ธนาคารกลางสวิตอาจปรับลดอัตราดอกเบี้ยอีกในการประชุมครั้งถัดไป
ฟรังก์สวิสแข็งค่าขึ้นต่อเนื่องเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ โดยแตะระดับสูงสุดนับตั้งแต่ธนาคารกลางสวิสปรับลดอัตราดอกเบี้ยเมื่อเดือนที่ผ่านมา ในขณะเดียวกัน ดอลลาร์ยังคงถูกกดดัน เนื่องจากนักลงทุนคาดการณ์ว่าธนาคารกลางสหรัฐจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยหลายครั้งในปีนี้ โดยมีตำแถลงการที่มีแนวโน้มผ่อนคลายมากขึ้นจากเจ้าหน้าที่ Fed หลายคน รวมถึงประธาน Fed Jerome Powel โดยกล่าวถึงความเชื่อมั่นที่เพิ่มมากขึ้นว่าอัตราเงินเฟ้อจะกลับมาอยู่ในกรอบเป้าหมายอย่างแน่นอน
ดุลการค้าเกินดุลในสวิตเซอร์แลนด์เพิ่มขึ้นเป็น 4.9 พันล้านฟรังก์สวิสในเดือนมิถุนายน จาก 4.2 พันล้านฟรังก์สวิสในเดือนก่อนหน้า ซึ่งถือเป็นดุลการค้าเกินดุลสูงสุดนับตั้งแต่เดือนกันยายนของปี 2023 โดยการส่งออกเพิ่มขึ้น 1.2% เมื่อเทียบเป็นรายเดือนเป็น 23.3 พันล้านฟรังก์สวิส โดยได้รับแรงหนุนจากยอดขายยานยนต์และผลิตภัณฑ์เคมีภัณฑ์ที่เพิ่มมากขึ้นกว่า 5% โดยการสวนหรอกส่วนใหญ่ยังคงเพิ่มขึ้นในรัสเซีย, ญี่ปุ่นและจีน ในขณะเดียวกัน การนำเข้าลดลง 2.2% จากเดือนก่อนหน้าเป็น 18.3 พันล้านฟรังก์สวิส โดยได้รับแรงหนุนจากการซื้อวัตถุดิบที่ลดลงมากกว่าา 11.2% ผลิตภัณฑ์เคมีภัณฑ์และอุปกรณ์ทางการแพทย์
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในสวิตเซอร์แลนด์เพิ่มขึ้นเป็น -36.6 ในเดือนมิถุนายน จาก -38 ในเดือนก่อนหน้า โดยได้รับแรงหนุนจากมุมมองเชิงบวกมากขึ้นต่อสถานการณ์เศรษฐกิจโดยรวม จากการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลาง และมีการคาดว่าเสถียรภาพทางการเงินในองค์กรและในภาคครัวเรือนจากกลับมาเพิ่มขึ้นอีกครั้ง นอกจากนี้ ยังมีผู้บริโภคจำนวนมากที่เริ่มกลับมาซื้อสินค้ามากขึ้น
PMI ภาคการผลิตของสวิตเซอร์แลนด์อยู่ที่ 43.9 ในเดือนมิถุนายน ลดลงจาก 46.4 ในเดือนก่อนหน้าและแย่กว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ที่ 45.2 ถือเป็นการหดตัวเดือนที่ 18 ติดต่อกัน โดยได้รับแรงกดดันจาก การผลิตสินค้าที่ลดลง ในขณะเดียวกันคำสั่งซื้อใหม่กลับมาลดลงอีกครั้ง เนื่องจากต้นทุนที่เพิ่มขึ้นจากราคาข่นส่งที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้การจ้างงานลดลงเล็กน้อย
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสวิตอายุ 10 ปีลดลงมาอยู่ที่ 0.57% ตามอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ที่ลดลง หลังจากรายงานอัตราเงินเฟ้อของสหรัฐฯ ที่ต่ำกว่าคาด ส่งผลให้มีการคาดการณ์ว่า Fed จะลดอัตราดอกเบี้ยครั้งแรกในเดือนกันยายนนี้ ในขณะที่ธนาคารกลางสวิตมีแนวโน้มลดอัตราดอกเบี้ยลงต่อเนื่อง เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อกลับมาสู่กรอบเป้าหมายของธนาคารกลางแล้ว
ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค (5H)
แนวต้านสำคัญ: 0.8828, 0.885, 0.8866
แนวรับสำคัญ: 0.879, 0.8774, 0.8752
ที่มา: Investing.com
Buy/Long 1: หากมีการแตะแนวรับที่ช่วงราคา 0.8774 - 0.879 แต่ไม่สามารถเบรกแนวรับที่ 0.879 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.885 และ SL ที่ประมาณ 0.8752 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Buy/Long 2: หากสามารถเบรกแนวต้านที่ช่วงราคา 0.8828 - 0.885 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.8866 และ SL ที่ประมาณ 0.8774 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 1: หากมีการแตะแนวต้านที่ช่วงราคา 0.8828 - 0.885 แต่ไม่สามารถเบรกแนวต้านที่ 0.8828 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.8774 และ SL ที่ประมาณ 0.8866 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 2: หากสามารถเบรกแนวรับที่ช่วงราคา 0.8774 - 0.879 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.8752 และ SL ที่ประมาณ 0.885 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
จุดกลับตัว 25 กรกฎาคม 2567 20:02 น. GMT+7
ชื่อ
|
S3
|
S2
|
S1
|
จุดกลับตัว
|
R1
|
R2
|
R3
|
Classic | 0.8752 | 0.8774 | 0.879 | 0.8812 | 0.8828 | 0.885 | 0.8866 |
Fibonacci | 0.8774 | 0.8789 | 0.8797 | 0.8812 | 0.8827 | 0.8835 | 0.885 |
Camarilla | 0.8797 | 0.88 | 0.8804 | 0.8812 | 0.881 | 0.8814 | 0.8817 |
Woodie's | 0.875 | 0.8773 | 0.8788 | 0.8811 | 0.8826 | 0.8849 | 0.8864 |
DeMark's | - | - | 0.8782 | 0.8808 | 0.8821 | - | - |