ธนาคารกลางแคนาดาส่งสัญญาณลดอัตราดอกเบี้ยเพิ่มเติมท่ามกลางความเสี่ยงทางเศรษฐกิจและอัตราเงินเฟ้อที่ชะลอตัว
ธนาคารกลางแคนาดา (BoC) ล่าสุด ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงเหลือ 4.5% เมื่อเดือนที่แล้ว ซึ่งเป็นการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเป็นครั้งที่ 2 ติดต่อกัน และสอดคล้องกับการคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ โดยการตัดสินใจครั้งนี้ ซึ่งขับเคลื่อนโดยภาวะเงินเฟ้อที่ลดลง อาจส่งสัญญาณถึงการปรับลดอัตราดอกเบี้ยอีกครั้งในเดือนกันยายน
ทิฟฟ์ แม็คเคลม ผู้ว่าการ BoC ระบุว่าการปรับลดอัตราดอกเบี้ยอาจเกิดขึ้นอีกหากแนวโน้มขาลงของเงินเฟ้อยังคงดำเนินต่อไป และกล่าวถึงความเสี่ยงทางเศรษฐกิจที่เพิ่มขึ้นอันเนื่องมาจากอุปทานส่วนเกินจากการเติบโตอย่างรวดเร็วของประชากรซึ่งแซงหน้าการเติบโตของ GDP ขณะที่นโยบายของ BoC ยังคงขึ้นอยู่กับข้อมูล โดยอาจเกิดแรงกดดันด้านเงินเฟ้อจากค่าที่อยู่อาศัยที่สูงและค่าจ้างที่เพิ่มขึ้น โดยแม็คเคลมยังกล่าวถึงอิทธิพลของการดำเนินการของธนาคารกลางสหรัฐฯ ต่อการตัดสินใจกำหนดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางต่อไป
ทางด้านนักวิเคราะห์ของ Citi คาดการณ์การปรับลดอัตราดอกเบี้ยอีกครั้ง 25 จุดในการประชุม BoC วันที่ 4 กันยายน โดยอ้างถึงภาวะเงินเฟ้อที่ลดลงและตลาดแรงงานที่อ่อนแอลง โดยคาดการณ์ว่าจะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเพิ่มเติมตลอดทั้งปี โดยอาจมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงเหลือ 3.75% ภายในสิ้นปี และเหลือ 3.00% ภายในสิ้นปี 2025 ท่ามกลางปฏิกิริยาของตลาดที่บ่งชี้ว่ามีโอกาส 50% ที่จะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในเดือนกันยายน ขณะที่สกุลเงิน CAD ปรับตัวสูงขึ้น แม้จะมีสัญญาณของการใช้นโยบายแบบผ่อนคลาย โดยคู่สกุลเงิน USDCAD ยังคงอยู่ต่ำกว่าระดับ 1.38 ซึ่ง Citi ยังคงการคาดการณ์ USDCAD ไว้ที่ 1.35 สำหรับสิ้นปีนี้
ทั้งนี้ ธนาคารกลางแคนาดาปรับลดคาดการณ์การเติบโตของ GDP ในปี 2024 ลงเหลือ 1.2% จาก 1.5% และคาดการณ์ปี 2025 ลงเหลือ 2.1% จาก 2.2% โดยยังคงคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อในปี 2024 ไว้ที่ 2.6% แต่ปรับเพิ่มคาดการณ์ปี 2025 ขึ้นเป็น 2.4% จาก 2.2% ขณะที่อัตราดอกเบี้ยที่ระบุไว้ยังคงถูกคาดการณ์ไว้ที่ระหว่าง 2.25% ถึง 3.25%
ในเดือนกรกฎาคม กิจกรรมการผลิตของแคนาดาลดลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบปี โดยดัชนี PMI ลดลงเหลือ 47.8 บ่งชี้ถึงการหดตัวเป็นเดือนที่ 15 ติดต่อกัน ท่ามกลางเงินเฟ้อที่สูง ความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ และความท้าทายด้านการขนส่งที่เป็นปัจจัยกดดัน
ทางด้านยอดขายโรงงานในแคนาดาเผชิญแนวโน้มลดลง 2.6% ในเดือนมิถุนายน เนื่องมาจากการลดลงในกลุ่มผลิตภัณฑ์เคมีและอุปกรณ์ขนส่ง ขณะที่ยอดขายปลีกลดลง 0.8% ในเดือนพฤษภาคม ซึ่งเกิดจากการใช้จ่ายที่ลดลงท่ามกลางภาวะเงินเฟ้อด้านอาหารและอัตราดอกเบี้ยที่ยังคงสูงต่อเนื่อง
สำหรับภาคบริการเผชิญกิจกรรมที่ลดลงในเดือนกรกฎาคม โดยดัชนี PMI บ่งชี้ถึงการหดตัว ท่ามกลางยอดขายบ้านในเขตมหานครโตรอนโตที่ลดลง 1.7% ในเดือนกรกฎาคม หลังจากเพิ่มขึ้นในเดือนมิถุนายน ขณะที่ราคาบ้านโดยเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเล็กน้อย
ในขณะเดียวกัน รายงานการวิเคราะห์ของเจ้าหน้าที่งบประมาณของรัฐสภาเผยให้เห็นว่าเป้าหมายของรัฐบาลกลางแคนาดาสำหรับการหารายได้จากภาษีเงินได้จากการขายหลักทรัพย์คาดว่าจะลดลง 10% โดยการจัดเก็บภาษีดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดหาเงินทุนให้กับแผนที่อยู่อาศัยของรัฐบาลเป็นส่วนใหญ่
อีกด้านในวันอังคาร ดอลลาร์พลิกกลับมาแข็งค่าขึ้นอีกครั้งเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักส่วนใหญ่ ท่ามกลางตลาดที่สงบลงหลังจากเผชิญความผันผวนเมื่อเร็วๆ นี้ ขณะที่นักลงทุนคาดการณ์ว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ จะปรับลดอัตราดอกเบี้ย 110 จุดในปีนี้ โดยมีโอกาส 70% ที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ จะปรับลดอัตราดอกเบี้ย 50 จุดในเดือนกันยายน ซึ่งลดลงจาก 85% ในวันจันทร์ ตามข้อมูลของเครื่องมือ FedWatch ของ CME
ทั้งนี้ ผู้กำหนดนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐฯ ชี้แจงว่าข้อมูลการจ้างงานในเดือนกรกฎาคมที่อ่อนแอกว่าที่คาดไว้ไม่ได้บ่งชี้ถึงภาวะเศรษฐกิจถดถอย แต่เน้นย้ำถึงความจำเป็นในการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเพื่อป้องกันการถดถอยของเศรษฐกิจ ขณะที่กิจกรรมภาคบริการของสหรัฐฯ ฟื้นตัวในเดือนกรกฎาคม โดยมีคำสั่งซื้อใหม่และการจ้างงานที่เพิ่มขึ้น ซึ่งช่วยบรรเทาความกลัวต่อภาวะเศรษฐกิจถดถอย แม้ว่าอัตราการว่างงานจะเพิ่มขึ้น
ทางด้านหนี้ครัวเรือนของสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 109 พันล้านดอลลาร์ในไตรมาสที่ 2 มาอยู่ที่ 17.80 ล้านล้านดอลลาร์ ขณะที่อัตราการผิดนัดชำระหนี้ยังคงอยู่ที่ 3.2% บ่งชี้ว่าผู้กู้ยังคงมีการบริหารจัดการที่ดีเพียงพอที่จะสนับสนุนเศรษฐกิจ ท่ามกลางอัตราการผิดนัดชำระหนี้ของบัตรเครดิตและสินเชื่อรถยนต์ที่เพิ่มขึ้นเล็กน้อย แต่อัตราการผิดนัดชำระหนี้จำนองยังคงอยู่ในระดับที่ต่ำเป็นประวัติการณ์
ทั้งนี้ ความวุ่นวายในตลาดการเงินเมื่อเร็วๆ นี้ อาจส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลดลง ซึ่งจะส่งผลดีต่อผู้ซื้อบ้านและผู้ที่ต้องการรีไฟแนนซ์ โดยอัตราดอกเบี้ยเงินกู้สำหรับเงินกู้อัตราดอกเบี้ยคงที่ 30 ปี ซึ่งได้รับอิทธิพลจากผลตอบแทนของหลักทรัพย์รัฐบาลสหรัฐฯ คาดว่าจะยังคงลดลงจากระดับต่ำสุดในรอบ 6 เดือนเมื่อสัปดาห์ที่แล้วที่ประมาณ 6.70%
อีกด้าน ผลสำรวจความคิดเห็นของเจ้าหน้าที่สินเชื่ออาวุโสของเฟดประจำเดือนกรกฎาคมระบุว่า ธนาคารใหญ่ๆ ได้ผ่อนปรนมาตรฐานการให้สินเชื่อสำหรับสินเชื่อเพื่อการพาณิชย์และอุตสาหกรรมในไตรมาสที่ 2 ท่ามกลางมาตรฐานการให้สินเชื่อเพื่อผู้บริโภคสำหรับบัตรเครดิตและสินเชื่อประเภทอื่นๆ ที่เข้มงวดขึ้น จึงคาดว่าจะส่งผลให้เงินดอลลาร์แคนาดาอาจยังคงมีแนวโน้มปรับตัวขึ้นลงในกรอบกว้างๆ ได้อย่างต่อเนื่องในช่วงนี้ และอาจอ่อนค่าลงได้อีกเล็กน้อยจากสภาวะเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ที่ยังคงความแข็งแกร่งกว่าในระยะกลาง รวมถึงความต่างของผลตอบแทนระหว่างสองประเทศ
ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค (30Min) CFD USD/CAD
แนวต้านสำคัญ : 1.3781, 1.3784, 1.3788
แนวรับสำคัญ : 1.3773, 1.3770, 1.3766
30Min Outlook
ที่มา: TradingView
Buy/Long 1 หากมีการแตะแนวรับที่ช่วงราคา 1.3763 - 1.3773 แต่ไม่สามารถเบรกแนวรับที่ 1.3773 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 1.3781 และ SL ที่ประมาณ 1.3758 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Buy/Long 2 หากสามารถเบรกแนวต้านที่ช่วงราคา 1.3781 - 1.3791 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 1.3799 และ SL ที่ประมาณ 1.3768 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 1 หากมีการแตะแนวต้านที่ช่วงราคา 1.3781 - 1.3791 แต่ไม่สามารถเบรกแนวต้านที่ 1.3781 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 1.3770 และ SL ที่ประมาณ 1.3796 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 2 หากสามารถเบรกแนวรับที่ช่วงราคา 1.3763 - 1.3773 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 1.3757 และ SL ที่ประมาณ 1.3786 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Pivot Points Aug 7, 2024 09:44AM GMT+7
Name
|
S3
|
S2
|
S1
|
Pivot Points
|
R1
|
R2
|
R3
|
---|---|---|---|---|---|---|---|
Classic | 1.3759 | 1.3766 | 1.377 | 1.3777 | 1.3781 | 1.3788 | 1.3792 |
Fibonacci | 1.3766 | 1.377 | 1.3773 | 1.3777 | 1.3781 | 1.3784 | 1.3788 |
Camarilla | 1.3772 | 1.3773 | 1.3774 | 1.3777 | 1.3777 | 1.3778 | 1.3779 |
Woodie's | 1.3759 | 1.3766 | 1.377 | 1.3777 | 1.3781 | 1.3788 | 1.3792 |
DeMark's | - | - | 1.3769 | 1.3777 | 1.378 | - | - |
ที่มา: Investing 1, Investing 2
อัพเกรดความรู้เพิ่มเติม: คลิ