เศรษฐกิจของญี่ปุ่นยังสามารถเติบโตต่อไปได้
GDP ของญี่ปุ่นขยายตัว 0.8% เมื่อเทียบเป็นรายไตรมาสในไตรมาสที่ 2 ของปี 2024 สูงกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ที่ 0.5% โดยได้รับแรงหนุนจากการบริโภคของภาคเอกชนซึ่งคิดเป็นสัดส่วนมากกว่าครึ่งหนึ่งของเศรษฐกิจ นอกจากนี้พบว่าค่าจ้างเฉลี่ยในประเทศเพิ่มขึ้น 5.17% ซึ่งถือเป็นระดับสูงสุดในรอบกว่า 30 ปี และช่วยส่งเสริมการบริโภคของภาคครัวเรือนได้อีกด้วย ในขณะเดียวกัน การใช้จ่ายของรัฐบาลยังคงเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง เนื่องจากรัฐบาลยังคงสนับสนุนค่าใช้จ่ายบางส่วนของภาคครัวเรือน
การขาดดุลการค้าของญี่ปุ่นพุ่งแตะระดับ 621 พันล้านเยนในเดือนกรกฎาคม ถือเป็นการขาดดุลครั้งที่ 5 ในปีนี้ เนื่องจากการนำเข้าเติบโตเร็วกว่าการส่งออกมาก โดยการนำเข้าสินค้าไปยังญี่ปุ่นเติบโต 16.6% เมื่อเทียบเป็นรายปี โดยการนำเข้าเชื้อเพลิงธรรมชาติยังคงเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยเฉพาะ ปิโตรเลียมและ LNG ที่เพิ่มขึ้นมากกว่า 15.5% นอกจากนี้ การซื้อเครื่องจักรเพิ่มขึ้น 13.4% โดยได้รับแรงหนุนจากคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์อื่นๆ
ด้านการส่งออกของญี่ปุ่นเพิ่มขึ้น 10.3% เมื่อเทียบเป็นรายปี ถือว่าเป็นเดือนที่ 8 ที่การส่งออกเพิ่มขึ้น ท่ามกลางการฟื้นตัวของภาคยานยนต์และค่าเงินเยนที่อ่อนค่าลงยังช่วยสนับสนุนธุรกิจการส่งออกส่วนใหญ่ โดยยอดการส่งออกเครื่องจักรเพิ่มขึ้น 5.0% เนื่องจากความต้องการเครื่องจักรในการผลิตเซมิคอนดักเตอร์ยังคงเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ในขณะที่การส่งออกสินค้าที่ใช้ในการผลิตเพิ่มขึ้น 10.7% เช่น เหล็กและเหล็กกล้า
อัตราเงินเฟ้อในญี่ปุ่นทรงตัวอยู่ที่ 2.8% ในเดือนกรกฎาคม ถือเป็นการทรงตัวเดือนที่ 3 ติดต่อกัน และมากกว่ากรอบเป้าหมายของธนาคารกลางที่ 2% โดยค่าไฟฟ้าที่พุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็วในขณะที่รับบาลญี่ปุ่นเริ่มลดงบประมาณในการสนับสนุนลง ส่งผลให้ต้นทุนในการผลิตของอุตสาหกรรมส่วนใหญ่เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วและบริษัทต่างๆ จำเป็นต้องส่งผ่านราคาไปยังผู้บริโภค ซึ่งอาจทำให้อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นอีกครั้ง ในขณะเดียวกัน ราคาอาหารยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและกระทบต่อค่าใช้จ่ายที่เพิ่มมากขึ้นจองภาคครัวเรือน
ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BoJ) ยืนยันที่จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพิ่มเติมหากอัตราเงินเฟ้อแตะระดับเป้าหมาย 2% อย่างยั่งยืน แต่เมื่อมาดูในมุมมองของนักลงทุนยังคงไม่ใจต่อธนาคารกลางญี่ปุ่นว่าจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเร็วๆ นี้ ด้านผู้ว่าการ Kazuo Ueda กล่าวว่าธนาคารกลางยังคงติดตามความผันผวนของตลาดการเงินต่อไปหลังจากที่ตัดสินใจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเป็นครั้งแรก ด้านการอ่อนค่าของค่าเงินเยน ความผันผวนที่เกิดขึ้นอาจส่งผลกระทบต่อการคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อของธนาคาร เนื่องจากการอ่อนค่าของเงินเยนทำให้การนำเข้าสินค้ามีต้นทุนที่เพิ่มมากขึ้น
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลญี่ปุ่นอายุ 10 ปีพุ่งแตะ 0.9% โดยธนาคารกลางอาจปรับนโยบายการเงินเพิ่มเติม หากการคาดการณ์เศรษฐกิจยังเป็นไปตามที่คาด แสดงให้เห็นว่าธนาคารกลางเต็มใจที่จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกครั้ง
ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค (5H)
แนวต้านสำคัญ: 146.01, 146.8, 147.33
แนวรับสำคัญ: 144.69, 144.16, 143.37
ที่มา: Investing.com
Buy/Long 1: หากมีการแตะแนวรับที่ช่วงราคา 144.16 - 144.69 แต่ไม่สามารถเบรกแนวรับที่ 144.69 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 146.8 และ SL ที่ประมาณ 143.37 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Buy/Long 2: หากสามารถเบรกแนวต้านที่ช่วงราคา 146.01 - 146.8 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 147.33 และ SL ที่ประมาณ 144.16 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 1: หากมีการแตะแนวต้านที่ช่วงราคา 146.01 - 146.8 แต่ไม่สามารถเบรกแนวต้านที่ 146.01 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 144.16 และ SL ที่ประมาณ 14 7.33หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 2: หากสามารถเบรกแนวรับที่ช่วงราคา 144.16 - 144.69 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 143.37 และ SL ที่ประมาณ 146.8 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
จุดกลับตัว 23 สิงหาคม 2567 22:20 น. GMT+7
ชื่อ
|
S3
|
S2
|
S1
|
จุดกลับตัว
|
R1
|
R2
|
R3
|
Classic | 143.37 | 144.16 | 144.69 | 145.48 | 146.01 | 146.8 | 147.33 |
Fibonacci | 144.16 | 144.66 | 144.98 | 145.48 | 145.98 | 146.3 | 146.8 |
Camarilla | 144.86 | 144.98 | 145.1 | 145.48 | 145.35 | 145.47 | 145.59 |
Woodie's | 143.25 | 144.1 | 144.57 | 145.42 | 145.89 | 146.74 | 147.21 |
DeMark's | - | - | 144.43 | 145.35 | 145.75 | - | - |