เศรษฐกิจในญี่ปุ่นเติบโตได้ดีกว่าที่คาด
เงินเยนของญี่ปุ่นอ่อนค่าลงเล็กน้อย แม้ว่า GDP ของญี่ปุ่นจะเติบโตเกินคาดก็ตาม ทำให้นักลงทุนมีการคาดการณ์ว่าธนาคารกลางญี่ปุ่นอาจปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยเพิ่มเติมได้อีกในปีนี้ ในขณะเดียวกัน ตัวเลขอัตราเงินเฟ้อที่ลดลงของสหรัฐอาจทำให้ธนาคารกลางสหรัฐปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในเร็วๆ นี้ ทั้งนี้ ค่าเงินเยนอาจสามารถผันผวนจากการที่นายกรัฐมนตรี ฟูมิโอะ คิชิดะ จะไม่ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นหัวหน้าพรรคอีกครั้งในเดือนกันยายน
ดัชนี PMI ภาคบริการของญี่ปุ่นอยู่ที่ 53.7 ในเดือนกรกฎาคม หลังจากหดตัวในเดือนมิถุนายนที่ 49.4 นับเป็นการขยายตัวของภาคบริการครั้งที่ 6 ในปีนี้ โดยได้รับแรงสนับสนุนจากจำนวนลูกค้าที่เพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้คำสั่งซื้อใหม่กลับมาเติบโตอีกครั้งทำจุดสูงสุดในรอบ 3 เดือน ในขณะที่ อัตราการจ้างงานมีการเติบโตเพิ่มมากขึ้น และสูงกว่าค่าเฉลี่ยในระยะยาว อย่างไรก็ตาม คำสั่งซื้อจากต่างประเทศกลับมาหดตัว นับว่าเป็นการหดตัวลงอย่างรวดเร็วที่สุดตั้งแต่ปี 2022 ด้านต้นทุนการผลิตพบว่าต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยส่วนใหญ่ได้รับผลกระทบมาจากราคาเชื้อเพลิงและต้นทุนแรงงานที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ส่งผลให้บริษัทต่างๆจำเป็นต้องส่งผ่านราคาต้นทุนให้กับลูกค้าเพิ่มมากขึ้น
รายได้ในภาคครัวเรือนของญี่ปุ่นพุ่งขึ้นมากกว่า 5.7% เมื่อเทียบเป็นรายปีในเดือนกรกฎาคม เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มมากขึ้นส่งผลให้บริษัทต่างๆ จำเป็นต้องปรับขึ้นค่าจ้างเพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 2 ปี โดยในภาคการเงินและการประกันภัยยังคงเป็นภาคส่วนที่มีการปรับขึ้นเงินเดือนมากที่สุด
ข้อมูลเบื้องต้นระบุว่า GDP ของญี่ปุ่นขยายตัว 0.8% เทียบเป็นไรไตรมาสในไตรมาสที่ 2 ของปี 2024 สูงกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ที่ 0.5% โดยการบริโภคของภาคเอกชนยังคงเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้ GDP ของญี่ปุ่นสามารถกลับมาขยายตัวได้อีกครั้งและเมื่อดูเป็นสัดส่วนพบว่าการบริโภคของภาคเอกชนคิดเป็นสัดส่วนมากกว่าครึ่งหนึ่งของเศรษฐกิจภายในประเทศ โดยมีการสำรวจพบว่าค่าจ้างปรับตัวขึ้นอย่างมากเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า ซึ่งสอดคล้องกับที่คาดการณ์ไว้ว่ารายได้ของบริษัทต่างๆ จะกลับมาฟื้นตัวขึ้นอีกครั้ง เช่นเดียวกันกับการฟื้นตัวของอุตสาหกรรมยานยนต์ภายในประเทศ
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลญี่ปุ่นอายุ 10 ปีพุ่งขึ้นเหนือ 0.83% เนื่องจากนักลงทุนตอบสนองต่อตัวเลขการเติบโตของ GDP ที่แข็งแกร่งเกินคาด ข้อมูลแสดงให้เห็นว่าเศรษฐกิจญี่ปุ่นยังสามารถเติบโตต่อไปได้แม้ว่าจะเพียงเล็กน้อยก็ตาม แล้วสนับสนุนให้ธนาคารกลางญี่ปุ่นสามารถปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยได้อีกครั้ง โดยคาดว่าจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 2 ครั้งภายในปีนี้ นอกจากนี้อัตราค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นอย่างเป็นตัวที่แสดงให้เห็นว่าบริษัทต่างๆ ยังสามารถทำกำไรได้
ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค (5H)
แนวต้านสำคัญ: 149.33, 149.55, 149.78
แนวรับสำคัญ: 148.88, 148.65, 148.43
ที่มา: Investing.com
Buy/Long 1: หากมีการแตะแนวรับที่ช่วงราคา 148.65 - 148.88 แต่ไม่สามารถเบรกแนวรับที่ 148.88 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 149.55 และ SL ที่ประมาณ 148.43 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Buy/Long 2: หากสามารถเบรกแนวต้านที่ช่วงราคา 149.33 - 149.55 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 149.78 และ SL ที่ประมาณ 148.65 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 1: หากมีการแตะแนวต้านที่ช่วงราคา 149.33 - 149.55 แต่ไม่สามารถเบรกแนวต้านที่ 149.33 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 148.65 และ SL ที่ประมาณ 149.78 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 2: หากสามารถเบรกแนวรับที่ช่วงราคา 148.65 - 148.88 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 148.43 และ SL ที่ประมาณ 149.55 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
จุดกลับตัว 15 สิงหาคม 2567 21:17 น. GMT+7
ชื่อ
|
S3
|
S2
|
S1
|
จุดกลับตัว
|
R1
|
R2
|
R3
|
Classic | 148.43 | 148.65 | 148.88 | 149.1 | 149.33 | 149.55 | 149.78 |
Fibonacci | 148.65 | 148.82 | 148.93 | 149.1 | 149.27 | 149.38 | 149.55 |
Camarilla | 148.98 | 149.02 | 149.06 | 149.1 | 149.14 | 149.18 | 149.22 |
Woodie's | 148.43 | 148.65 | 148.88 | 149.1 | 149.33 | 149.55 | 149.78 |
DeMark's | - | - | 148.98 | 149.15 | 149.44 | - | - |