงจากทางการและเงินเฟ้อที่ชะลอตัวในสหรัฐฯ
เมื่อวันพฤหัสบดี เงินเยนญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นมากที่สุดนับตั้งแต่ปลายปี 2022 เกือบ 3% ขณะที่สื่อท้องถิ่นรายงานสาเหตุมาจากการเข้าแทรกแซงจากทางการเพื่อกระตุ้นค่าเงิน ซึ่งแตะระดับต่ำสุดในรอบ 38 ปีก่อนหน้านี้ หลังจากที่ทางการญี่ปุ่นได้เข้าแทรกแซงครั้งล่าสุดเมื่อต้นเดือนพฤษภาคมเพื่อสนับสนุนค่าเงินเยน
ทางด้านมาซาโตะ คันดะ นักการทูตสกุลเงินปฏิเสธที่จะแสดงความคิดเห็นถึงการเกิดขึ้นจริงของการเข้าแทรกแซง แต่ตั้งข้อสังเกตว่าการเคลื่อนไหวของเงินเยนเมื่อเร็ว ๆ นี้ "ไม่สอดคล้องกับปัจจัยพื้นฐาน" ขณะที่เมื่อวันศุกร์ ค่าเงินเยนอ่อนค่าลงเล็กน้อยเนื่องจากนักลงทุนยังคงระมัดระวังหลังจากการดีดตัวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
โดยที่ผ่านมาทางการญี่ปุ่นมักจะเข้าแทรกแซงในเวลาที่เหมาะสม และมักจะนิ่งเงียบหลังจากนั้น ซึ่งวันหยุดประจำชาติในวันจันทร์อาจเป็นโอกาสอีกครั้งสำหรับการเข้าแทรกแซงตลาด และถึงแม้จะมีการแทรกแซงเกิดขึ้นเมื่อเร็วๆ นี้ แต่ค่าเงินเยนยังคงแตะระดับต่ำสุดในรอบ 38 ปีเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว
ทั้งนี้ ธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่น (BOJ) คาดว่าจะปรับลดการคาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจในปีนี้ในการประชุมเดือนกรกฎาคม แต่ยังคงประมาณการอัตราเงินเฟ้อไว้ที่กรอบเป้าหมาย 2% ในปีต่อ ๆ ไป อย่างไรก็ตาม BOJ คาดว่าจะไม่เปลี่ยนแปลงการคาดการณ์การเติบโตอย่างมีนัยสำคัญสำหรับปีงบประมาณ 2025 และ 2026 โดยยังคงแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในระดับปานกลาง ทั้งนี้ ธนาคารกลางจะเปิดเผยข้อมูลการเติบโตและการคาดการณ์ในวันที่ 30-31 กรกฎาคม และอาจพิจารณาขึ้นอัตราดอกเบี้ยจากระดับใกล้ศูนย์
อย่างไรก็ดี BOJ เน้นย้ำถึงการปรับขึ้นค่าจ้างในวงกว้าง โดยได้แรงหนุนจากตลาดแรงงานที่ตึงตัว หลังจากข้อมูลแสดงให้เห็นว่าค่าจ้างฐานเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 2.5% ในเดือนพฤษภาคม สูงที่สุดในรอบ 31 ปี แม้ว่าค่าจ้างที่แท้จริงจะลดลงเป็นเดือนที่ 26 ติดต่อกันเนื่องจากต้นทุนการนำเข้าที่สูงขึ้น ขณะที่คาซูโอะ อูเอดะ ผู้ว่าการ BOJ เน้นย้ำถึงความจำเป็นในการเพิ่มค่าจ้างในวงกว้างควบคู่ไปกับการขึ้นราคาสินค้าและบริการเพื่อให้บรรลุเป้าหมายเงินเฟ้อ
โดยโมเมนตัมการเติบโตของค่าจ้างในบริษัทขนาดเล็กและขนาดกลาง ซึ่งได้แรงหนุนจากการขาดแคลนแรงงานและแรงกดดันด้านเงินเฟ้อ อาจทำให้เกิดการขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกครั้ง จากผลการสำรวจของ BOJ เปิดเผยว่าบริษัทดังกล่าวตระหนักถึงความจำเป็นในการปรับขึ้นค่าจ้างอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าจะมีความยากลำบากในการส่งผ่านต้นทุนไปสู่ราคา ขณะที่ Rengo สหภาพแรงงานที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ รายงานว่ามีการขึ้นค่าจ้างสูงสุดในรอบสามทศวรรษ โดยเฉลี่ย 5.10% ในปีงบประมาณนี้
อย่างไรก็ดี ญี่ปุ่นคาดว่าจะเผชิญกับปัญหาการขาดแคลนแรงงานต่างชาติเกือบ 1 ล้านคนภายในปี 2040 ในการบรรลุเป้าหมายการเติบโตทางเศรษฐกิจ สำนักงานความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (JICA) คาดการณ์ว่าภายในปี 2040 แรงงานต่างชาติในญี่ปุ่นจะอยู่ที่ 5.91 ล้านคน ซึ่งยังไม่เพียงพอต่อความต้องการที่ 6.91 ล้านคนเพื่อรักษาอัตราการเติบโต 1.24% ต่อปี ซึ่งความต้องการแรงงานต่างชาติมีความสำคัญอย่างยิ่งเนื่องจากญี่ปุ่นมีประชากรสูงวัยและมีอัตราการเกิดต่ำ ท่ามกลางความพยายามในการดึงดูดแรงงานต่างชาติที่ยังคงดำเนินต่อไป แต่ความท้าทายต่างๆ เช่น เงินเยนที่อ่อนค่าลง ค่าแรงต่ำ และปัญหาด้านสิทธิมนุษยชน ยังคงจำเป็นต้องได้รับการแก้ไขเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันในตลาดเพื่อดึงดูดผู้มีความสามารถจากทั่วโลก
อีกด้าน จากการสำรวจของธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่น (BOJ) พบว่าครัวเรือนญี่ปุ่นเกือบ 90% คาดการณ์ว่าดัชนีราคาจะเพิ่มขึ้นในปีหน้า และบ่งชี้ถึงการคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม ครัวเรือนยังคงมีทัศนคติในแง่ลบต่อภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันมากกว่าเมื่อ 3 เดือนที่ผ่านมา ซึ่งอาจส่งผลเสียต่ออัตราการบริโภค ขณะที่การใช้จ่ายภาคครัวเรือนของญี่ปุ่นลดลงอย่างไม่คาดคิดในเดือนพฤษภาคม เนื่องจากราคาที่สูงได้บีบกำลังซื้อ โดยนักวิเคราะห์คาดว่าการบริโภคจะฟื้นตัวได้จากการขึ้นค่าจ้างและการลดหย่อนภาษีอย่างมีนัยสำคัญ
สำหรับคำสั่งซื้อเครื่องจักรพื้นฐานในญี่ปุ่นลดลงเป็นเดือนที่สองติดต่อกันในเดือนพฤษภาคม สร้างความกังวลเกี่ยวกับการใช้จ่ายด้านทุนและการฟื้นตัวอย่างยั่งยืน ขณะที่อัตราเงินเฟ้อขายส่งของญี่ปุ่นเร่งตัวขึ้นในเดือนมิถุนายนเนื่องจากการลดลงของเงินเยนทำให้ต้นทุนการนำเข้าวัตถุดิบเพิ่มขึ้น โดยดัชนีราคาสินค้าผู้ประกอบการ (CGPI) เพิ่มขึ้น 2.9% ในเดือนมิถุนายน ซึ่งตรงกับการคาดการณ์ของตลาด และแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์เป็นเดือนที่ 7 ติดต่อกัน ขณะที่ดัชนีราคานำเข้าที่ใช้สกุลเงินเยนเพิ่มขึ้น 9.5% ในเดือนมิถุนายน ซึ่งสะท้อนถึงผลกระทบของค่าเงินเยนที่อ่อนตัวลงต่อต้นทุนการนำเข้า
ทางด้านดุลบัญชีเดินสะพัดของญี่ปุ่นเกินดุลเพิ่มขึ้นเป็นเดือนที่ 15 ติดต่อกันในเดือนพฤษภาคม แตะที่ 2.85 ล้านล้านเยน (17.74 พันล้านดอลลาร์) และเกินความคาดหมาย โดยการเกินดุลดังกล่าวได้รับแรงหนุนจากการเกินดุลรายได้หลักซึ่งชดเชยการขาดดุลการค้า จากผลตอบแทนจากการลงทุนในหลักทรัพย์ในต่างประเทศและเงินเยนที่อ่อนค่า
อย่างไรก็ดี เงินเยนยังแข็งค่าขึ้นหลังจากการเปิดเผยข้อมูลของสหรัฐฯ ที่แสดงให้เห็นถึงราคาผู้บริโภคที่ลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 4 ปี บ่งชี้ถึงภาวะเงินเฟ้อชะลอตัวและเพิ่มความเป็นไปได้ที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ จะปรับลดอัตราดอกเบี้ย จึงอาจส่งผลให้การซื้อขายคู่สกุล USD/JPY ในช่วงนี้อาจเผชิญกับความเสี่ยงและความผันผวนที่มากขึ้น โดยมีแนวโน้มที่เงินเยนจะอ่อนค่าลงอีกครั้งหลังต้นสัปดาห์หน้าหากไม่มีการเข้าแทรกแซงจากทางการญี่ปุ่นเพิ่มเติม
ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค (30Min) CFD USD/JPY
แนวต้านสำคัญ : 159.17, 159.21, 159.26
แนวรับสำคัญ : 159.05, 159.01, 158.96
30Min Outlook
ที่มา: TradingView
Buy/Long 1 หากมีการแตะแนวรับที่ช่วงราคา 158.90 – 159.05 แต่ไม่สามารถเบรกแนวรับที่ 159.05 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 159.19 และ SL ที่ประมาณ 158.83 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Buy/Long 2 หากสามารถเบรกแนวต้านที่ช่วงราคา 159.17 – 159.32 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 159.45 และ SL ที่ประมาณ 158.98 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 1 หากมีการแตะแนวต้านที่ช่วงราคา 159.17 – 159.32 แต่ไม่สามารถเบรกแนวต้านที่ 159.17 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 159.04 และ SL ที่ประมาณ 159.39 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 2 หากสามารถเบรกแนวรับที่ช่วงราคา 158.90 – 159.05 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 158.77 และ SL ที่ประมาณ 159.24 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Pivot Points Jul 12, 2024 04:03PM GMT+7
Name
|
S3
|
S2
|
S1
|
Pivot Points
|
R1
|
R2
|
R3
|
---|---|---|---|---|---|---|---|
Classic | 158.88 | 158.96 | 159.04 | 159.11 | 159.19 | 159.26 | 159.35 |
Fibonacci | 158.96 | 159.01 | 159.05 | 159.11 | 159.17 | 159.21 | 159.26 |
Camarilla | 159.06 | 159.07 | 159.09 | 159.11 | 159.11 | 159.13 | 159.14 |
Woodie's | 158.86 | 158.95 | 159.02 | 159.1 | 159.17 | 159.25 | 159.32 |
DeMark's | - | - | 158.99 | 159.09 | 159.15 | - | - |
ที่มา: Investing 1, Investing 2
อัพเกรดความรู้เพิ่มเติม: คลิ