บทวิเคราะห์ USD/JPY วันที่ 14 สิงหาคม 2567

Create at 2 months ago (Aug 14, 2024 15:40)

เงินเยนถูกจำกัดจากอารมณ์ตลาดที่ปรับตัวดีขึ้น ขณะที่ดอลลาร์อ่อนค่าลงจากข้อมูลเงินเฟ้อสหรัฐฯ ที่อ่อนแอ

สกุลเงินเอเชียส่วนใหญ่แข็งค่าขึ้นในวันพุธ ขณะที่ดอลลาร์อ่อนค่าลงหลังจากรายงานเงินเฟ้อผู้ผลิตของสหรัฐฯ ที่อ่อนแอ สร้างความหวังในแนวโน้มเดียวกันที่อาจเกิดขึ้นกับข้อมูลเงินเฟ้อผู้บริโภค ซึ่งอาจนำไปสู่การปรับลดอัตราดอกเบี้ยที่รุนแรงขึ้น ท่ามกลางความเชื่อมั่นของตลาดที่ปรับตัวดีขึ้น ได้จำกัดการแข็งค่าเพิ่มขึ้นของเงินเยนญี่ปุ่น แม้ว่าจะยังคงอยู่ในระดับที่ปรับตัวขึ้นมาสูงมากขึ้นในช่วงที่ผ่านมา โดยสกุลเงินเอเชียโดยรวมได้รับประโยชน์จากดอลลาร์ที่อ่อนค่าลงและการคาดการณ์การปรับลดอัตราดอกเบี้ย

ทั้งนี้คู่สกุล USD/JPY ทรงตัวหลังจากที่เพิ่มขึ้นอย่างแข็งแกร่งในช่วงข้ามคืน แม้ว่าการยอมรับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นจะจำกัดการแข็งค่าของเงินเยนอย่างต่อเนื่อง โดยข้อมูล GDP ไตรมาสที่ 2 ของญี่ปุ่นที่จะมีขึ้นในวันพฤหัสบดีนี้ คาดว่าจะมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเกี่ยวกับนโยบายอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางญี่ปุ่น

ทางด้านนายกรัฐมนตรีฟูมิโอะ คิชิดะของญี่ปุ่น ประกาศการตัดสินใจลาออกจากตำแหน่งในเดือนกันยายน ยุติการดำรงตำแหน่ง 3 ปีทีได้รับผลกระทบจากเรื่องอื้อฉาวทางการเมือง และปูทางให้กับนายกรัฐมนตรีคนใหม่เพื่อรับมือกับราคาสินค้าที่พุ่งสูงขึ้น โดยการลาออกของคิชิดะเป็นจุดเริ่มต้นของการแข่งขันชิงตำแหน่งผู้นำภายในพรรคเสรีประชาธิปไตย (LDP) ที่เป็นพรรครัฐบาล ซึ่งจะมีบทบาทในการกำหนดผู้นำคนต่อไปของประเทศ

ทั้งนี้ การสนับสนุนของประชาชนที่มีต่อคิชิดะลดลงเนื่องจากความสัมพันธ์ของพรรค LDP กับคริสตจักรแห่งความสามัคคีที่ก่อให้เกิดข้อโต้แย้ง รวมถึงการบริจาคทางการเมืองที่ไม่ได้รับการลงบันทึก และความไม่พอใจต่อการปรับขึ้นค่าจ้างที่หยุดนิ่งท่ามกลางค่าครองชีพที่สูงขึ้น ที่ส่งผลให้เกิดการตัดสินใจลาออก โดยการลาออกของคิชิดะถูกมองว่าส่งผลกระทบทางเศรษฐกิจอย่างจำกัดในระยะสั้น ท่ามกลางความสนใจไปที่ผู้สืบทอดตำแหน่งแทน

ในขณะเดียวกัน รัฐสภาของญี่ปุ่นมีกำหนดเรียกผู้ว่าการธนาคารกลาง คาซูโอะ อุเอดะเข้าพบในสัปดาห์หน้า เพื่อหารือเกี่ยวกับการขึ้นอัตราดอกเบี้ยเมื่อเร็วๆ นี้ ซึ่งเป็นครั้งแรกในรอบ 15 ปี และทำให้ตลาดเกิดความปั่นป่วน โดยการขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งนี้พร้อมกับความกลัวต่อภาวะเศรษฐกิจถดถอยของสหรัฐฯ ได้ส่งผลต่อตลาดอย่างมาก ซึ่งคำให้การของอุเอดะจะถูกจับตามองอย่างใกล้ชิด

ทางด้านค่าจ้างที่แท้จริงของญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบกว่า 2 ปีในเดือนมิถุนายน โดยได้รับการสนับสนุนจากการเติบโตของค่าจ้างที่เป็นตัวเงินที่เร็วที่สุดในรอบเกือบ 3 ทศวรรษ อย่างไรก็ตาม การใช้จ่ายครัวเรือนลดลงมากกว่าที่คาดไว้ ทำให้แผนการของธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่นที่จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างค่อยเป็นค่อยไปมีความซับซ้อนมากขึ้น โดยอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นและความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่อ่อนแอยังคงสร้างความท้าทาย

สำหรับความเชื่อมั่นของผู้ผลิตในญี่ปุ่นลดลงเล็กน้อยในเดือนสิงหาคม ซึ่งได้รับผลกระทบจากอุปสงค์ที่อ่อนแอจากจีน ตามที่เปิดเผยในผลสำรวจ Tankan ของรอยเตอร์ นอกจากนี้ ภาคบริการยังเผชิญกับความท้าทายจากแรงกดดันด้านต้นทุนอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าการเติบโตจะกลับมาดีขึ้นในเดือนกรกฎาคม จากแรงขับเคลื่อนโดยอุปสงค์ในประเทศที่แข็งแกร่ง

ทางด้านอัตราเงินเฟ้อขายส่งของญี่ปุ่นเร่งตัวขึ้นในเดือนกรกฎาคม โดยดัชนีราคาสินค้าของบริษัทแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์เป็นเดือนที่แปดติดต่อกัน ซึ่งการอ่อนค่าของเงินเยนและราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่เพิ่มขึ้นมีส่วนทำให้เกิดแนวโน้มเงินเฟ้อดังกล่าว

ทั้งนี้ เงินดอลลาร์ยังคงอ่อนค่าในวันพุธ หลังจากร่วงลงในช่วงข้ามคืนเนื่องจากข้อมูลราคาผู้ผลิตของสหรัฐฯ ต่ำกว่าที่คาดไว้ ตอกย้ำความคาดหวังของเฟดในการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในปีนี้ ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 10 ปีของสหรัฐฯ ลดลงเหลือ 3.85% หลังจากลดลง 5.5 จุดในช่วงข้ามคืน

โดยราคาผู้ผลิตของสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นน้อยกว่าที่คาดในเดือนกรกฎาคม ขณะที่ต้นทุนบริการลดลงอย่างมีนัยสำคัญ บ่งชี้ถึงแรงกดดันด้านเงินเฟ้อที่ลดลง โดยแนวโน้มดังกล่าวสนับสนุนความเป็นไปได้ของการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในเดือนหน้า ช่วยให้เฟดสามารถมุ่งเน้นไปที่ตลาดแรงงานได้มากขึ้น

ทั้งนี้ ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ที่อ่อนตัวลงในเดือนกรกฎาคมทำให้ตลาดหันไปคาดการณ์ว่าอาจมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 50 จุดในเดือนกันยายน แม้ว่าการปรับลด 25 จุดยังคงเป็นไปได้ ตามข้อมูลของ Fedwatch ของ CME โดยข้อมูล PPI ได้เพิ่มความหวังว่าดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ที่มีกำหนดเปิดเผยเร็วๆ นี้จะแสดงให้เห็นถึงเงินเฟ้อที่ผ่อนคลาย ซึ่งอาจกระตุ้นให้เฟดพิจารณาปรับลดอัตราดอกเบี้ยท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ขณะที่ข้อมูลการผลิตภาคอุตสาหกรรมและยอดขายปลีกมีกำหนดรายงานในช่วงปลายสัปดาห์นี้

ทางด้านความเชื่อมั่นของธุรกิจขนาดเล็กของสหรัฐฯ พุ่งสูงสุดในรอบเกือบ ปีครึ่งในเดือนกรกฎาคม ซึ่งบ่งชี้ว่าความกลัวต่อภาวะเศรษฐกิจถดถอยหลังจากการเพิ่มขึ้นของอัตราการว่างงานในเดือนที่แล้วนั้นเกินจริง โดยดัชนีความเชื่อมั่นของธุรกิจขนาดเล็กของ NFIB เพิ่มขึ้นเป็น 93.7 ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2022 และแม้ว่าเงินเฟ้อจะยังคงเป็นปัญหา แต่มีธุรกิจจำนวนน้อยลงที่รายงานถึงการปรับขึ้นค่าชดเชยคนงานและราคา บ่งชี้ถึงแนวโน้มเงินเฟ้อในเชิงบวก ขณะที่แผนสินค้าคงคลังที่เพิ่มขึ้นอาจช่วยกระตุ้น GDP และช่วยเสริมการฟื้นตัวล่าสุดของดัชนี PMI นอกภาคการผลิตได้

อย่างไรก็ดี ตามผลสำรวจของรอยเตอร์ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเล็กน้อยในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า เนื่องจากตลาดอาจประเมินการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของเฟดในปีนี้สูงเกินไป โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 10 ปี ร่วงลงแตะระดับต่ำสุดในรอบ 14 เดือนที่ 3.67% ในช่วงต้นเดือนสิงหาคม เนื่องมาจากความต้องการสินทรัพย์ปลอดภัยท่ามกลางความหวาดกลัวต่อภาวะเศรษฐกิจถดถอย จึงอาจส่งผลให้คู่สกุล USD/JPY มีแนวโน้มซื้อขายในกรอบปัจจุบันไปจนถึงกรอบบนได้มากขึ้นอีกเล็กน้อยในช่วงนี้

ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค (1H) CFD USD/JPY

แนวต้านสำคัญ : 147.43, 147.51, 147.63

แนวรับสำคัญ : 147.19, 147.11, 146.99                        

1H Outlook

วิเคราะห์ USD/JPY ที่มา: TradingView                                             

Buy/Long 1 หากมีการแตะแนวรับที่ช่วงราคา 146.69 – 147.19 แต่ไม่สามารถเบรกแนวรับที่ 147.19 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 147.51 และ SL ที่ประมาณ 146.44 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้

Buy/Long 2 หากสามารถเบรกแนวต้านที่ช่วงราคา 147.43 – 147.93 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 148.16 และ SL ที่ประมาณ 146.94 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้                 

Sell/Short 1 หากมีการแตะแนวต้านที่ช่วงราคา 147.43 – 147.93 แต่ไม่สามารถเบรกแนวต้านที่ 147.43 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 147.19 และ SL ที่ประมาณ 148.18 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้

Sell/Short 2 หากสามารถเบรกแนวรับที่ช่วงราคา 146.69 – 147.19 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 146.55 และ SL ที่ประมาณ 147.68 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้

Pivot Points Aug 14, 2024 03:24PM GMT+7

Name
S3
S2
S1
Pivot Points
R1
R2
R3
Classic 146.87 146.99 147.19 147.31 147.51 147.63 147.83
Fibonacci 146.99 147.11 147.19 147.31 147.43 147.51 147.63
Camarilla 147.31 147.34 147.37 147.31 147.43 147.46 147.49
Woodie's 146.91 147.01 147.23 147.33 147.55 147.65 147.87
DeMark's - - 147.26 147.34 147.57 - -

ที่มา: Investing 1Investing 2

______________________________
อัพเกรดความรู้เพิ่มเติม: คลิกที่นี่
รู้เท่าทันสถานการณ์โลกและบทวิเคราะห์เทคนิคขั้นสูงคลิกที่นี่
Tags:

TECHNICAL ANALYSIS

ARTICLES