เศรษฐกิจรัสเซียยังคงถูกกดดันจากการคว่ำบาตร
ค่าเงินรูเบิลรัสเซียยังคงทรงตัวอยู่ที่ 88 รูเบิลต่อดอลลาร์สหรัฐ โดยได้รับแรงหนุนจากขายสกุลเงินต่างประเทศที่ได้จากการส่งออกสินค้า ทำให้ค่าเงินรูเบิลยังสามารถทรงตัวได้ดีเมื่อเทียบกับค่าเงินอื่นๆ ทั้งนี้ รัสเซียยังคงได้รับผลจากการคว่ำบาตรระบบการเงินหลักของสหรัฐฯ ทำให้การนำเข้าและส่งออกสินค้าเป็นเรื่องยากมากขึ้น เนื่องจากค่าขนส่งสินค้าและอุปสงค์จากต่างประเทศที่ลดลงทำให้กำไรที่สามารถทำได้ลดลงตามไปด้วย
อัตราเงินเฟ้อในรัสเซียพุ่งสูงขึ้นเป็น 8.6% เมื่อเทียบเป็นรายปีในเดือนมิถุนายน จาก 8.3% ในเดือนก่อนหน้า โดยแนวโน้มอัตราเงินเฟ้อยังคงเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเมื่อเทียบกับต้นปีที่ผ่านมา เนื่องจากเศรษฐกิจภายในประเทศส่วนใหญ่ยังคงได้รับผลจากการคว่ำบาตรของชาติตะวันตก ทำให้ความสามารถในการแข่งขันของเศรษฐกิจรัสเซียลดลงอย่างมาก โดยตัวเลขอัตราเงินเฟ้อดังกล่าวสอดคล้องกับสัญญาณทางเศรษฐกิจที่ธนาคารกลางรัสเซัยได้คาดการณ์ไว้ ด้านธนาคารกลางได้ให้ความคิดเห็นว่ากำลังการผลิตภายในประเทศจะถูกกดดันอย่างรุนแรงและบางส่วนทำให้เงินเฟ้อเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
ยอดค้าปลีกในรัสเซียเพิ่มขึ้น 7.5% เมื่อเทียบเป็นรายปีในเดือนพฤษภาคม หลังจากการเพิ่มขึ้นมากกว่า 8.2% ในเดือนก่อนหน้า ถือเป็นการเติบโตต่อเนื่องของยอดค้าปลีกเป็นเดือนที่ 14 ติดต่อกัน โดยกิจกรรมการซื้อขายภายในประเทศเริ่มมีการชะลอตัวลงเล็กน้อยหลังจากที่เพิ่มขึ้นในช่วงหลายเดือนก่อนหน้า ทั้งนี้ รัฐบาลยังคงให้การสนับสนุนเศรษฐกิจภายในประเทศอย่างต่อเนื่อง โดยจะเน้นไปที่ภาคการผลิต เนื่องจากการขาดกำลังแรงงานที่สำคัญและการถูกกดดันจากต่างประเทศ
อัตราการว่างงานของรัสเซียยังคงอยู่ที่ระดับต่ำสุดที่ 2.6% ในเดือนพฤษภาคม ไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือนเมษายนและต่ำกว่าการคาดการณ์ของตลาดที่ 2.7% แม้ว่าจะได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล แต่การขาดบุคลากรเฉพาะทางยังคงเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้การจ้างงานเพิ่มสูงขึ้นได้ โดย จำนวนผู้ว่างงานเพิ่มขึ้น 44,000 คนจากเดือนก่อนหน้าเป็น 2 ล้านคน ทำให้อัตราการว่างงานเมื่อเทียบเป็นรายเดือนกลับมาสูงขึ้นที่ 3.2%
ดัชนี PMI ภาคบริการของรัสเซียลดลงเหลือ 47.6 ในเดือนมิถุนายน ลดลงจาก 49.8 ในเดือนก่อนหน้า แสดงให้เห็นถึงการหดตัวอีกครั้งในภาคการบริการและเป็นการลดลงต่ำที่สุดตั้งแต่ปี 2023 เนื่องจากเกิดการชะลอตัวของธุรกิจเกิดใหม่ ทำให้การซื้อขายสินค้าต่างๆ จากฐานลูกค้าใหม่ลดลงตามไปด้วยและได้รับแรงกดดันเพิ่มเติมจากจำนวนลูกค้าเก่าที่ลดลง ทั้งนี้ ต้นทุนปัจจัยการผลิตกลับมาเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและเป็นการพิ่มขึ้นเร็วที่สุดตั้งแต่เดือนมกราคม เนื่องจากค่าจ้างที่สูงขึ้นและค่าขนส่งที่เพิ่มขึ้นจากราคาพลังงานที่ปรับเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้การประกาศรับสมัครงานลดลงต่ำสุดในรอบ 4 เดือน
ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค (5H)
แนวต้านสำคัญ: 88.1609, 88.2682, 88.4528
แนวรับสำคัญ: 87.8689, 87.6842, 87.577
ที่มา: Investing.com
Buy/Long 1: หากมีการแตะแนวรับที่ช่วงราคา 87.6842 - 87.8689 แต่ไม่สามารถเบรกแนวรับที่ 87.8689 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 88.2682 และ SL ที่ประมาณ 87.577 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Buy/Long 2: หากสามารถเบรกแนวต้านที่ช่วงราคา 88.1609 - 88.2682 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 88.4528 และ SL ที่ประมาณ 87.6842 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 1: หากมีการแตะแนวต้านที่ช่วงราคา 88.1609 - 88.2682 แต่ไม่สามารถเบรกแนวต้านที่ 88.1609 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 87.6842 และ SL ที่ประมาณ 88.4528 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 2: หากสามารถเบรกแนวรับที่ช่วงราคา 87.6842 - 87.8689 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 87.577 และ SL ที่ประมาณ 88.2682 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
จุดกลับตัว 12 กรกฎาคม 2567 21:23 น. GMT+7
ชื่อ
|
S3
|
S2
|
S1
|
จุดกลับตัว
|
R1
|
R2
|
R3
|
Classic | 87.577 | 87.6842 | 87.8689 | 87.9762 | 88.1609 | 88.2682 | 88.4528 |
Fibonacci | 87.6842 | 87.7958 | 87.8647 | 87.9762 | 88.0877 | 88.1566 | 88.2682 |
Camarilla | 87.9734 | 88.0002 | 88.0269 | 87.9762 | 88.0804 | 88.1072 | 88.134 |
Woodie's | 87.6158 | 87.7036 | 87.9077 | 87.9956 | 88.1997 | 88.2876 | 88.4916 |
DeMark's | - | - | 87.9226 | 88.0031 | 88.2146 | - | - |