บทวิเคราะห์ EUR/USD วันที่ 15 กรกฎาคม 2567

Create at 4 months ago (Jul 15, 2024 09:58)

ECB คาดคงอัตราดอกเบี้ย ท่ามกลางภาวะเงินเฟ้อและความกังวลของตลาด

ธนาคารกลางยุโรป (ECB) คาดว่าจะคงอัตราดอกเบี้ยหลังจากผ่อนคลายอัตราดอกเบี้ยในเดือนมิถุนายน ขณะที่มอร์แกน สแตนลีย์ ตั้งข้อสังเกตว่า ECB มีแนวโน้มที่จะคงจุดยืนในการประชุมเดือนกรกฎาคม ท่ามกลางความสนใจที่มุ่งเน้นไปที่เส้นทางอัตราดอกเบี้ยในอนาคตและสถานการณ์ในฝรั่งเศส

จากผลสำรวจนักวิเคราะห์โดยสำนักข่าวรอยเตอร์ คาดการณ์ว่า ECB อาจลดอัตราดอกเบี้ยอีกสองครั้งปีนี้ ในเดือนกันยายนและธันวาคม โดยหลังจากการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในเดือนมิถุนายน เจ้าหน้าที่ ECB หลายราย รวมถึงประธานาธิบดีคริสติน ลาการ์ด ยังคงไม่ได้แสดงความเร่งรีบที่จะลดต้นทุนการกู้ยืมเพิ่มเติม เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อด้านบริการที่ยังคงสูง อัตราการว่างงานต่ำ และการเติบโตของค่าจ้างที่สูง ทำให้เกิดข้อสงสัยเกี่ยวกับการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในอนาคต

ทางด้าน คลาส น็อต ประธานธนาคารกลางเนเธอร์แลนด์กล่าวว่า ไม่มีเหตุผลในการลดอัตราดอกเบี้ยในเดือนกรกฎาคม แต่การประชุมเดือนกันยายนอาจ "เปิดกว้าง" ต่อความเป็นไปได้ โดยน็อตรู้สึกพอใจกับความคืบหน้าของ ECB ในการบรรลุเป้าหมายเงินเฟ้อ 2% ภายในปลายปี 2025 แต่ย้ำว่าความล่าช้าในการบรรลุเป้าหมายดังกล่าวจะชะลอการลดอัตราดอกเบี้ยที่อาจเกิดขึ้นต่อไป ขณที่ความคาดหวังของตลาดในปัจจุบันสอดคล้องกับจุดยืนนโยบายของ ECB โดยคาดว่าจะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยหนึ่งถึงสองครั้งในปีนี้และเพิ่มเติมในปีหน้า โดยอัตราดอกเบี้ยคาดว่าจะถูกคงไว้สูงกว่า 3%

ทั้งนี้ อัตราเงินเฟ้อได้ลดลงเหลือ 2.5% ในเดือนที่แล้ว แต่คาดว่าจะไม่ถึงเป้าหมาย 2% จนกว่าจะถึงครึ่งหลังของปี 2025 โดยแรงกดดันด้านเงินเฟ้อพื้นฐาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคบริการยังคงอยู่ในระดับสูง ท่ามกลางตลาดแรงงานที่ตึงตัวซึ่งมีอัตราการว่างงานต่ำเป็นประวัติการณ์ที่ยังคงเพิ่มแรงกดดัน ขณะที่การเติบโตของค่าจ้างคาดว่าจะอยู่ในระดับสูงซึ่งส่งผลต่อการควบคุมเงินเฟ้อ โดยเศรษฐกิจยูโรโซนคาดว่าจะเติบโตเล็กน้อย ขณะที่การเติบโตของเยอรมนีคาดว่าจะซบเซาอย่างมาก

ทางด้านความเชื่อมั่นของนักลงทุนในยูโรโซนลดลงอย่างรวดเร็วในเดือนกรกฎาคม สิ้นสุดแรงดีดตัวขึ้นสูงต่อเนื่องแปดเดือน โดยพบดัชนี Sentix ในยูโรโซนลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ท่ามกลางนักลงทุนที่ยังคงมีความกังวลเกี่ยวกับการเลือกตั้งในฝรั่งเศสและเยอรมนี รวมถึงการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ที่กำลังจะมาถึงซึ่งมีส่วนเพิ่มแรงกดดัน ขณะที่ความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจของเยอรมนีลดลงเช่นกันในเดือนกรกฎาคมหลังจากเพิ่มขึ้นสามเดือน

โดยในเดือนมิถุนายน อัตราเงินเฟ้อของเยอรมนีลดลงเหลือ 2.5% จาก 2.8% ในเดือนพฤษภาคม การสำรวจโดยสมาคม VDMA เปิดเผยว่าผู้ผลิตในเยอรมนีมากกว่าครึ่งหนึ่งคาดว่าจะพบรายได้เพิ่มขึ้นในปี 2025 ขณะที่ประมาณ 40% คาดว่ารายได้จะลดลงในปีนี้ และ 23% คาดว่ารายได้จะชะลอตัว นอกจากนี้ บริษัทผู้ผลิต 22% คาดการณ์ว่าการลงทุนจะลดลงในปี 2024 เนื่องจากความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจและการเมือง แม้ว่ามากกว่าครึ่งหนึ่งวางแผนที่จะเพิ่มการลงทุนในปี 2025

ขณะเดียวกัน ในช่วงครึ่งแรกของปี 2024 การล้มละลายของบริษัทขนาดกลางและใหญ่ในเยอรมนีเพิ่มขึ้น 41% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว โดยมีสาเหตุมาจากอัตราเงินเฟ้อ ต้นทุนที่เพิ่มขึ้น และอุปสงค์ที่ลดลง โดยภาคอสังหาริมทรัพย์ ซัพพลายเออร์ยานยนต์ และวิศวกรรมเครื่องกลได้รับผลกระทบเป็นพิเศษ ขณะที่ DIHK คาดว่าการล้มละลายจะยังคงเพิ่มขึ้นต่อไปเนื่องจากปัญหาเชิงโครงสร้าง เช่น การขาดแคลนแรงงานที่มีทักษะ

นอกจากนี้ ราคาขายส่งของเยอรมนีลดลง 0.6% ในเดือนมิถุนายนเมื่อเทียบเป็นรายปี และการส่งออกลดลง 3.6% ในเดือนพฤษภาคมเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า โดยมีสาเหตุหลักมาจากความต้องการที่ลดลงจากประเทศจีน สหรัฐอเมริกา และประเทศในยุโรป

ทางด้านฝรั่งเศส อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้น 2.5% เมื่อเทียบเป็นรายปีในเดือนมิถุนายน ลดลงเล็กน้อยจาก 2.6% ในเดือนพฤษภาคม เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อราคาพลังงานที่อ่อนแอและราคาอาหารที่เพิ่มขึ้นเล็กน้อย ในขณะที่ราคาบริการเร่งตัวขึ้นเล็กน้อย โดยเศรษฐกิจฝรั่งเศสคาดว่าจะขยายตัว 0.1% ในไตรมาสที่ 2 ปี 2024 โดยอาจได้รับผลกระทบเชิงบวกจากการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกที่ปารีส ช่วยถ่วงดุลความไม่แน่นอนทางการเมืองจากการเลือกตั้งรัฐสภาครั้งล่าสุด

ทั้งนี้ การผลิตภาคอุตสาหกรรมทั้งในฝรั่งเศสและเยอรมนีลดลงเกินคาดในเดือนพฤษภาคม เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจที่อ่อนแอ โดยการผลิตของฝรั่งเศสลดลง 2.1% และเยอรมนีลดลง 2.5% ซึ่งทั้งคู่เกินความคาดหมายของนักวิเคราะห์ที่คาดว่าจะลดลงหรือเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ขณะที่ปัญหาเกี่ยวกับอุปทาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคยานยนต์และเคมีภัณฑ์ และความท้าทายในภาคการผลิตโลหะและการก่อสร้างมีส่วนทำให้เกิดการลดลงดังกล่าว

ในวันจันทร์ ค่าเงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้นเนื่องจากนักลงทุนแสวงหาความอุ่นใจหลังจากการพยายามลอบสังหารอดีตประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐฯ โดยเหตุการณ์ดังกล่าวเพิ่มความไม่แน่นอนของตลาดและการคาดการณ์เกี่ยวกับผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นของทรัมป์ต่อการเลือกตั้งสหรัฐฯ ที่กำลังจะมาถึง โดยผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่าสถานการณ์ที่เกิดขึ้นอาจช่วยเสริมชื่อเสียงและความแข็งแกร่งของของทรัมป์ แต่อาจนำมาซึ่งความไม่มั่นคงทางการเมือง

อีกด้าน จากรายงานของมหาวิทยาลัยมิชิแกน ความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐฯ ลดลงในเดือนกรกฎาคม โดยดัชนีลดลงเหลือ 66.0 จาก 68.2 ในเดือนมิถุนายน อย่างไรก็ตาม การคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อในปีหน้าและหลังจากนั้นดีขึ้นเล็กน้อย โดยการคาดการณ์ในหนึ่งปีลดลงเหลือ 2.9% ขณะที่แนวโน้มห้าปีทรงตัวอยู่ที่ระดับเดียวกัน

ทั้งนี้ เจอโรม พาวเวลล์ ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ มีกำหนดให้สัมภาษณ์ที่สมาคมเศรษฐกิจแห่งวอชิงตัน ดี.ซี. ซึ่งคาดว่าจะหารือเกี่ยวกับความพยายามอย่างต่อเนื่องในการแก้ไขปัญหาเงินเฟ้อและทิศทางนโยบายสองประการของเฟด

นอกจากนี้ ธนาคารกลางสหรัฐฯ จะเผยแพร่รายงาน Beige Book ซึ่งจะให้ข้อมูลเศรษฐกิจโดยสรุปจากเขตธนาคารกลางสหรัฐฯ ทั้ง 12 เขต หลังจากที่รายงานล่าสุดระบุถึงการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ไม่แน่นอนและความอ่อนแอในการใช้จ่ายสินค้าฟุ่มเฟือยเนื่องมาจากความอ่อนไหวด้านราคาที่สูงขึ้นในหมู่ผู้บริโภค ท่ามกลางข้อมูลทางเศรษฐกิจที่สำคัญในสัปดาห์นี้ รวมถึงการขอรับสวัสดิการว่างงานและยอดค้าปลีก จึงคาดว่าจะส่งผลให้เงินยูโรมีแนวโน้มปรับตัวขึ้นลงในกรอบกว้างๆ และอ่อนค่ากว่าเงินดอลลาร์ได้ในระยะกลางจากความแตกต่างของผลตอบแทนระหว่างทั้งสองเศรษฐกิจ

ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค (1D) CFD EUR/USD

แนวต้านสำคัญ : 1.0893, 1.0896, 1.0901

แนวรับสำคัญ :  1.0883, 1.0880, 1.0875             

1D Outlook                          

วิเคราะห์ EUR/USD ที่มา: TradingView

Buy/Long 1 หากมีการแตะแนวรับที่ช่วงราคา 1.0878 - 1.0883 แต่ไม่สามารถทะลุแนวรับที่ 1.0883 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 1.0893 และ SL ที่ประมาณ 1.0876 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้

Buy/Long 2 หากสามารถทะลุแนวต้านที่ช่วงราคา 1.0893 - 1.0898 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 1.0916 และ SL ที่ประมาณ 1.0881 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้                 

Sell/Short 1 หากมีการแตะแนวต้านที่ช่วงราคา 1.0893 - 1.0898 แต่ไม่สามารถทะลุแนวต้านที่ 1.0893 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 1.0880 และ SL ที่ประมาณ 1.0900 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้

Sell/Short 2 หากสามารถทะลุแนวรับที่ช่วงราคา 1.0878 - 1.0883 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 1.0856 และ SL ที่ประมาณ 1.0895 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้

Pivot Points Jul 15, 2024 09:36AM GMT+7

Name
S3
S2
S1
Pivot Points
R1
R2
R3
Classic 1.0867 1.0875 1.088 1.0888 1.0893 1.0901 1.0906
Fibonacci 1.0875 1.088 1.0883 1.0888 1.0893 1.0896 1.0901
Camarilla 1.0882 1.0884 1.0885 1.0888 1.0887 1.0888 1.089
Woodie's 1.0867 1.0875 1.088 1.0888 1.0893 1.0901 1.0906
DeMark's - - 1.0878 1.0887 1.0891 - -

ที่มา: Investing 1Investing 2

______________________________
อัพเกรดความรู้เพิ่มเติม: คลิกที่นี่
รู้เท่าทันสถานการณ์โลกและบทวิเคราะห์เทคนิคขั้นสูงคลิกที่นี่
Tags:

TECHNICAL ANALYSIS

ARTICLES