บทวิเคราะห์ USD/EUR 26 กรกฎาคม 2567

Create at 5 months ago (Jul 26, 2024 19:45)

ECB อาจปรับลดอัตราดอกเบี้ยอีก 2 ครั้งจากข้อมูลเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลง 

ค่าเงินยูโรอ่อนค่าลงอีกครั้ง หลังจากข้อมูลดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ของยูโรโซนอ่อนแอกว่าที่คาด ทำให้มีการคาดการณ์ว่า ECB จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยเพิ่มเติมอีก 2 ครั้งภายในปีนี้ ในขณะเดียวกัน รองประธานหลุยส์ เด กินโดส กล่าวว่าธนาคารกลางจำเป็นต้องใช้ข้อมูลเพิ่มเติมในเดือนกันยายน และการคาดการณ์เศรษฐกิจมหภาคเพื่อเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ช่วยตัดสินใจในการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในครั้งต่อไป ด้านประธานาธิบดี ลาการ์ด ก็ให้ความคิดเห็นว่าการตัดสินใจด้านนโยบายทางการเงินในเดือนกันยายนยังจำเป็นต้องอ้างอิงถึงข้อมูลเศรษฐกิจภายในประเทศ 


ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในเขตยูโรเพิ่มขึ้น 1.0 จุด จากเดือนก่อนหน้าเป็น -13 ในเดือนกรกฎาคม สูงกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ที่ -13.4 เนื่องจากการการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางยุโรปในเดือนมิถุนายน นอกจากนี้ยังได้รับปัจจัยเสริมจากอัตราดอกเบี้ยที่ชะลอตัวลงมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้ผู้บริโภคและนักลงทุนเริ่มมีมุมมองต่อเศรษฐกิจภายในประเทศเป็นบวกมากขึ้น นอกจากนี้ ความกังวลทางการเมืองในฝรั่งเศสก็ลดลงหลังการเลือกตั้งรัฐสภา ทำให้ความตึงเครียดภายในประเทศฝรั่งเศสชะลอตัวลงมาบ้าง 


ดัชนี PMI ภาคการผลิตของยูโรโซนลดลงเหลือ 45.6 ในเดือนกรกฎาคม จาก 45.8 ในเดือนมิถุนายน เนื่องจากผลผลิตในภาคการผลิตยังคงลดลงเป็นเดือนที่ 16 ติดต่อกัน นอกจากนี้ยังแสดงให้เห็นถึงแนวโน้มที่ชะลอตัวลงต่อเนื่องของภาคการผลิต โดยวัดได้จากธุรกิจใหม่ที่มีจำนวนลดลง ส่งผลให้การจ้างงานลดลงตามไปด้วย ในด้านอัตราเงินเฟ้อของต้นทุนการผลิตยังคงเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง เนื่องจากราคาน้ำมันที่เพิ่มมากขึ้นทำให้ค่าขนส่งสินค้าเพิ่มขึ้นมากที่สุดในรอบ 18 เดือน 


ดัชนี PMI ภาคบริการในยูโรโซนลดลงมาอยู่ที่ 51.9 ในเดือนกรกฎาคม จาก 52.8 ในเดือนก่อนหน้า แม้ว่าแนวโน้มภาคบริการยังสามารถขยายตัวต่อไปได้แต่ก็แสดงให้เห็นถึงอัตราการขยายตัวที่ลดลงต่อเนื่อง โดยได้รับแรงหนุนจากจากคำสั่งซื้อใหม่ที่เพิ่มขึ้นอีกครั้ง ทำให้บริษัทต่างๆ ยังคงเพิ่มจำนวนพนักงานต่อไป แม้ว่าอัตราเงินเฟ้อของราคาวัตถุดิบจะยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องก็ตาม


การขยายสินเชื่อแก่ภาคครัวเรือนในยูโรโซนเพิ่มขึ้น 0.3% เมื่อเทียบเป็นรายปี สู่ระดับ 6.879 ล้านล้านยูโรในเดือนมิถุนายน เนื่องจากมาตรการเข้มงวดทางการเงินของธนาคารกลางยุโรปที่แม้จะลดอัตราดอกเบี้ยลงไปบ้างแล้ว แต่ก็ยังคงสูงเมื่อเทียบกับหลายปีที่ผ่านมา ซึ่งจะส่งผลให้ความต้องการในการบริโภคของผู้บริโภคลดลงด้วย ในขณะเดียวกัน การให้สินเชื่อแก่บริษัทเพิ่มขึ้น 0.7% สู่ระดับ 5.147 ล้านล้านยูโร แสดงให้เห็นถึงวิกฤตทางการเงินที่กำลังเกิดขึ้นในยูโรโซน

ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค (5H)

แนวต้านสำคัญ: 0.9221, 0.923, 0.9237

แนวรับสำคัญ: 0.9205, 0.9198, 0.9189

บทวิเคราะห์ USD/EUR วันนี้ที่มา: Investing.com

Buy/Long 1: หากมีการแตะแนวรับที่ช่วงราคา 0.9198 - 0.9205 แต่ไม่สามารถเบรกแนวรับที่ 0.9205 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.923 และ SL ที่ประมาณ 0.9189 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้

Buy/Long 2: หากสามารถเบรกแนวต้านที่ช่วงราคา 0.9221 - 0.923 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.9237 และ SL ที่ประมาณ 0.9198 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้

Sell/Short 1: หากมีการแตะแนวต้านที่ช่วงราคา 0.9221 - 0.923 แต่ไม่สามารถเบรกแนวต้านที่ 0.9221 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.9198 และ SL ที่ประมาณ 0.9237 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้

Sell/Short 2: หากสามารถเบรกแนวรับที่ช่วงราคา 0.9198 - 0.9205 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.9189 และ SL ที่ประมาณ 0.923 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้

จุดกลับตัว 26 กรกฎาคม 2567 19:32 น. GMT+7

ชื่อ
S3
S2
S1
จุดกลับตัว
R1
R2
R3
Classic 0.9189 0.9198 0.9205 0.9214 0.9221 0.923 0.9237
Fibonacci 0.9198 0.9204 0.9208 0.9214 0.922 0.9224 0.923
Camarilla 0.9209 0.921 0.9212 0.9214 0.9215 0.9216 0.9218
Woodie's 0.9189 0.9198 0.9205 0.9214 0.9221 0.923 0.9237
DeMark's - - 0.921 0.9216 0.9226 - -
______________________________
อัพเกรดความรู้เพิ่มเติม: คลิกที่นี่
รู้เท่าทันสถานการณ์โลกและบทวิเคราะห์เทคนิคขั้นสูงคลิกที่นี่
Tags:

TECHNICAL ANALYSIS

ARTICLES