บทวิเคราะห์ USD/EUR 16 สิงหาคม 2567

Create at 5 months ago (Aug 16, 2024 21:23)

เศรษฐกิจของยูโรโซนขยายตัวเพียงเล็กน้อย

ค่าเงินยูโรยังคงทรงตัวอยู่ที่ประมาณ 0.91 ยูโรต่อดอลลาร์สหรัฐ แม้ว่าธนาคารกลางยุโรปจะปรับลดอัตราดอกเบี้ย 0.25 bps ในเดือนมิถุนายนก็ตาม นอกจากนี้ นักลงทุนยังคงกังวลว่าธนาคารกลางยุโรปอาจลดอัตราดอกเบี้ยอย่างรุนแรง โดยมีโอกาสถึง 25% ที่ธนาคารกลางยุโรปจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยอีก 50 bps ในการประชุมวันที่ 18 กันยายน ด้านเศรษฐกิจของสหรัฐ มีการรายงานการจ้างงานในเดือนกรกฎาคมที่อ่อนแอกว่าที่คาด ทำให้มีการคาดการณ์ว่าธนาคารกลางสหรัฐจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยมากขึ้น แต่ข้อมูลยอดขายปลีกของสหรัฐที่แข็งแกร่งยังคงช่วยลดความกังวลเกี่ยวกับการชะลอตัวทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรง


GDP ของยูโรโซนขยายตัวขึ้นอีก 0.3% ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2024 โดยการขยายตัวในครั้งนี้เกิดจากการขยายตัวของประเทศเศรษฐกิจสำคัญได้แก่ ฝรั่งเศส. อิตาลีและสเปน ในขณะเดียวกันพบว่าเยอรมนีซึ่งเป็นประเทศที่เศรษฐกิจใหญ่ที่สุดกลับมีการเติบโตที่หดตัวลง 0.1% เนื่องจากการเติบโตของภาคอุตสาหกรรมที่ชะลอตัวลงและความตึงเครียดที่เกิดจากอัตราดอกเบี้ยที่สูง เมื่อเทียบเป็นรายปี GDP ในเขตยูโรขยายตัว 0.6% ซึ่งถือเป็นการขยายตัวสูงสุดในรอบ 5 ไตรมาส โดยผู้กำหนดนโยบายของธนาคารการยุโรปคาดว่าเศรษฐกิจในยูโรโซนจะเติบโต 0.8% ในปีนี้ หลังจากที่เศรษฐกิจในประเทศเสี่ยงที่จะเกิดภาวะถดถอยทางเทคนิค 


ดัชนีความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจสำหรับยูโรโซลยังคงลดลงอย่างต่อเนื่องในเดือนสิงหาคม โดยลดลง 25.8 จุดสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 9 เดือนที่ 17.9 ถือเป็นลดลงของดัชนีความเชื่อมั่นเดือนที่ 2 ติดต่อกัน ท่ามกลางความไม่แน่นอนเกี่ยวกับแนวโน้มเศรษฐกิจและทิศทางของนโยบายการเงิน ในเดือนสิงหาคม นอกจากนี้ค่าใช้จ่ายจำเป็นของภาคครัวเรือนและต้นทุนการผลิตที่เพิ่มมากขึ้นอย่างส่งผลให้มุมมองทางเศรษฐกิจในอนาคตอันใกล้แย่ลงด้วย แต่ทางด้านนักวิเคราะห์คาดว่ากิจกรรมทางเศรษฐกิจจะถดถอยลงมีเพียงเล็กน้อยเท่านั้น 


อัตราเงินเฟ้อในยูโรโซนกลับมาเพิ่มขึ้นอีกครั้งเป็น 2.6% ในเดือนกรกฎาคม จาก 2.5% ในเดือนมิถุนายน โดยตลาดคาดการณ์ไว้ว่าจะชะลอตัวลงเป็น 2.4% เนื่องจากต้นทุนพลังงานที่เพิ่มมากขึ้นส่งผลกระทบต่อหลายภาคส่วนในอุตสาหกรรม ในขณะที่ต้นทุนสินค้าอุตสาหกรรมอื่นๆ ที่ไม่ใช่พลังงานก็ปรับตัวเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน ทั้งนี้อัตราเงินเฟ้อสำหรับภาคการบริการชะลอตัวลงเล็กน้อย เนื่องจากราคาอาหารและเครื่องดื่มลดลงเหลือ 2.3%  ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานที่ไม่รองราคาอาหารและพลังงานยังคงทรงตัวอยู่ที่ 2.9%  จึงนับว่าเป็นอีกหนึ่งปัจจัยเสี่ยงผ่านธนาคารกลางยุโรปผ่อนคลายนโยบายทางการเงินเร็วเกินไป


PMI ภาคบริการของยูโรโซนของลดลงมาอยู่ที่ 51.9 ในเดือนกรกฎาคม ถือเป็นอัตราการขยายตัวที่ช้าที่สุดของกิจกรรมภาคบริการตั้งแต่เดือนมีนาคม เนื่องจากธุรกิจเกิดใหม่มีอัตราการเพิ่มขึ้นที่ช้าลง ซึ่งส่วนใหญ่ได้รับผลกระทบมาจากอุปสงค์ที่อ่อนตัวลงภายในประเทศ ทั้งนี้ก็ได้รับส่วนช่วยเหลือบางส่วนจากอุปสงค์ที่แข็งแกร่งขึ้นจากลูกค้าต่างประเทศ โดยอุปสงค์ที่ชะลอทำให้บริษัทต่างๆ จำเป็นต้องชะลอการจ้างงานออกไปก่อนเพื่อลดต้นทุนการผลิตให้ได้มากที่สุด

ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค (5H)

แนวต้านสำคัญ: 0.9106, 0.9115, 0.9121

แนวรับสำคัญ: 0.909, 0.9085, 0.9075

บทวิเคราะห์ USD/EUR วันนี้ที่มา: Investing.com

Buy/Long 1: หากมีการแตะแนวรับที่ช่วงราคา 0.9085 - 0.909 แต่ไม่สามารถเบรกแนวรับที่ 0.909 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.9115 และ SL ที่ประมาณ 0.9075 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้

Buy/Long 2: หากสามารถเบรกแนวต้านที่ช่วงราคา 0.9106 - 0.9115 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.9121 และ SL ที่ประมาณ 0.9085 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้

Sell/Short 1: หากมีการแตะแนวต้านที่ช่วงราคา 0.9106 - 0.9115 แต่ไม่สามารถเบรกแนวต้านที่ 0.9106 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.9085 และ SL ที่ประมาณ 0.9121 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้

Sell/Short 2: หากสามารถเบรกแนวรับที่ช่วงราคา 0.9085 - 0.909 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.9075 และ SL ที่ประมาณ 0.9115 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้

จุดกลับตัว 16 สิงหาคม 2567 21:13 น. GMT+7

ชื่อ
S3
S2
S1
จุดกลับตัว
R1
R2
R3
Classic 0.9075 0.9085 0.909 0.91 0.9106 0.9115 0.9121
Fibonacci 0.9085 0.9091 0.9094 0.91 0.9106 0.9109 0.9115
Camarilla 0.9091 0.9093 0.9094 0.91 0.9097 0.9099 0.91
Woodie's 0.9073 0.9084 0.9088 0.9099 0.9104 0.9114 0.9119
DeMark's - - 0.9087 0.9099 0.9103 - -
______________________________
อัพเกรดความรู้เพิ่มเติม: คลิกที่นี่
รู้เท่าทันสถานการณ์โลกและบทวิเคราะห์เทคนิคขั้นสูงคลิกที่นี่
Tags:

TECHNICAL ANALYSIS

ARTICLES