บทวิเคราะห์ EUR/USD วันที่ 5 สิงหาคม 2567

Create at 5 months ago (Aug 05, 2024 10:10)

การเติบโตทางเศรษฐกิจยูโรลดลงท่ามกลางมุมมองที่หลากหลายและผลการสำรวจในแง่ลบ

เศรษฐกิจเขตยูโรเติบโตมากกว่าที่คาดเล็กน้อยในไตรมาสที่ 2 ท่ามกลางภาพรวมที่หลากหลายและผลการสำรวจในแง่ลบหลายฉบับที่ยังคงบดบังแนวโน้มในช่วงที่เหลือของปี

จากข้อมูลเศรษฐกิจแสดงให้เห็นว่ากลุ่มประเทศในเขตเศรษฐกิจกำลังเผชิญกับความท้าทายเกี่ยวกับการค้า แต่ยังคงได้รับประโยชน์จากการฟื้นตัวในประเทศซึ่งขับเคลื่อนโดยรายได้ที่แท้จริงและการใช้จ่ายของภาครัฐที่สูงขึ้น โดย Eurostat รายงานว่าผลผลิตเติบโต 0.3% ใน 20 ประเทศกลุ่มเศรษฐกิจ ซึ่งยังคงรักษาระดับไว้ได้จากไตรมาสก่อนหน้าและเกินการคาดการณ์ของนักวิเคราะห์

ในบรรดาประเทศเศรษฐกิจหลัก ฝรั่งเศสและสเปนทำผลงานได้ดีกว่าที่คาดไว้ ท่ามกลางอิตาลีที่ยังคงทรงตัว ในขณะที่ผลผลิตของเยอรมนีหดตัวอย่างไม่คาดคิด ทำให้เกิดความกังวลเกี่ยวกับวิกฤตที่ยืดเยื้อในประเทศซึ่งเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจของยุโรปมาเป็นเวลากว่าหนึ่งทศวรรษ

ในเดือนกรกฎาคม การเติบโตของกิจกรรมทางธุรกิจของเขตยูโรหยุดนิ่ง เนื่องจากการขยายตัวเพียงเล็กน้อยของภาคบริการไม่สามารถชดเชยกับภาวะถดถอยของภาคการผลิตที่สำคัญได้ โดยกิจกรรมการผลิตของเขตยูโรยังคงหดตัวในเดือนกรกฎาคม ท่ามกลางผลผลิตที่ลดลงในอัตราที่เร็วที่สุดในปีนี้ เน้นย้ำถึงการต่อสู้ที่ยังคงดำเนินต่อไปในเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศ

ทางด้านความเชื่อมั่นผู้บริโภคในเดือนกรกฎาคมยังคงเป็นลบ โดยจากการสำรวจของธนาคารกลางยุโรป (ECB) แสดงให้เห็นว่าผู้บริโภคในเขตยูโรหยุดการปรับลดคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อในเดือนมิถุนายน หลังจากที่ลดลงต่อเนื่องมาเป็นเวลาสี่เดือน โดยการสำรวจระบุว่าผู้บริโภคโดยเฉลี่ยคาดว่าอัตราเงินเฟ้อจะอยู่ที่ 2.8% ในปีหน้า ทรงตัวจากเดือนพฤษภาคม หลังจากลดลงอย่างต่อเนื่องจาก 3.3% ในเดือนมกราคม ขณะที่อัตราเงินเฟ้อคาดการณ์ในอีกสามปีข้างหน้าอยู่ที่ 2.3% ไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือนก่อนหน้า

ขณะเดียวกัน เงินเฟ้อในเขตยูโรเพิ่มขึ้นอย่างไม่คาดคิดในเดือนกรกฎาคม โดยตัวชี้วัดการเติบโตของราคาในภาคบริการหลักลดลง แต่ดูเหมือนจะไม่ส่งผลกระทบต่อการคาดการณ์ของตลาดสำหรับการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของ ECB ในเดือนกันยายน โดยตามรายงานการประมาณการของ Eurostat การเติบโตของราคาในกลุ่ม 20 ประเทศเพิ่มขึ้นเป็น 2.6% ในเดือนกรกฎาคม จาก 2.5% ในเดือนมิถุนายน ขณะที่ตัวชี้วัดเงินเฟ้อพื้นฐาน ซึ่งไม่รวมพลังงาน อาหาร เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และยาสูบ ยังคงไม่เปลี่ยนแปลงที่ 2.9% ขัดกับการคาดการณ์ที่คาดว่าอัตราเงินเฟ้อจะลดลง

ทางด้านเศรษฐกิจเยอรมนีหดตัว 0.1% ในไตรมาสที่ 2 หลังจากรอดพ้นภาวะเศรษฐกิจถดถอยอย่างหวุดหวิดในช่วงต้นปี เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นในเดือนกรกฎาคม และหลังจาก GDP ของเยอรมนีหดตัว 0.3% เมื่อปีที่แล้ว ซึ่งถือเป็นประเทศเศรษฐกิจหลักที่มีผลงานแย่ที่สุด

ทั้งนี้ ภาคการผลิตของเยอรมนียังคงอ่อนแอมากขึ้นในเดือนกรกฎาคม จากผลผลิตที่ชะลอตัวเนื่องจากอุปสงค์ที่ลดลง ส่งผลให้ผู้ผลิตยังคงมุมมองในแง่ลบ อย่างไรก็ตาม ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในเยอรมนีแสดงสัญญาณการฟื้นตัวก่อนถึงเดือนสิงหาคม ท่ามกลางการคาดการณ์รายได้สูงสุดในรอบกว่า 2 ปี เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อที่ชะลอตัวและค่าจ้างที่เพิ่มขึ้น

ทางด้านเศรษฐกิจของฝรั่งเศสเติบโต 0.3% ในไตรมาสที่ 2 ซึ่งสูงกว่าที่คาดไว้เล็กน้อย โดยได้รับแรงหนุนจากการส่งออกที่เพิ่มขึ้นจากการส่งมอบเรือสำราญ ท่ามกลางการใช้จ่ายของผู้บริโภคที่หยุดชะงัก ขณะที่บรูโน เลอ แมร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่าการเติบโตอาจเกินที่คาดการณ์ 1% เนื่องจากกิจกรรมส่งเสริมการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกที่กำลังเกิดขึ้น ขณที่ภาคบริการของฝรั่งเศสขยายตัวในเดือนกรกฎาคม โดยได้รับประโยชน์จากธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับโอลิมปิก ท่ามกลางภาคการผลิตที่ปรับตัวลดลง

อย่างไรก็ดี จากผลสำรวจชี้ว่าธุรกิจในฝรั่งเศสและเยอรมเผชิญกับมุมมองในแง่ลบมากขึ้น ส่งผลให้เกิดความกังวลเกี่ยวกับการฟื้นตัวที่เชื่องช้าของเขตยูโร ท่ามกลางการดิ้นรนหลังการระบาดเนื่องจากการลงทุนของรัฐบาลที่ลดลง การขาดดุลทางเทคโนโลยี และการพึ่งพาวัตถุดิบจากต่างประเทศ ส่งผลให้สภาพแวดล้อมทางธุรกิจแย่ลงในเดือนกรกฎาคม โดยเหตุการณ์เหล่านี้อาจส่งผลให้ธนาคารกลางยุโรปปรับลดอัตราดอกเบี้ยเพิ่มเติมเพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวเล็กน้อยของเขตยูโร ซึ่งอาศัยรายได้ที่แท้จริงที่เพิ่มขึ้นและการส่งออกที่แข็งแกร่งมากขึ้น

ทางด้านดอลลาร์สหรัฐฯ อ่อนค่าลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 4 เดือนเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา หลังจากรายงานการจ้างงานเดือนกรกฎาคมที่อ่อนค่ากว่าที่คาดไว้ ส่งผลให้มีการคาดการณ์ว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 50 จุดในเดือนกันยายน เนื่องจากเศรษฐกิจเริ่มส่งสัญญาณชะลอตัว

ขณะเดียวกัน กิจกรรมการผลิตของสหรัฐฯ ลดลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 8 เดือนในเดือนกรกฎาคม เนื่องจากคำสั่งซื้อใหม่ที่ลดลง แม้ว่าการผลิตในโรงงานจะฟื้นตัวอย่างรวดเร็วในไตรมาสที่ 2

ทางด้านจำนวนผู้ยื่นขอรับสวัสดิการว่างงานใหม่แตะระดับสูงสุดในรอบ 11 เดือนเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว และบ่งชี้ว่าตลาดแรงงานกำลังอ่อนตัวลง โดยจำนวนผู้ว่างงานในช่วงกลางเดือนกรกฎาคมเพิ่มขึ้นสู่ระดับสูงสุดนับตั้งแต่ช่วงปลายปี 2021 โดยอัตราการว่างงานของสหรัฐฯ พุ่งขึ้นแตะระดับ 4.3% ในเดือนกรกฎาคม ท่ามกลางการจ้างงานที่ชะลอตัว สร้างความหวาดกลัวต่อภาวะเศรษฐกิจถดถอยเพิ่มมากขึ้น และนับเป็นการเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่สี่ โดยขยับจากระดับต่ำสุดในรอบ 50 ปีที่ 3.4% ในเดือนเมษายน 2023 ไปสู่ระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนกันยายน 2021 ท่ามกลางการจ้างงานที่เพิ่มขึ้นในสาขาการดูแลสุขภาพ การก่อสร้าง การขนส่ง และการจัดเก็บสินค้า แต่ลดลงในธุรกิจด้านข้อมูล

ตามเครื่องมือ FedWatch ของ CME Group ล่าสุด นักลงทุนมองว่ามีโอกาส 71% ที่อัตราดอกเบี้ยจะปรับลด 50 จุดในเดือนกันยายน เพิ่มขึ้นจาก 31% ก่อนการเผยแพร่ข้อมูลทางเศรษฐกิข และ 22% ในวันพฤหัสบดี โดยคาดว่าจะมีการผ่อนคลายอัตราดอกเบี้ยรวม 116 จุดภายในสิ้นปีนี้ ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลลดลง โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 2 ปีลดลงสู่ระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2023 และอัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 10 ปีแตะระดับต่ำสุดนับตั้งแต่วันที่ 27 ธันวาคม

ทั้งนี้ แม้เฟดจะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ในการประชุมล่าสุด แต่ประธานเจอโรม พาวเวลล์ระบุว่าอัตราดอกเบี้ยอาจถูกปรับลดในเดือนกันยายนหากเศรษฐกิจเดินตามแนวทางที่คาดไว้ ท่ามกลางความกังวลด้านเศรษฐกิจจากอัตราดอกเบี้ยที่สูงเป็นเวลานานที่อาจส่งผลกระทบต่อการเติบโต

โดยหลังจากรายงานการจ้างงานเดือนกรกฎาคมที่อ่อนแอที่ทำให้เกิดความกังวลต่อภาวะเศรษฐกิจถดถอย ปฏิทินเศรษฐกิจในสัปดาห์นี้จะค่อนข้างเบาบาง โดยคาดว่าดัชนีภาคบริการของสถาบันการจัดการอุปทานจะเติบโตเล็กน้อย และรายงานรายสัปดาห์เกี่ยวกับการยื่นขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกจะให้ข้อมูลอัปเดตเกี่ยวกับตลาดแรงงาน นอกจากนี้ จะมีการติดตามความคิดเห็นของนางแมรี เดลีย์ ประธานเฟดสาขาซานฟรานซิสโก และนายโทมัส บาร์กิน ประธานเฟดสาขาริชมอนด์ เพื่อประเมินข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในอนาคต จึงคาดว่าจะส่งผลให้เงินยูโรอาจยังคงแนวโน้มปรับตัวขึ้นลงในกรอบกว้างๆ และยังคงอ่อนค่ากว่าเงินดอลลาร์ได้ในระยะกลางจากความแตกต่างของผลตอบแทนระหว่างทั้งสองเศรษฐกิจ

ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค (5Min) CFD EUR/USD

แนวต้านสำคัญ : 1.0924, 1.0925, 1.0927

แนวรับสำคัญ :  1.0920, 1.0919, 1.0917                       

5Min Outlook

วิเคราะห์ EUR/USD ที่มา: TradingView                                              

Buy/Long 1 หากมีการแตะแนวรับที่ช่วงราคา 1.0916 - 1.0920 แต่ไม่สามารถทะลุแนวรับที่ 1.0920 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 1.0924 และ SL ที่ประมาณ 1.0914 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้

Buy/Long 2 หากสามารถทะลุแนวต้านที่ช่วงราคา 1.0924 - 1.0928 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 1.0929 และ SL ที่ประมาณ 1.0918 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้                 

Sell/Short 1 หากมีการแตะแนวต้านที่ช่วงราคา 1.0924 - 1.0928 แต่ไม่สามารถทะลุแนวต้านที่ 1.0924 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 1.0919 และ SL ที่ประมาณ 1.0930 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้

Sell/Short 2 หากสามารถทะลุแนวรับที่ช่วงราคา 1.0916 - 1.0920 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 1.0913 และ SL ที่ประมาณ 1.0926 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้

Pivot Points Aug 5, 2024 09:56AM GMT+7

Name
S3
S2
S1
Pivot Points
R1
R2
R3
Classic 1.0915 1.0917 1.0919 1.0922 1.0924 1.0927 1.0929
Fibonacci 1.0917 1.0919 1.092 1.0922 1.0924 1.0925 1.0927
Camarilla 1.0921 1.0922 1.0922 1.0922 1.0923 1.0923 1.0924
Woodie's 1.0915 1.0917 1.0919 1.0922 1.0924 1.0927 1.0929
DeMark's - - 1.0921 1.0923 1.0926 - -

ที่มา: Investing 1Investing 2

______________________________
อัพเกรดความรู้เพิ่มเติม: คลิกที่นี่
รู้เท่าทันสถานการณ์โลกและบทวิเคราะห์เทคนิคขั้นสูงคลิกที่นี่
Tags:

TECHNICAL ANALYSIS

ARTICLES