ธนาคารกลางออสเตรเลียคาดว่าจะคงอัตราดอกเบี้ยนานขึ้น
ค่าเงินดอลลาร์ออสเตรเลียกลับมาทรงตัวหลังจากแข็งค่าขึ้นตั้งแต่ต้นเดือนที่ผ่านมา เนื่องจากค่าเงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงอย่างรวดเร็วจากการคาดการณ์ที่ว่าธนาคารกลางสหรัฐอาจปรับลดอัตราดอกเบี้ยในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้าเพื่อหลีกเลี่ยงภาวะเศรษฐกิจถดถอย ด้านข้อมูลการรายงานการประชุมครั้งล่าสุดของธนาคารกลางออสเตรเลียระบุว่าอาจจำเป็นต้องคงอัตราดอกเบี้ยให้นานขึ้น นอกจากนี้ มิเชล บูลล็อก ผู้ว่าการธนาคารกลางออสเตรเลียยังบอกเป็นนัยว่า แม้สัญญาณอัตราเงินเฟ้อจะเริ่มผ่อนคลายลง แต่การพิจารณาการปรับลดอัตราดอกเบี้ยยังถือว่าเป็นเรื่องที่เร็วเกินไป
ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจในออสเตรเลียทรงตัวในเดือนกรกฎาคม แม้ว่าจะคงตัวต่อเนื่อง 4 เดือนติดต่อกัน แต่การเติบโตของกิจกรรมทางเศรษฐกิจในอีก 3-9 เดือนข้างหน้าแสดงให้เห็นถึงแนวโน้มการเติบโตที่ดีมากขึ้นเล็กน้อย อย่างไรก็ตาม ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่ร่วงลงอย่างรวดเร็วในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา แสดงให้เห็นถึงโมเมนตัมน่าจะอ่อนตัวลงอีกครั้งในเดือนสิงหาคม ในขณะที่ มีการคาดการณ์ว่าการเติบโตของ GDP จะอยู่ที่ 0.8% ในช่วงครึ่งแรกของปี 2024 และจะสูงขึ้นเล็กน้อยในช่วงครึ่งหลังและต้นปี 2025
อัตราการว่างงานของออสเตรเลียเพิ่มขึ้นเป็น 4.2% ซึ่งสูงกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ที่ 4.1% ถือเป็นอัตราการว่างงานสูงสุดนับตั้งแต่ปี 2024 โดยจำนวนผู้ว่างงานเพิ่มขึ้น 23,900 คน เป็น 637,100 คน โดยส่วนใหญ่เป็นผู้ที่หางานเต็มเวลาที่เพิ่มขึ้นมากที่สุด ในขณะเดียวกัน การจ้างงานกลับมาเพิ่มขึ้นอีกครั้งที่ 58,200 คน เป็น 14.47 ล้านคน เพิ่มขึ้นมากกว่าที่คาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้นเพียง 20,000 คน
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของออสเตรเลียเพิ่มขึ้น 2.8% เป็นการเพิ่มขึ้นสู่ระดับสูงสุดในรอบ 6 เดือนที่ 85.0 ในเดือนสิงหาคม โดยความเชื่อมั่นที่เพิ่มขึ้นนี้ได้รับแล้วสนับสนุนจากการลดหย่อนภาษีรวมถึงต้นทุนทางการเงินอื่นๆ ที่ช่วยชะลอความตึงเครียดทางการเงินที่เกิดขึ้นในภาคครัวเรือน ในขณะที่ความกังวลเกี่ยวกับการขึ้นอัตราดอกเบี้ยเริ่มชะลอตัวลง ด้านการจ้างงานในตลาดแรงงานพบว่ามีการชะลอตัวลงเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลออสเตรเลียอายุ 10 ปีลดลงมาอยู่ที่ประมาณ 3.9% เนื่องจากนักลงทุนยังคงรอการประเมินแนวโน้มนโยบายการเงินของธนาคารกลางออสเตรเลีย โดยการรายงานการประชุมของธนาคารกลางออสเตรเลียครั้งล่าสุดยังคงเป็นการคงอัตราดอกเบี้ยเพื่อกดดันอัตราเงินเฟ้อไม่ให้เพิ่มขึ้นอีกครั้ง โดย RBA ยังคงกรอบเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อไว้ที่ประมาณ 2-3% ซึ่งแรงกดดันด้านอัตราเงินเฟ้อส่วนใหญ่เป็นผลมาจากเงินเฟ้อภาคบริการที่ยังคงอยู่ในระดับสูง
ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค (5H)
แนวต้านสำคัญ: 1.485, 1.4868, 1.4882
แนวรับสำคัญ: 1.4818, 1.4804, 1.4787
ที่มา: Investing.com
Buy/Long 1: หากมีการแตะแนวรับที่ช่วงราคา 1.4804 - 1.4818 แต่ไม่สามารถเบรกแนวรับที่ 1.4818 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 1.4868 และ SL ที่ประมาณ 1.4787 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Buy/Long 2: หากสามารถเบรกแนวต้านที่ช่วงราคา 1.485 - 1.4868 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 1.4882 และ SL ที่ประมาณ 1.4804 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 1: หากมีการแตะแนวต้านที่ช่วงราคา 1.485 - 1.4868 แต่ไม่สามารถเบรกแนวต้านที่ 1.4854 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 1.485 และ SL ที่ประมาณ 1.4882 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 2: หากสามารถเบรกแนวรับที่ช่วงราคา 1.4804 - 1.4818 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 1.4787 และ SL ที่ประมาณ 1.4868 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
จุดกลับตัว 21 สิงหาคม 2567 20:35 น. GMT+7
ชื่อ
|
S3
|
S2
|
S1
|
จุดกลับตัว
|
R1
|
R2
|
R3
|
Classic | 1.4787 | 1.4804 | 1.4818 | 1.4836 | 1.485 | 1.4868 | 1.4882 |
Fibonacci | 1.4804 | 1.4816 | 1.4824 | 1.4836 | 1.4848 | 1.4856 | 1.4868 |
Camarilla | 1.4823 | 1.4826 | 1.4829 | 1.4836 | 1.4835 | 1.4837 | 1.484 |
Woodie's | 1.4785 | 1.4803 | 1.4816 | 1.4835 | 1.4848 | 1.4867 | 1.488 |
DeMark's | - | - | 1.4811 | 1.4832 | 1.4843 | - | - |