เศรษฐกิจจีนจำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนเพิ่มเติม
ค่าเงินหยวนอ่อนค่าลงอีกครั้ง หลังจากดีดตัวขึ้นในช่วงสั้นๆ ในขณะที่นักลงทุนจำเป็นต้องพิจารณาข้อมูลเศรษฐกิจของประเทศจีนเพิ่มเติม แม้ว่ากำไรของบริษัทต่างๆจะเพิ่มมากขึ้น แต่อัตราเงินเฟ้อที่ลดลงหนึ่งปัจจัยหลักที่ทำให้นักลงทุนยังมองว่าเศรษฐกิจจีนอาจจะยังไม่ได้ฟื้นตัวอย่างเต็มที่และจำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนจากทางรัฐบาลเพิ่มเติม ถือเป็นอีกหนึ่งเหตุผลสำคัญที่ทำให้เงินหยวนกลับมาอ่อนค่าลงอีกครั้ง
กำไรของบริษัทอุตสาหกรรมของจีนเพิ่มขึ้น 3.4% เมื่อเทียบเป็นรายปีในช่วง 5 เดือนแรก โดยเพิ่มขึ้นเป็น 2,754 พันล้านหยวน แต่นี่ก็เป็นอัตราการเติบโตที่ชะลอตัวลงหลังจากที่เติบโต 4.3% ในช่วงก่อนหน้า โดยมีข้อมูลล่าสุดแสดงให้เห็นถึงการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่เริ่มมีแนวโน้มดีขึ้น หลังจากที่ชะลอตัวลงต่อเนื่องตั้งแต่ปีที่ผ่านมา เนื่องจากอุปสงค์ภายในประเทศที่อ่อนแอ, ความเสี่ยงจากภาวะเงินฝืดและวิกฤติอสังหาริมทรัพย์ โดยการฟื้นตัวนี้อาจนำไปสู่การจ้างงานที่เพิ่มมากขึ้นในอนาคต
PMI ภาคการผลิตของจีนอยู่ที่ 49.5 ในเดือนมิถุนายน สอดคล้องกับการคาดการณ์ของตลาด ถือเป็นการหดตัวของกิจกรรมโรงงานครั้งที่ 4 ในปีนี้ เนื่องจากจีนจำเป็นต้องกระตุ้นการฟื้นตัวของเศรษฐกิจภายในประเทศจากอุปสงค์ที่กำลังชะลอตัวต่อเนื่อง โดยคำสั่งซื้อใหม่และยอดส่งออกไปยังต่างประเทศยังคงทรงตัว ในขณะที่การจ้างงานลดลงเล็กน้อยเนื่องจากแรงกดดันด้านต้นทุนที่สูงขึ้น
PMI ภาคบริการของจีนลดลงเหลือ 51.2 ในเดือนมิถุนายน ลดลงจากระดับสูงสุดในรอบ 10 เดือนที่ 54.0 ในเดือนพฤษภาคม ถือเป็นการขยายตัวอย่างต่อเนื่องของภาคบริการเดือนที่ 18 ติดต่อกัน แต่เป็นการอัตราการขยายตัวที่ช้าที่สุดตั้งแต่ปีที่ผ่านมา เนื่องจากคำสั่งซื้อใหม่และคำสั่งซื้อส่งออกเติบโตช้าลง ในขณะที่การจ้างงานลดลงเล็กน้อยจากการลาออกและการเลิกจ้าง เนื่องจากการแข่งขันที่สูงขึ้นและจำเป็นต้องลดต้นทุนให้ได้มากที่สุด ในด้านต้นทุนการผลิต ก็เพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน เนื่องจากต้นทุนวัสดุ, แรงงานและการขนส่งที่สูงขึ้น
อัตราเงินเฟ้อของจีนลดลงเหลือ 0.2% ในเดือนมิถุนายน ต่ำกว่าการคาดการณ์ของตลาดที่ 0.4% ท่ามกลางการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่ยังคงทรงตัว แต่เริ่มเห็นสัญญาณที่ดีมากขึ้นในบางอุตสาหกรรมหลังจากที่มีการสนับสนุนโดยรัฐบาล โดยราคาอาหารยังคงลดลงเป็นเดือนที่ 12 ติดต่อกัน แม้ว่าราคาเนื้อหมูจะพุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงเทศกาล ในขณะเดียวกัน ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานที่ไม่รวมราคาอาหารและพลังงานเพิ่มขึ้น 0.6% เมื่อเทียบเป็นรายปี
ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค (5H)
แนวต้านสำคัญ: 7.2607, 7.2692, 7.2735
แนวรับสำคัญ: 7.248, 7.2438, 7.2353
ที่มา: Investing.com
Buy/Long 1: หากมีการแตะแนวรับที่ช่วงราคา 7.2438 - 7.248 แต่ไม่สามารถเบรกแนวรับที่ 7.248 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 7.2692 และ SL ที่ประมาณ 7.2353 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Buy/Long 2: หากสามารถเบรกแนวต้านที่ช่วงราคา 7.2607 - 7.2692 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 7.2735 และ SL ที่ประมาณ 7.2438 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 1: หากมีการแตะแนวต้านที่ช่วงราคา 7.2607 - 7.2692 แต่ไม่สามารถเบรกแนวต้านที่ 7.2607 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 7.2438 และ SL ที่ประมาณ 7.2735 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 2: หากสามารถเบรกแนวรับที่ช่วงราคา 7.2438 - 7.248 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 7.2353 และ SL ที่ประมาณ 7.2692 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
จุดกลับตัว 12 กรกฎาคม 2567 19:39 น. GMT+7
ชื่อ
|
S3
|
S2
|
S1
|
จุดกลับตัว
|
R1
|
R2
|
R3
|
Classic | 7.2353 | 7.2438 | 7.248 | 7.2565 | 7.2607 | 7.2692 | 7.2735 |
Fibonacci | 7.2438 | 7.2486 | 7.2516 | 7.2565 | 7.2614 | 7.2644 | 7.2692 |
Camarilla | 7.2489 | 7.2501 | 7.2512 | 7.2565 | 7.2536 | 7.2547 | 7.2559 |
Woodie's | 7.2333 | 7.2428 | 7.246 | 7.2555 | 7.2587 | 7.2682 | 7.2715 |
DeMark's | - | - | 7.246 | 7.2555 | 7.2587 | - | - |