บทวิเคราะห์ USD/AUD 30 สิงหาคม 2567

Create at 4 months ago (Aug 30, 2024 20:50)

อัตราเงินเฟ้อของออสเตรเลียยังสูงกว่าที่คาด

ค่าเงินดอลลาร์ออสเตรเลียยังคงทรงตัวต่อเนื่อง แต่มีแนวโน้มที่จะเเข็งค่าขึ้นเกือบ 4% ในเดือนนี้ เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อในประเทศที่อยู่ในระดับสูงอย่างต่อเนื่อง ช่วยสนับสนุนมุมมองของนักลงทุนว่าธนาคารกลางออสเตรเลียจะคงอัตราดอกเบี้ยยาวนานขึ้น นอกจากนี้ ค่าเงินดอลลาร์ออสเตรเลียยังได้รับประโยชน์จากการอ่อนค่าของค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ โดยคาดว่าธนาคารกลางจะเริ่มปรับลดอัตราดอกเบี้ยในเดือนกันยายน ท่ามกลางภาวะเงินเฟ้อที่ชะลอตัวลงและความเสี่ยงด้านตลาดแรงงานที่เพิ่มขึ้นในสหรัฐฯ 


ยอดค้าปลีกในออสเตรเลียกลับมาทรงตัวอีกครั้งเมื่อเทียบเป็นรายปีในเดือนกรกฎาคม ต่ำกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ว่าจะเพิ่มขึ้น 0.3% ซึ่งการเพิ่มขึ้นส่วนใหญ่มาจากยอดค้าปลีกด้านอาหาร ในขณะที่ ยอดขายเสื้อผ้า, รองเท้าและเครื่องประดับส่วนตัวลดลงครั้งแรกในรอบ 3 เดือน รวมถึงยอดขายในห้างสรรพสินค้าที่กลับมาลดลงอีกครั้ง โดยลดลงมากกว่า 0.4% หลังจากเติบโต 0.8% ในเดือนมิถุนายน


ค่าใช้จ่ายสำหรับลงทุนในธุรกิจใหม่ในออสเตรเลียลดลงมากกว่าที่คาดที่ 2.2% ในไตรมาสที่ 2 เมื่อเทียบเป็นรายไตรมาส เป็นการพลิกกลับมาลดลงหลังจากการขยายตัวที่ 1.9% และนับว่าเป็นการลดลงครั้งแรกในรอบปี เนื่องจากแรงกดดันด้านเงินเฟ้อทำให้สินค้าประเภทต่างๆ มีราคาเพิ่มสูงขึ้น ทำให้บริษัทต่างๆ จำเป็นต้องลดรายจ่ายด้านอุปกรณ์และเครื่องจักรลง โดยจะมีการซื้อสินค้าใหม่เมื่อจำเป็นเท่านั้น นอกจากนี้การลงทุนในอุตสาหกรรมเหมืองแร่ยังคงหดตัวต่อเนื่อง เนื่องจากมีการคาดการณ์ว่าต้นทุนในการผลิตอาจเพิ่มขึ้นมากกว่า 1.5% ในระยะยาว


ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เมื่อเทียบเป็นรายเดือนในออสเตรเลียเพิ่มขึ้น 3.5% ลดลงจาก 3.8% ในเดือนมิถุนายน แต่สูงกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ที่ 3.4% สะท้อนให้เห็นถึงการหดตัวของค่าไฟฟ้า, ค่าน้ำและราคาที่อยู่อาศัยที่ลดลงมาอย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ค่าขนส่งกลับมาลดลงอีกครั้งในรอบ 5 เดือน ซึ่งจะส่งผลให้ต้นทุนการขนส่งสินค้าชะลอตัวลงและทำให้ราคาสินค้าไม่เพิ่มขึ้นมากนัก ในขณะเดียวกัน อัตราเงินเฟ้อในหมวดอาหารกลับเพิ่มขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 3 เดือนที่ 3.8% โดยส่วนใหญ่เกิดจากราคาผลไม้, ผัก, ผลิตภัณฑ์ธัญพืชและผลิตภัณฑ์อาหารประเภทอื่นๆ เพิ่มสูงขึ้นเนื่องจากการนำเข้าสินค้าจำนวนมากทำให้ต้นทุนต่างๆ เพิ่มขึ้นเล็กน้อย ทั้งนี้ Core CPI ซึ่งไม่นับรวมสินค้าที่มีความผันผวนกลับพุ่งขึ้นแตะ 3.7% ในเดือนกรกฎาคม ซึ่งยังคงอยู่นอกช่วงกรอบเป้าหมายของ RBA ที่ 2-3%


อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลออสเตรเลียอายุ 10 ปียังคงทรงตัวอยู่ที่ประมาณ 4% แม้ว่าข้อมูลยอดขายปลีกจะออกมาต่ำกว่าที่คาด ซึ่งทำให้เกิดความกังวลเกี่ยวกับการชะลอตัวของการเติบโตทางเศรษฐกิจ นอกจากนี้ ข้อมูลเศรษฐกิจยังแสดงให้เห็นว่าอัตราเงินเฟ้อของออสเตรเลียในเดือนกรกฎาคมสูงกว่าที่คาดไว้เล็กน้อย ซึ่งสนับสนุนธนาคารกลางมีโอกาสคงอัตราดอกเบี้ยมากขึ้นและลดความน่าจะเป็นของการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในเดือนพฤศจิกายนลงเหลือ 40% จาก 56%

ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค (5H)

แนวต้านสำคัญ: 1.4763, 1.4784, 1.4815

แนวรับสำคัญ: 1.4711, 1.468, 1.4658

บทวิเคราะห์ USD/AUD วันนี้ที่มา: Investing.com

Buy/Long 1: หากมีการแตะแนวรับที่ช่วงราคา 1.468 - 1.4711 แต่ไม่สามารถเบรกแนวรับที่ 1.4711 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 1.4784 และ SL ที่ประมาณ 1.4658 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้

Buy/Long 2: หากสามารถเบรกแนวต้านที่ช่วงราคา 1.4763 - 1.4784 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 1.4815 และ SL ที่ประมาณ 1.468 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้

Sell/Short 1: หากมีการแตะแนวต้านที่ช่วงราคา 1.4763 - 1.4784 แต่ไม่สามารถเบรกแนวต้านที่ 1.468 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 1.4763 และ SL ที่ประมาณ 1.4815 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้

Sell/Short 2: หากสามารถเบรกแนวรับที่ช่วงราคา 1.468 - 1.4711 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 1.4658 และ SL ที่ประมาณ 1.4784 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้

จุดกลับตัว 30 สิงหาคม 2567 20:49 น. GMT+7

ชื่อ
S3
S2
S1
จุดกลับตัว
R1
R2
R3
Classic 1.4658 1.468 1.4711 1.4732 1.4763 1.4784 1.4815
Fibonacci 1.468 1.47 1.4712 1.4732 1.4752 1.4764 1.4784
Camarilla 1.4726 1.4731 1.4736 1.4732 1.4746 1.475 1.4755
Woodie's 1.4662 1.4682 1.4715 1.4734 1.4767 1.4786 1.4819
DeMark's - - 1.4721 1.4737 1.4773 - -
______________________________
อัพเกรดความรู้เพิ่มเติม: คลิกที่นี่
รู้เท่าทันสถานการณ์โลกและบทวิเคราะห์เทคนิคขั้นสูงคลิกที่นี่
Tags:

TECHNICAL ANALYSIS

ARTICLES