ธนาคารกลางแคนาดาตัดสินใจปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอีก
ค่าเงินดอลลาร์แคนาดาแข็งค่าขึ้นต่อเนื่องในสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยได้รับแรงหนุนจากแนวโน้มการไหลเข้าของสกุลเงินต่างประเทศซึ่งส่วนใหญ่เป็นการลงทุนในธุรกิจของแคนาดาและความกลัวต่อภาวะเศรษฐกิจถดถอยของสหรัฐฯ ที่ลดลง ซึ่งส่งผลให้สินทรัพย์เสี่ยงต่างๆทั่วโลกฟื้นตัวขึ้น นอกจากนี้ราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้น ซึ่งได้รับแรงหนุนจากการลดลงของสินค้าคงคลังในสหรัฐ ยังช่วยสนับสนุนการส่งออกของแคนาดาอีกด้วย
ทั้งนี้ หากธนาคารกลางสหรัฐตัดสินใจปรับลดอัตราดอกเบี้ยในเดือนกันยายน อาจส่งผลให้ค่าเงินดอลลาร์แคนาดาแข็งค่าเพิ่มมากขึ้น แม้ว่าธนาคารกลางแคนาดาจะเพิ่งปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในเดือนมิถุนายนก็ตาม นักลงทุนมีการคาดการณ์ว่าธนาคารกลางแคนาดาจะลดอัตราดอกเบี้ยเพิ่มเติมอีก 150 bps ภายในปีหน้าเพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจภายในประเทศและหลีกเลี่ยงการเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอย
ธนาคารกลางแคนาดาปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 25 bps เหลือ 4.5% ในการประชุมเดือนกรกฎาคม ตามที่ตลาดคาดการณ์ไว้ ซึ่งเป็นการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงเดือนที่ 2 ติดต่อกัน โดยทางผู้กำหนดนโยบายของธนาคารกลางแคนาดาได้ตั้งข้อสังเกตว่าว่าอุปทานส่วนเกินในระบบเศรษฐกิจของแคนาดาจะช่วยชะลออัตราเงินเฟ้อในช่วงไม่กี่เดือนข้างหน้า จะส่งผลให้ธนาคารกลางแคนาดาสามารถดำเนินนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายได้เพิ่มเติม นอกจากนี้การปรับลดอัตราดอกเบี้ยยังส่งผลต่อการชะลอตัวของค่าจำนองและค่าเช่าสำหรับที่อยู่อาศัย ซึ่งเป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดเงินเฟ้อมากที่สุด
ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจของ CFIB ในแคนาดา ซึ่งเป็นดัชนีระยะยาวที่สะท้อนถึงการคาดการณ์ผลการดำเนินงานทางธุรกิจในอีก 12 เดือนข้างหน้า ลดลงเหลือ 55.4 ในเดือนกรกฎาคม แสดงให้เห็นถึงความเชื่อมั่นในระยะยาวของเศรษฐกิจภายในประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นธุรกิจขนาดเล็กที่กำลังเติบโต โดย 3 ภาคส่วนที่มีความเชื่อมั่นสูงสุด ได้แก่ ศิลปะและสันทนาการ (71.8) การเงิน, ประกันภัยและอสังหาริมทรัพย์ (60.6) และขนส่ง (60.2)
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลแคนาดาอายุ 10 ปีพุ่งขึ้นแตะระดับ 3.2% ตามการฟื้นตัวของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ เนื่องจากนักลงทุนเห็นว่าโอกาสในการเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยของสหรัฐลดลง ให้ความต้องการในสินทรัพย์เสี่ยงต่างๆเพิ่มมากขึ้นและทำให้เกิดแรงผลักดันในการขายพันธบัตรรัฐบาลที่มีความเสี่ยงต่ำกว่า อย่างไรก็ตาม การหดตัวของภาคการผลิตในแคนาดาถือว่าเป็นการหดตัวที่รุนแรงที่สุดตั้งแต่ปีที่ผ่านมา ยังคงเป็นใจหลักที่ทำให้นักลงทุนไม่มั่นใจต่อเศรษฐกิจภายในประเทศทำให้เกิดความกังวลด้านเงินเฟ้อที่เพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ การเติบโตของ GDP เมื่อเทียบเป็นรายเดือนลดลงเหลือ 0.1% แสดงให้เห็นถึงการเติบโตของแคนาดาที่ชะลอตัวลง
ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค (5H)
แนวต้านสำคัญ: 1.3744, 1.3755, 1.3768
แนวรับสำคัญ: 1.372, 1.3707, 1.3697
ที่มา: Investing.com
Buy/Long 1: หากมีการแตะแนวรับที่ช่วงราคา 1.3707 - 1.372 แต่ไม่สามารถเบรกแนวรับที่ 1.372 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 1.3755 และ SL ที่ประมาณ 1.3697 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Buy/Long 2: หากสามารถเบรกแนวต้านที่ช่วงราคา 1.3744 - 1.3755 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 1.3768 และ SL ที่ประมาณ 1.3707 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 1: หากมีการแตะแนวต้านที่ช่วงราคา 1.3744 - 1.3755 แต่ไม่สามารถเบรกแนวต้านที่ 1.3744 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 1.3707 และ SL ที่ประมาณ 1.3768 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 2: หากสามารถเบรกแนวรับที่ช่วงราคา 1.3707 - 1.372 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 1.3697 และ SL ที่ประมาณ 1.3755 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
จุดกลับตัว 9 สิงหาคม 2567 20:12 น. GMT+7
ชื่อ
|
S3
|
S2
|
S1
|
จุดกลับตัว
|
R1
|
R2
|
R3
|
Classic | 1.3697 | 1.3707 | 1.372 | 1.3731 | 1.3744 | 1.3755 | 1.3768 |
Fibonacci | 1.3707 | 1.3716 | 1.3722 | 1.3731 | 1.374 | 1.3746 | 1.3755 |
Camarilla | 1.3726 | 1.3728 | 1.373 | 1.3731 | 1.3735 | 1.3737 | 1.3739 |
Woodie's | 1.3697 | 1.3707 | 1.372 | 1.3731 | 1.3744 | 1.3755 | 1.3768 |
DeMark's | - | - | 1.3725 | 1.3734 | 1.3749 | - | - |