บทวิเคราะห์ AUD/USD วันที่ 8 สิงหาคม 2567

Create at 5 months ago (Aug 08, 2024 14:04)

RBA คงอัตราดอกเบี้ย ส่งสัญญาณอัตราดอกเบี้ยสูงต่อเนื่องท่ามกลางภาวะเงินเฟ้อที่ชะลอตัว

ธนาคารกลางออสเตรเลีย (RBA) คงอัตราดอกเบี้ยที่ 4.35% เป็นครั้งที่ 6 ติดต่อกันในการประชุมเมื่อวันอังคาร การตัดสินใจครั้งนี้สอดคล้องกับที่คาดการณ์ไว้ เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อเริ่มส่งสัญญาณชะลอตัว แม้ว่าจะยังคงอยู่เหนือระดับเป้าหมายที่ 2-3% ขณะที่ RBA เน้นย้ำถึงความจำเป็นของเงื่อนไขทางการเงินที่เข้มงวดเพื่อจัดการกับเงินเฟ้อที่ต่อเนื่อง และไม่ตัดทิ้งความเป็นไปได้ที่จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยในอนาคต แม้ว่าจะไม่ได้ระบุถึงความเป็นไปได้นี้อย่างชัดเจนในแถลงการณ์ล่าสุด

อย่างไรก็ดี แม้ว่าอัตราดอกเบี้ยจะยังคงอยู่ในระดับสูง แต่ตลาดแรงงานของออสเตรเลียยังคงแข็งแกร่ง และช่วยเสริมความหนืดให้กับเงินเฟ้อ โดย RBA คาดการณ์ว่าอัตราเงินเฟ้อจะลดลงมาอยู่ในช่วงกรอบเป้าหมายได้ภายในกลางถึงปลายปี 2025 และคาดว่าอัตราดอกเบี้ยจะยังคงสูงจนถึงเวลานั้น ขณะที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่า RBA อาจจะเลื่อนการปรับลดอัตราดอกเบี้ยออกไปจนถึงต้นปี 2025

ทางด้านมิเชล บูลล็อก ผู้ว่าการธนาคารกลางออสเตรเลีย ย้ำจุดยืนที่เข้มงวดของธนาคารกลางในการแถลงการณ์ล่าสุด โดยเน้นย้ำถึงความสำคัญของการควบคุมเงินเฟ้อ แม้ว่าการขึ้นอัตราดอกเบี้ยอาจสร้างความกังวลใจให้กับตลาด นอกจากนี้ บูลล็อคยังเน้นย้ำถึงโอกาสทางเศรษฐกิจในภูมิภาคออสเตรเลียจากการลงทุนด้านพลังงานหมุนเวียน ท่ามกลางการเผชิญกับความท้าทายจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

โดยหลังจากการตัดสินใจของ RBA ดอลลาร์ออสเตรเลียได้ปรับตัวแข็งค่าขึ้นเล็กน้อย ขณะที่ก่อนหน้านี้ ตลาดคาดการณ์สำหรับการปรับลดอัตราดอกเบี้ยที่อาจเกิดขึ้นภายในเดือนพฤศจิกายน ได้ปรับการคาดการณ์ตามข้อความที่เข้มงวดเกินคาดของ RBA

ทางด้านอัตราเงินเฟ้อดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ของออสเตรเลียเพิ่มขึ้น 3.8% เมื่อเทียบเป็นรายปีในไตรมาสที่ 2 ตามที่คาดไว้ ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน ซึ่งไม่รวมสินค้าที่มีความผันผวน ลดลงเหลือ 3.9% และเมื่อเทียบเป็นไตรมาสต่อไตรมาส อัตราเงินเฟ้อ CPI เพิ่มขึ้น 1% และอัตราเงินเฟ้อ CPI พื้นฐานเพิ่มขึ้น 0.8% ต่ำกว่าที่คาดไว้ที่ 1% ซึ่งข้อมูลดังกล่าวบ่งชี้ว่า ถึงแม้อัตราเงินเฟ้อจะยังคงสูง แต่ก็ได้แสดงสัญญาณชะลอตัว

สำหรับตัวชี้วัดเศรษฐกิจอื่นๆ แสดงให้เห็นถึงความแข็งแกร่ง โดยยอดขายปลีกในเดือนมิถุนายนเพิ่มขึ้น 0.5% สูงกว่าที่คาดไว้ที่ 0.2% ขณะที่ดุลการค้าของออสเตรเลียเพิ่มขึ้นเป็น 5.59 พันล้านดอลลาร์ออสเตรเลียในเดือนมิถุนายน โดยได้รับแรงหนุนจากการส่งออกที่เพิ่มขึ้น 1.7% แม้ว่าดุลการค้าจะยังคงอยู่ใกล้ระดับต่ำสุดในรอบ 4 ปีเนื่องจากอุปสงค์ที่ลดลงจากจีน

ขณะเดียวกัน หน่วยงานกำกับดูแลความเสี่ยงต่อเสถียรภาพระบบการเงินของออสเตรเลีย (APRA) คาดว่าจะยังคงกฎเกณฑ์ที่เข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อที่อยู่อาศัยเนื่องจากความเสี่ยงจากหนี้ครัวเรือนและอัตราเงินเฟ้อที่สูงเกินเป้าหมาย โดย APRA กำหนดให้ผู้ให้สินเชื่อประเมินความสามารถในการชำระคืนของผู้กู้ในอัตราดอกเบี้ยที่สูงกว่าอัตราปัจจุบันอย่างน้อย เปอร์เซ็นต์ ท่ามกลางราคาบ้านในออสเตรเลียที่เพิ่มขึ้นเป็นเดือนที่ 18 ติดต่อกันในเดือนกรกฎาคม โดยเพิ่มขึ้น 0.5% แม้ว่าราคาที่อยู่อาศัยในเมืองหลวง แห่งจะมีราคาลดลง บ่งชี้ถึงแนวโน้มการชะลอตัวของตลาดที่อยู่อาศัย

ทางด้านดอลลาร์สหรัฐฯ แข็งค่าขึ้นเล็กน้อยในวันพุธ ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการคาดการณ์ว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ อาจไม่ถดถอยรุนแรงเท่าที่คาดไว้ในตอนแรก หลังจากที่ก่อนหน้านี้ ความกังวลต่อภาวะเศรษฐกิจถดถอยและข้อมูลตลาดแรงงานที่อ่อนแอ ส่งผลให้มีการคาดการณ์มากขึ้นว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง อย่างไรก็ตาม ล่าสุดนักลงทุนได้ปรับการคาดการณ์ถึงโอกาส 70% ที่จะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 50 จุดในเดือนกันยายน ลดลงจาก 85% ในช่วงต้นสัปดาห์ ขณะที่นักวิเคราะห์ของ Goldman Sachs ระบุถึงความตึงเครียดภายในตลาดที่มากขึ้น แต่คาดว่าจะไม่พบเหตุการณ์ที่จำเป็นต้องเข้าแทรกแซงนโยบาย

ทั้งนี้ อัตราเฉลี่ยของสินเชื่อที่อยู่อาศัยแบบคงที่ 30 ปี ลดลงเหลือ 6.55% ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 15 เดือน และช่วยบรรเทาความกังวลใจสำหรับผู้ซื้อในตลาดที่อยู่อาศัยที่มีราคาสูง อย่างไรก็ดี ในดัชนีความเชื่อมั่นด้านที่อยู่อาศัยของ Fannie Mae พบผู้ถูกสำรวจเพียง 17% ที่เชื่อว่าเป็นจังหวะเวลาที่ดีในการเลือกซื้อบ้าน และ 35% ยังคงเลือกเช่าที่อยู่อาศัย สูงสุดนับตั้งแต่ปี 2011

ทั้งนี้ อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่ลดลงส่งผลให้การยื่นขอสินเชื่อเพื่อการรีไฟแนนซ์พุ่งสูงขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 2 ปี ซึ่งปัจจุบันการรีไฟแนนซ์คิดเป็น 41.7% ของจำนวนการยื่นขอสินเชื่อทั้งหมด อย่างไรก็ตาม กิจกรรมการซื้อบ้านยังคงถูกจำกัดด้วยจำนวนที่อยู่ศัยที่ต่ำและราคาที่สูง โดยแม้ว่าล่าสุด สินเชื่อที่อยู่อาศัยจำนวนมากจะมีอัตราดอกเบี้ยสูง แต่สินเชื่อส่วนใหญ่ยังคงมีอัตราดอกเบี้ยต่ำกว่า 4% ซึ่งบ่งชี้ว่าอัตราดอกเบี้ยจะต้องถูกปรับลดลงมากขึ้น เพื่อให้การรีไฟแนนซ์หรือการเลือกซื้อบ้านใหม่มีความน่าสนใจ

ทางด้านนักวิเคราะห์ที่ Wells Fargo คาดว่ารายงานดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือนกรกฎาคมที่มีกำหนดรายงานเร็วๆ นี้จะแสดงให้เห็นถึงอัตราเงินเฟ้อที่ชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งบ่งชี้ถึงความคืบหน้าที่สำคัญในการบรรลุเป้าหมายของธนาคารกลางสหรัฐฯ รวมถึงคาดการณ์ว่าอัตราเงินเฟ้อของที่อยู่อาศัย และสินค้าพื้นฐานจะลดลงอย่างต่อเนื่อง จากการเติบโตของกำลังแรงงานที่เพิ่มขึ้นและความต้องการของแรงงานที่ลดลง ซึ่งจะส่งผลให้ต้นทุนแรงงานลดลง

นอกจากนี้ ความต้องการของผู้บริโภคที่ลดลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับสินค้าฟุ่มเฟือย ได้ช่วยผลักดันให้ราคากลับสู่ระดับก่อนเกิดโรคระบาด โดยแม้ว่าอัตราเงินเฟ้อของรายจ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) อาจยังคงอยู่ที่ระดับเดิมจนถึงสิ้นปี แต่นักวิเคราะห์คาดว่าจะสอดคล้องกับเป้าหมายของคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของรัฐบาลกลาง (FOMC)

ทั้งนี้ นักวิเคราะห์เชื่อว่าเฟดอาจมองว่าอัตราเงินเฟ้อได้เคลื่อนตัวเข้าใกล้กรอบเป้าหมายและอาจเริ่มวงจรการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในการประชุมครั้งต่อไป โดยพิจารณาจากสภาพตลาดแรงงานในปัจจุบัน ในขณะเดียวกัน ในตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้าอัตราดอกเบี้ยในปัจจุบันบ่งชี้ว่าเฟดอาจปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง เปอร์เซ็นต์ภายในสิ้นปี โดยอาจเริ่มต้นด้วยการปรับลด 0.5 เปอร์เซ็นต์ในเดือนหน้า จึงอาจส่งผลให้คู่สกุล AUD/USD มีแนวโน้มซื้อขายขึ้นลงในกรอบกว้างๆ ได้ในช่วงนี้ โดยการแข็งค่าของ AUD คาดว่าจะยังถูกจำกัดอย่างต่อเนื่องในระยะกลาง

ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค (15Min) CFD AUD/USD

แนวต้านสำคัญ : 0.6562, 0.6564, 0.6567

แนวรับสำคัญ : 0.65560.6554 0.6551                        

15Min Outlook      

วิเคราะห์ AUD/USD ที่มา: TradingView                               

Buy/Long 1 หากมีการแตะแนวรับที่ช่วงราคา 0.6551 - 0.6556 แต่ไม่สามารถเบรกแนวรับที่ 0.6556 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.6562 และ SL ที่ประมาณ 0.6549 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้

Buy/Long 2 หากสามารถเบรกแนวต้านที่ช่วงราคา 0.6562 - 0.6567 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.6575 และ SL ที่ประมาณ 0.6554 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้                 

Sell/Short 1 หากมีการแตะแนวต้านที่ช่วงราคา 0.6562 - 0.6567 แต่ไม่สามารถเบรกแนวต้านที่ 0.6562 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.6554 และ SL ที่ประมาณ 0.6569 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้

Sell/Short 2 หากสามารถเบรกแนวรับที่ช่วงราคา 0.6551 - 0.6556 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.6546 และ SL ที่ประมาณ 0.6564 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้

Pivot Points Aug 8, 2024 01:47PM GMT+7

Name
S3
S2
S1
Pivot Points
R1
R2
R3
Classic 0.6545 0.6551 0.6554 0.6559 0.6562 0.6567 0.657
Fibonacci 0.6551 0.6554 0.6556 0.6559 0.6562 0.6564 0.6567
Camarilla 0.6555 0.6556 0.6557 0.6559 0.6558 0.6559 0.656
Woodie's 0.6545 0.6551 0.6554 0.6559 0.6562 0.6567 0.657
DeMark's - - 0.6557 0.6561 0.6565 - -

ที่มา: Investing 1Investing 2

______________________________
อัพเกรดความรู้เพิ่มเติม: คลิกที่นี่
รู้เท่าทันสถานการณ์โลกและบทวิเคราะห์เทคนิคขั้นสูงคลิกที่นี่
Tags:

TECHNICAL ANALYSIS

ARTICLES