ยูโรโซนสามารถกดดันเงินเฟ้อได้ดีมากขึ้น
เงินยูโรอ่อนค่าลงเล็กน้อย โดยข้อมูลล่าสุดแสดงให้เห็นว่าการเติบโตของค่าจ้างในเขตยูโรชะลอตัวลง ส่งผลให้ธนาคารกลางยุโรป (ECB) มีแนวโน้มจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยเพิ่มเติม โดยส่วนใหญ่เกิดจากการชะลอตัวอย่างในเยอรมนี ในปัจจุบัน นักลงทุนมองว่ามีโอกาสมากกว่า 90% ที่จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยในเดือนกันยายน เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจที่อ่อนแอ
ดัชนีราคาผู้ผลิตในยูโรโซนเพิ่มขึ้น 0.5% เมื่อเทียบเป็นรายเดือนในเดือนมิถุนายน หลังจากที่ลดลง 0.2% ในเดือนพฤษภาคม การปรับตัวขึ้นนี้อาจทำให้อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นเล็กน้อย เนื่องจากต้นทุนการผลิตที่เพิ่มมากขึ้นของผู้ผลิต โดยสาเหตุหลักมาจากต้นทุนพลังงานที่เพิ่มสูงขึ้นกว่า ในขณะที่สินค้าขั้นกลาง (สินค้าที่ซื้อมาเพื่อนำมาผลิตสินค้าอื่น) เพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย เมื่อเทียบดัชนีราคาผู้ผลิตเป็นรายปีพบว่าลดลง 3.2% ซึ่งอาจจะไม่ได้ส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตมากนัก
การเติบโตของค่าจ้างในยูโรโซนเริ่มชะลอตัวลงเหลือ 3.55% ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2024 จาก 4.74% ในไตรมาสที่ 1 ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผลจากการชะลอตัวอย่างมีนัยสำคัญในประเทศเยอรมนี ซึ่งเป็นประเทศที่เศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในยูโรโซน นอกจากนี้ การชะลอตัวของค่าจ้างนี้ทำให้มีความเป็นไปได้มากขึ้นที่ธนาคารกลางยุโรปจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยอีกครั้งในเดือนกันยายน ซึ่งจะช่วยให้บริษัทต่างๆ สามารถลดต้นทุนแรงงานที่สูงขึ้นได้บางส่วนและอาจช่วยชะลอการเกิดเงินเฟ้อได้อีกด้วย โดย ECB ยังคงเน้นย้ำถึงความสำคัญของการเติบโตของค่าจ้างเพื่อใช้ในการตัดสินใจด้านนโยบายในอนาคต โดย ฟิลิป เลน หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของ ECB แสดงความคิดเห็นว่าแรงกดดันด้านค่าจ้างจะยังคงผ่อนคลายลงต่อไปและกดดันอัตราเงินเฟ้อไม่ให้เพิ่มขึ้น
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในยูโรโซนเพิ่มขึ้น 1% จากเดือนก่อนหน้าเป็น -13 ในเดือนกรกฎาคม โดยความเชื่อมั่นเริ่มปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งคาดว่าจะมาจากการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางยุโรปในเดือนมิถุนายน และการคาดการณ์การว่า ECB จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยเพิ่มเติมในเดือนกันยายนและอาจรวมถึงเดือนธันวาคม นอกจากนี้ ความกังวลทางการเมืองในฝรั่งเศสก็คลี่คลายลงหลังจากที่มีการเลือกตั้งรัฐสภาครั้งล่าสุด
PMI ภาคการผลิตลดลงเหลือ 45.6 ในเดือนสิงหาคม ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 8 เดือน นับว่าเป็นการลดลงอย่างมีนัยสำคัญ โดยคำสั่งซื้อใหม่ลดลงอย่างรวดเร็ว ในขณะที่จำนวนแรงงานในภาคการผลิตก็ลดลงเช่นเดียวกัน เนื่องจากคำสั่งซื้อที่ลดลงทำให้ต้นทุนการผลิตของในปริมาณน้อยเพิ่มขึ้นด้วยและส่งผลให้บริษัทต่างๆ จำเป็นต้องลดต้อนทุนด้านแรงงานตามไปด้วย นอกจากนี้ อัตราเงินเฟ้อต้นทุนการผลิตยังคงอยู่ที่ระดับสูงสุดในรอบ 18 เดือนได้สร้างแรงกดดันด้านต้นทุนให้บริษัท
ด้าน PMI ภาคบริการเพิ่มขึ้นสู่ 53.3 ในเดือนสิงหาคม ถือเป็นอัตราการขยายตัวที่แข็งแกร่งที่สุดของกิจกรรมภาคบริการตั้งแต่เดือนเมษายน โดยส่วนใหญ่ได้รับแรงหนุนจากการสนับสนุนการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก ควบคู่ไปกับการเพิ่มขึ้นของกิจกรรมภาคบริการทั้งยูโรโซน
ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค (5H)
แนวต้านสำคัญ: 0.8979, 0.9011, 0.9029
แนวรับสำคัญ: 0.8928, 0.8909, 0.8877
ที่มา: Investing.com
Buy/Long 1: หากมีการแตะแนวรับที่ช่วงราคา 0.8909 - 0.8928 แต่ไม่สามารถเบรกแนวรับที่ 0.8928 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.9011 และ SL ที่ประมาณ 0.8877 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Buy/Long 2: หากสามารถเบรกแนวต้านที่ช่วงราคา 0.8979 - 0.9011 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.9029 และ SL ที่ประมาณ 0.8909 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 1: หากมีการแตะแนวต้านที่ช่วงราคา 0.8979 - 0.9011 แต่ไม่สามารถเบรกแนวต้านที่ 0.8979 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.8909 และ SL ที่ประมาณ 0.9029 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 2: หากสามารถเบรกแนวรับที่ช่วงราคา 0.8909 - 0.8928 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.8877 และ SL ที่ประมาณ 0.9011 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
จุดกลับตัว 23 สิงหาคม 2567 22:31 น. GMT+7
ชื่อ
|
S3
|
S2
|
S1
|
จุดกลับตัว
|
R1
|
R2
|
R3
|
Classic | 0.8877 | 0.8909 | 0.8928 | 0.896 | 0.8979 | 0.9011 | 0.9029 |
Fibonacci | 0.8909 | 0.8929 | 0.8941 | 0.896 | 0.8979 | 0.8991 | 0.9011 |
Camarilla | 0.8932 | 0.8936 | 0.8941 | 0.896 | 0.895 | 0.8955 | 0.896 |
Woodie's | 0.8869 | 0.8905 | 0.892 | 0.8956 | 0.8971 | 0.9007 | 0.9021 |
DeMark's | - | - | 0.8918 | 0.8955 | 0.8969 | - | - |