RBA คงอัตราดอกเบี้ยท่ามกลางความกังวลเรื่องเงินเฟ้อ ส่งสัญญาณการขึ้นอัตราดอกเบี้ยในอนาคต
ธนาคารกลางออสเตรเลีย (RBA) พิจารณาปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมเมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา จากข้อกังวลเกี่ยวกับอัตราเงินเฟ้อที่อาจมีความหนืดกว่าที่คาดการณ์ไว้ อย่างไรก็ตาม ธนาคารกลางตัดสินใจคงเป้าหมายอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 4.35% สะท้อนถึงการหาจุดสมดุลระหว่างการจัดการเงินเฟ้อและการสนับสนุนตลาดแรงงานอย่างค่อยเป็นค่อยไป
โดยบันทึกการประชุมเผยให้เห็นว่าคณะกรรมการกำหนดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางออสเตรเลียตระหนักถึงความเสี่ยงที่สำคัญที่อัตราเงินเฟ้ออาจไม่ลดลงภายในช่วงกรอบเป้าหมาย 2% ถึง 3% ภายในปลายปี 2025 ผู้ว่าการธนาคารกลางออสเตรเลีย มิเชล บูลล็อก กล่าวหลังการประชุม โดยเน้นย้ำว่าธนาคารกลางออสเตรเลียอาจยังคงปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย หากอัตราเงินเฟ้อยังคงสูงอย่างต่อเนื่อง
ทั้งนี้ นักวิเคราะห์มีความคิดเห็นแตกต่างกันเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวครั้งต่อไปของ RBA โดยหลายคนคาดว่าธนาคารกลางจะคงอัตราดอกเบี้ยปัจจุบันไว้จนถึงอย่างน้อยไตรมาสแรกของปี 2025 ขณะที่การคาดการณ์บางส่วนระบุว่าการปรับลดอัตราดอกเบี้ยอาจเริ่มขึ้นในช่วงปลายปี 2025 ท่ามกลางความไม่แน่นอน
ทางด้านรองผู้ว่าการแอนดรูว์ ฮอเซอร์ เน้นย้ำถึงความท้าทายในการคาดการณ์เศรษฐกิจ โดยระบุว่าเงินเฟ้อมีความหนืดมากขึ้น ส่วนหนึ่งเป็นเพราะมีกำลังการผลิตสำรองในเศรษฐกิจน้อยกว่าที่เคยคาดไว้ โดยฮอเซอร์ออกคำเตือนว่าอย่ามั่นใจเกินไปในการคาดการณ์ผลลัพธ์ทางเศรษฐกิจ และแนะนำว่าในบางกรณี การรอข้อมูลเพิ่มเติมอาจเป็นแนวทางที่ดีที่สุด
อย่างไรก็ดี ตลาดแรงงานของออสเตรเลียยังคงเติบโตเกินคาดในเดือนกรกฎาคม โดยการจ้างงานเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว แม้ว่าอัตราการว่างงานจะขยับขึ้นแตะระดับ 4.2% โดยอัตราการมีส่วนร่วมแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ บ่งชี้ถึงความต้องการแรงงานที่แข็งแกร่ง แม้จะมีต้นทุนการกู้ยืมสูง โดยตลาดแรงงานที่แข็งแกร่งนี้สนับสนุนมุมมองของ RBA ถึงการปรับลดอัตราดอกเบี้ยที่อาจยังเป็นเรื่องของอีกหลายเดือนข้างหน้า เนื่องจากธนาคารกลางยังคงมุ่งมั่นในการทำให้เงินเฟ้อกลับมาอยู่ในช่วงเป้าหมาย ขณะเดียวกันกับการจัดการความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับตลาดแรงงานที่ตึงตัว
เมื่อมองไปข้างหน้า ธนาคารกลางออสเตรเลียยังคงอยู่ภายใต้แรงกดดันที่จะต้องผ่อนปรนนโยบายในอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า เนื่องจากมาตรการของรัฐบาลในการลดค่าครองชีพอาจส่งผลให้ราคาสินค้าอุปโภคบริโภคลดลงอย่างรวดเร็ว แม้ว่าอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานจะยังคงสูงอยู่ โดยแรงกดดันนี้ทวีความรุนแรงขึ้นจากความคาดหวังว่าธนาคารกลางอื่นๆ เช่น ธนาคารกลางในสหรัฐอเมริกา ยุโรป และแคนาดา อาจเริ่มปรับลดอัตราดอกเบี้ยในเร็วๆ นี้
ทางด้านค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ฟื้นตัวจากระดับต่ำสุดในรอบ 13 เดือน เนื่องจากนักลงทุนได้พิจารณาถึงระดับการอ่อนค่าของเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ที่เกิดขึ้นล่าสุดที่มากเกินจริง โดยการอ่อนค่าของเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ในช่วงล่าสุดเกิดจากความกังวลเกี่ยวกับเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ชะลอตัวลง และความคาดหวังที่เพิ่มขึ้นว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ จะเริ่มปรับลดอัตราดอกเบี้ยในเร็วๆ นี้
ทั้งนี้ ในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมา ความคาดหวังของตลาดต่อการเคลื่อนไหวครั้งต่อไปของเฟดนั้นยังคงมีความผันผวน ในขณะที่มีการคาดเดากันว่าเฟดอาจปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 50 จุดในการประชุมเดือนกันยายน แต่ความเป็นไปได้ดังกล่าวก็ได้ลดลงหลังจากที่มีการเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่หลากหลาย โดยรายงานการจ้างงานเดือนกรกฎาคม ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการจ้างงานที่เพิ่มขึ้นน้อยกว่าที่คาดไว้และอัตราการว่างงานเพิ่มขึ้นอย่างไม่คาดคิด ส่งผลให้ในช่วงแรกมีการคาดการณ์ว่าเฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอย่างมีนัยสำคัญ อย่างไรก็ตาม เนื่องจากข้อมูลอื่นๆ บ่งชี้ถึงการเติบโตทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งขึ้น มุมมองของตลาดจึงเปลี่ยนไป ปัจจุบัน นักลงทุนจึงมองว่ามีโอกาส 75% ที่เฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 25 จุด ลดลงจากโอกาส 38% ที่เฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 50 จุด
ทางด้านอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ ฟื้นตัวจากระดับต่ำสุดเมื่อเร็วๆ นี้ โดยเคลื่อนไหวไปพร้อมกับการเพิ่มขึ้นในตลาดพันธบัตรยุโรป ส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปีพุ่งขึ้นแตะระดับ 3.862% จากระดับ 3.776% ในวันก่อนหน้า ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 2 ปีพุ่งขึ้นแตะระดับ 4.0161% จากระดับ 3.922%
ขณะเดียวกัน กิจกรรมทางธุรกิจของสหรัฐฯ ลดลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 4 เดือนในเดือนสิงหาคม ตามดัชนี S&P Global Composite PMI Output Index ซึ่งติดตามทั้งภาคการผลิตและภาคบริการ โดยดัชนีลดลงแตะระดับ 54.1 ซึ่งบ่งชี้ถึงการเติบโตที่ช้าลงแต่ยังคงความแข็งแกร่ง ขณะที่ข้อมูลดังกล่าวยังแสดงให้เห็นถึงราคาสินค้าและบริการที่ปรับตัวขึ้นในอัตราที่ช้าที่สุดนับตั้งแต่เดือนมกราคม สอดคล้องกับเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อ 2% ของเฟด และบ่งชี้ว่าแรงกดดันด้านเงินเฟ้ออาจค่อยๆ ลดลงในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า
อย่างไรก็ดี นักวิเคราะห์จะจับตาดูข้อมูลเศรษฐกิจที่จะมีกำหนดเปิดเผยในเร็วๆ นี้อย่างใกล้ชิด ซึ่งรวมถึงการยื่นขอสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์และดัชนี PMI ทั่วโลกของ S&P สำหรับเดือนสิงหาคม เพื่อประเมินความเป็นไปได้ของการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในอนาคต จึงคาดว่าจะยังคงส่งผลให้คู่สกุล AUD/USD มีแนวโน้มซื้อขายขึ้นลงในกรอบกว้างๆ อย่างต่อเนื่องได้ในช่วงนี้ โดยการแข็งค่าของ AUD คาดว่าจะยังคงถูกจำกัดในระยะกลางจากผลตอบแทนของทั้งสองประเทศเศรษฐกิจที่ต่างกันค่อนข้างมาก
ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค (15Min) CFD AUD/USD
แนวต้านสำคัญ : 0.6714, 0.6715, 0.6717
แนวรับสำคัญ : 0.6710, 0.6707, 0.6709
15Min Outlook
ที่มา: TradingView
Buy/Long 1 หากมีการแตะแนวรับที่ช่วงราคา 0.6707 - 0.6710 แต่ไม่สามารถเบรกแนวรับที่ 0.6710 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.6715 และ SL ที่ประมาณ 0.6706 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Buy/Long 2 หากสามารถเบรกแนวต้านที่ช่วงราคา 0.6714 - 0.6717 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.6720 และ SL ที่ประมาณ 0.6709 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 1 หากมีการแตะแนวต้านที่ช่วงราคา 0.6714 - 0.6717 แต่ไม่สามารถเบรกแนวต้านที่ 0.6714 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.6710 และ SL ที่ประมาณ 0.6718 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 2 หากสามารถเบรกแนวรับที่ช่วงราคา 0.6707 - 0.6710 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.6703 และ SL ที่ประมาณ 0.6715 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Pivot Points Aug 23, 2024 09:46AM GMT+7
Name
|
S3
|
S2
|
S1
|
Pivot Points
|
R1
|
R2
|
R3
|
---|---|---|---|---|---|---|---|
Classic | 0.6705 | 0.6707 | 0.671 | 0.6712 | 0.6715 | 0.6717 | 0.672 |
Fibonacci | 0.6707 | 0.6709 | 0.671 | 0.6712 | 0.6714 | 0.6715 | 0.6717 |
Camarilla | 0.6711 | 0.6712 | 0.6712 | 0.6712 | 0.6713 | 0.6713 | 0.6714 |
Woodie's | 0.6705 | 0.6707 | 0.671 | 0.6712 | 0.6715 | 0.6717 | 0.672 |
DeMark's | - | - | 0.671 | 0.6712 | 0.6716 | - | - |
ที่มา: Investing 1, Investing 2
อัพเกรดความรู้เพิ่มเติม: คลิ